ปัจจุบันซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการไรท์แผ่นได้ถูกพัฒนามาเรื่อย เริ่มตั้งแต่ยุคซีดีจนตอนนี้ไปมาไกลถึงแผ่นบลูเรย์ (Blu-ray) แน่นอนโปรแกรมไรท์แผ่นก็ต้องเป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อยในการสร้างแผ่นเก็บข้อมูล หรือใช้เพื่อความบันเทิงแบบส่วนตัว หากอยากได้โปรแกรมไรท์แผ่นที่ใช้งานง่าย มีเมนูเป็นตัวเลือกที่พร้อมใช้งานตามความต้องการโดยที่ไม่ต้องไปเลือกเข้าฟีเจอร์ให้วุ่นวายก็ต้องลองใช้โปรแกรม Ashampoo Burning Studio 14 มันเป็นโปรแกรมไรท์แผ่นที่ครอบคลุมการใช้งานทุกด้านเลยละ
ด้วยความที่มันเป็นโปรแกรมไรท์แผ่นที่ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงเวอร์ชัน 14 นี้ได้เพิ่มฟีเจอร์และการทำงานใหม่ๆ ก็ทำให้เรียกใช้ได้สะดวกมากขึ้น ทั้งการไรท์แผ่น การสร้างไฟล์อิมเมจในการสำรองข้อมูล ใช้งานได้กับฮาร์ดดิสก์และที่เก็บความจำในรูปแบบต่างๆ ทั้งยังอ่านไฟล์อิมเมจจากแผ่นซีดีที่ต้องการได้อีกด้วย พร้อมฟีเจอร์อื่นๆ อีกเพียบ เราไปดูรายละเอียดของโปรแกรมนี้กันดีกว่า
คุณสมบัติและความสามารถด้านการไรท์แผ่นของโปรแกรม Ashampoo Burning Studio 14
วิธีติดตั้งโปรแกรม Ashampoo Burning Studio 14
ก่อนอื่นต้องดาวน์โหลดโปรแกรม Ashampoo Burning Studio 14 ได้ที่ลิงค์นี้เลย
เมื่อได้ไฟล์มาแล้วจะมีหน้าตาแบบนี้ ดับเบิลคลิกที่ไฟล์เพื่อติดตั้งเลย
โปรแกรมจะถามเราว่าต้องการติดตั้งโปรแกรม Ashampoo Burning Studio 14 ต่อหรือไม่? ให้กด Run ได้เลย
เลือกภาษาที่ต้องการใช้งาน ในที่นี้ทางทีมงานเลือกภาษาอังกฤษ
เมื่อเลือกภาษาเรียบร้อยจะเข้าสู่หน้าจอการติดตั้งโปรแกรมแล้ว กด I Agree, Proceed
เลือกไดเร็คทอรี่ที่ต้องการติดตั้งลงในเครื่อง พร้อมแล้วก็คลิก Next เพื่อไปกันต่อ
ระหว่างนี้ก็รอให้โปรแกรม Ashampoo Burning Studio 14 ติดตั้งเสร็จนะคร๊าบ
เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วก็จะได้หน้าจอดังรูปข้างล่างนี้เลย เมื่อพร้อมใช้งานแล้วก็กด Finish เพื่อเข้าโปรแกรมไปทดสอบกันเถอะ
หน้าตาโปรแกรม Ashampoo Burning Studio 14
มาถึงก็คงต้องมาดูหน้าตาโปรแกรมกันก่อนดีกว่า จากที่เห็นถือว่าออกแบบมาได้สวยงามจริงๆ
ทางขวาบนจะมีเมนูสำหรับเปลี่ยนเป็นหน้าจอเพื่อใช้งานแบบย่อส่วน Compact Mode จะมีหน้าตาแบบนี้
คุณสามารถเลือกไฟล์ที่ต้องการไรท์ลากแล้ววางบนโปรแกรมนี้ได้ทันที
ในเมื่อเปิดใช้งานโปรแกรมแล้วเราก็ไม่รีรออีกต่อไปเริ่มที่ข้อแรกกันเลย
หัวข้อ Burn Data เป็นการสร้างซีดีไฟล์ข้อมูลที่เราจะเก็บบันทึก มีให้เลือกทั้งการเก็บไฟล์แบบปกติ และแบบเปิดไฟล์อัตโนมัติ
แยกออกเป็นหัวข้อย่อยได้ 5 ข้อดังนี้
ข้อที่ 2 เป็นการสำรองข้อมูล (BackUp) และคืนค่าข้อมูล (Restore) โดยเป็นการสร้างจุดคืนค่าภายในเครื่อง
BackUp External Device : เป็นการสำรองข้อมูลจากอุปกรณ์ที่เรานำมาเชื่อมต่อลงใส่แผ่น CD ที่จะใช้เก็บข้อมูล สามารถเลือกไฟล์ที่ต้องการเก็บข้อมูลได้ตามชอบ เช่น สำรองข้อมูลทุกไฟล์ที่มี (BackUp All File), เลือกเฉพาะเพลง (Music), เฉพาะรูปเพียงอย่างเดียว (Image) โดยการเก็บข้อมูลนี้สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ข้อนะ
หลายคนคงชื่นชอบฟีเจอร์นี้ คือ การทำแผ่นซีดีเพลงแบบ MP3 หรือซีดีออดิโอ นั่นเอง
ฟีเจอร์นี้ก็คงเป็นที่ต้องการอีกเช่นเคย กับการไรท์แผ่นภาพยนตร์ในแบบต่างๆ หรือจะเป็นสไลด์ก็ยังได้
การเบิร์นไฟล์ Image ที่มาจากแผ่นซีดีก็ทำได้จากหัวข้อนี้เลยละ
หัวข้อนี้เป็นการจัดการเกี่ยวกับแผ่น CD ทั้งหลายที่ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ข้อได้แก่
การใช้งานโปรแกรม Ashampoo Burning Studio 14 เบื้องต้น
เริ่มการไรท์แผ่นกันดีกว่า ครั้งนี้ทางทีมงานไทยแวร์จะเลือกหัวข้อ New Disc + Auto Start เพื่อให้เปิดไฟล์อัตโนมัติเมื่อใส่แผ่น
ไปที่หัวข้อ Burn Data > New Disc + Auto Start
จะได้หน้าจอดังรูป กด Add เพื่อนำไฟล์วิดีโอที่จะไรท์มาใส่ในนี้
เมื่อกดปุ๊บจะอยู่หน้านี้ มีหัวข้อให้เลือก 3 อย่าง คือ
เมื่อเลือกไฟล์วิดีโอได้แล้วก็กด Add และกลับมาดูที่หน้าจอหลักว่าเต็มพื้นที่หรือยังจนพอใจก็กด Next เพื่อไปต่อ
เป็นการเลือกว่าให้โปรแกรมทำหน้าจอแบบอัตโนมัติ หรือเราเลือกทำเองก็ได้ จะแยกเป็น 2 ส่วนให้ดูถึงความแตกต่างกัน หากกด Next จะมีหน้าตาแตกต่างกันเล็กน้อย
หน้าจอนี้เป็นการเลือกแบบ Autoplay ซึ่งกำหนดค่าน้อยมากเพียงแค่เลือกไฟล์ที่จะไรท์ในตอนแรกและไอคอนเป็นอันเสร็จ
หน้าจอนี้คือการเลือกแบบ Interactive ซึ่งให้คุณกำหนดชื่อแผ่น เลือกไฟล์ได้ด้วยตนเองทำเสียงแบ็คกราวด์เมนูก็ยังได้ เมื่อเลือกได้แล้วก็กด Next ต่อเลย
เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ถึงเวลาใส่แผ่น เลือกความเร็วได้ตามต้องการตามความเร็วที่แผ่นรองรับ และเบิร์นแผ่นได้ทันที
รอสักครู่ กำลังไรท์แผ่นอยู่ ระยะเวลาขึ้นอยู่กับจำนวนข้อมูลและความเร็วแผ่นที่กำหนด
เมื่อไรท์แผ่นเรียบร้อยแล้วก็จะได้หน้าตาแบบนี้ กด OK ได้เลย
เมื่อกด OK แล้วจะมีเมนูให้เราเลือก 7 เมนูด้วยกัน คือ
การทำปกใส่กล่องรูปแบบต่างๆ
สามารถเลือกรูปภาพและกำหนดขนาดตามแบบกล่องที่มีในโปรแกรมออกแบบด้วยตัวเอง
การสำรองและคืนค่าข้อมูล
เลือกไฟล์หรือเอกสารต่างๆ ที่ต้องการสำรองข้อมูลได้ง่ายๆ จะจัดเก็บภายในไดร์ฟที่ต้องการหรือแฟลชไดร์ฟก็ยังได้
สามารถเลือกให้ใส่รหัสผ่าน (Password) แบ่งไฟล์ออกเป็นส่วนในขนาดต่างกันก็ได้
สรุปการใช้งานโปรแกรมไรท์แผ่น Ashampoo Burning Studio 14
ข้อดี
ข้อสังเกต
โดยส่วนตัวแล้วคิดว่ามันใช้งานง่ายกว่า Nero 11 ซะด้วยซ้ำ เพราะหน้าจอการทำงานของโปรแกรมไม่ซับซ้อน สวยแต่เรียบง่าย จะเลือกไรท์แผ่นตามชนิดไหนก็กดได้เลยไม่ต้องใช้เวลาทำความคุ้นเคยเหมือนโปรแกรมอื่นๆ รองรับการไรท์แผ่นทั้ง CD, DVD และ Blu-ray ไรท์หนัง เพลง ซีรี่ย์ หรือจะทำไฟล์สำหรับเก็บเอกสารเพียงอย่างเดียวก็ทำได้ หรือจะปนกันเก็บเป็นแผ่นส่วนตัวของคุณก็ไม่ใช่เรื่องยาก จุดเด่นอีกอย่างของโปรแกรมนี้คือมีรูปแบบการทำปกตามชนิดกล่องที่นำไปใช้ ไม่ต้องมากำหนดขนาดเองให้เสียเวลา สรุปแล้วถือว่าดีสำหรับการไรท์แผ่นเฉพาะทางจริงๆ หากสนใจสามารถสั่งซื้อ โปรแกรม Ashampoo Burning Studio 14 ได้ที่เว็บไซต์ไทยแวร์ได้เลย