ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

รีวิว Office Syndrome วิธีบริหารร่างกายเบื้องต้น ของ โรคออฟฟิศซินโดรม

Office Syndrome วิธีบริหารร่างกายเบื้องต้น ของ โรคออฟฟิศซินโดรม

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 16,540
เขียนโดย :
0 %E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7+Office+Syndrome+%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99+%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

วิธีบริหารร่างกาย Office Syndrome

2015-10-01_105802

ในหนึ่งวัน เราใช้เวลานั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะกี่ชั่วโมง? รู้หรือไม่ว่า การนั่งเป็นเวลานานๆ ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายได้ รวมถึงการก่อให้เกิดอาการของโรคชนิดหนึ่งที่มักพบบ่อยในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศอย่าง "โรค ออฟฟิศ ซินโดรม" วันนี้ทางไทยแวร์จึงได้นำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคออฟฟิศ ซินโดรมนี้ว่า เกิดจากอะไร มีผลเสียอะไรบ้าง รวมถึงวิธีการป้องกันและรักษาด้วยตัวเองเบื้องต้นมาแนะนำให้เพื่อนๆ ทุกคนได้ทราบกัน

2015-10-01_110503

สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม มักเกิดจากการนั่งทำงานอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมถึงการนั่งผิดท่าหรือนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้อง เช่น นั่งตัวเอียงหรือนั่งหลังค่อม ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามร่างกายในส่วนต่างๆ อย่าง คอ หลัง บ่า ไหล่  แขน และขา หากปล่อยไว้เป็นเวลานานจะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายรวมถึงโรคร้ายอื่นๆ ตามมาอีกด้วย ดังนั้นการดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดอาการของโรคออฟฟิศซินโดรมจึงเป็นที่สิ่งสำคัญมาก

2015-10-01_111921

เนื่องด้วยสาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรมนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่แล้วมักมาจากโต๊ะและเก้าอี้ที่เราใช้นั่งทำงานเป็นเวลานาน ซึ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม ด้วยวิธีง่ายๆ เหล่านี้

  • ปรับลักษณะของการนั่งให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง นั่งหลังตรงพิงพนักพิงหลังของเก้าอี้ ขาตั้งฉากกับพื้น และเว้นระยะห่างให้พอดีกับโต๊ะ พร้อมปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะสม
  • จัดวางอุปกรณ์ต่างๆ บนโต๊ะทำงานให้สามารถหยิบใช้งานได้อย่างสะดวก โดยที่ไม่ต้องเอื้อมหยิบ
  • มีการพักสายตา ทุกๆ 20 นาที ด้วยการมองออกไปที่ไกลๆ ประมาณ 20 วินาที
  • เมื่อต้องนั่งเป็นเวลานานๆ ควรหากิจกรรมที่ต้องมีการขยับ เคลื่อนไหว หรือลุกเดินบ้าง
  • ถ้าต้องใช้งานการพิมพ์แป้นคีย์บอร์ดเป็นเวลานานๆ ควรมีแพดหนุนหรือตัวรองรับข้อมือ

ลองมาชมคลิปวิดีโอ ที่ทางไทยแวร์ได้จัดทำขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจในอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม รวมถึงคำแนะนำจาก คุณพัชร์กันย์ ทูลแก้ว ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัดจากทองสุขคลินิกกายภาพบำบัด ในการป้องกันและรักษาโรคนี้กันได้เลย


 

0 %E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7+Office+Syndrome+%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99+%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น