ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

9 เว็บไซต์ที่สามารถใช้ทำกราฟิกแทน Adobe Illustrator ได้

9 เว็บไซต์ที่สามารถใช้ทำกราฟิกแทน Adobe Illustrator ได้

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 6,730
เขียนโดย :
0 9+%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99+Adobe+Illustrator+%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

9 เว็บไซต์ที่สามารถใช้ทำกราฟิกแทน Adobe Illustrator ได้

หากต้องการออกแบบอะไรสักอย่าง นักกราฟิกมักจะคิดถึงโปรแกรม Adobe Illustrator ก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ซึ่งหากว่ากันตรงๆ ก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถครบเครื่องจริง ๆ แต่ด้วยราคาของโปรแกรม Adobe Illustrator ก็อาจเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้ หากไม่ได้ผู้ที่ใช้มันทำงานหารายได้ด้วยมันเป็นประจำต้องคิดหนักสักหน่อย อีกประเด็นคือ Adobe Illustrator นั้นมีให้ใช้งานแค่บนระบบปฏิบัติการ Windows และ Mac เท่านั้นด้วย

บทความเกี่ยวกับ Adobe อื่นๆ

หากคุณมีงบจำกัด, หรือแค่ทำเล่นๆ เป็นงานอดิเรก นาน ๆ ใช้ที หรือว่าใช้ระบบปฏิบัติการ Linux อยู่ ก็อาจจะมองหาตัวเลือกอื่น แต่จะใช้โปรแกรมไหนแทนดีล่ะ ? เรามีทางออกมาแนะนำ ที่สำคัญ คือมีตัวเลือกให้ใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายเสียด้วย แถมยังไม่ต้องติดตั้ง เพราะว่าเราได้เลือกที่สามารถทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ได้เลยโดยตรงมาแนะนำ

จะมีเว็บไซต์อะไรบ้าง ? มาลองดูกันเลย ...

เนื้อหาภายในบทความ

  1. เว็บไซต์ Vectr
  2. เว็บไซต์ Inkscape
  3. เว็บไซต์ Boxy SVG
  4. เว็บไซต์ SVGEdit
  5. เว็บไซต์ Canva
  6. เว็บไซต์ Figma
  7. เว็บไซต์ Pixlr Designer
  8. เว็บไซต์ Vecteezy Editor
  9. เว็บไซต์ Janvas

1. เว็บไซต์ Vectr

เว็บไซต์ Vectr

Vectr สามารถใช้งานผ่าน เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ส่วนใหญ่ได้เป็นอย่างดี แล้วก็มีอยู่ในรูปแบบ ส่วนขยาย (Extension) ของเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome ให้ใช้งานอีกด้วย ว่ากันตามตรง Vectr ไม่ได้มีเครื่องมือให้ใช้งานมากนัก เมื่อเทียบกับผู้ให้บริการคู่แข่งรายอื่น ๆ แต่ก็มีเครื่องมือพื้นฐานที่เพียงพอกับการใช้งานทั่วไป และนั่นก็หมายความว่า Vectr เรียนรู้ใช้งานได้ง่าย 

เครื่องมือที่ Vectr ค่อนข้างเหมาะสมกับการทำกราฟิกให้กับโซเชียลมีเดีย เนื่องจากมี Preset หลายขนาดเตรียมไว้ให้ล่วงหน้า, มีเครื่องมือนำเข้ารูป และใส่ข้อความลงในภาพที่ใช้งานได้ค่อนข้างง่าย นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมต่อกับคลาวด์ ทุกภาพจะมี URL ของตัวเอง สามารถนำไปใช้ส่งต่อได้อย่างง่ายดาย หรือจะบันทึกไฟล์เป็น ไฟล์ SVG, ไฟล์ PNG หรือ ไฟล์ JPEG ก็ได้

Vectr สามารถใช้งานได้ที่ : 

ค่าบริการ

  • ฟรี มีข้อจำกัด
  • Premium 1 : $3.99 /เดือน (ประมาณ 145 บาท / เดือน)
  • Premium 2 : $5.99 /เดือน (ประมาณ 218 บาท / เดือน)

2. เว็บไซต์ Inkscape

เว็บไซต์ Inkscape

 

Inkscape นั้นมีชื่อเสียงในฐานะหนึ่งในเครื่องมือที่สามารถใช้งานแทน Illustrator ได้มาอย่างยาวนาน ถึงแม้มันจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ต้องติดตั้งเพื่อใช้งาน แต่ว่าผู้ใช้สามารถใช้งานมันผ่านเว็บเบราว์เวอร์ได้ผ่านบริการของ RollApp ถึงแม้ว่าประสบการณ์ในการใช้งานมันอาจจะแปลกไปเสียหน่อย เพราะเป็นการใช้ Desktop UI ผ่านหน้าต่างของเว็บเบราว์เซอร์ อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเปิดใช้งานเว็บเบราว์เซอร์ในโหมดเต็มหน้าจอ (Full-screen) 

Inkscape มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง แต่การใช้งานก็จะเรียนรู้ยากหน่อย ทั้งในแง่ของการทำความรู้จักกับเครื่องมือ รวมไปถึงชอร์ทคัทที่ไม่เหมือนชาวบ้าน อีกปัญหาหนึ่งก็เป็นเรื่องความเร็วในการทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ เพราะท้ายที่สุดแล้ว Inkscape จะทำงานได้ดีกว่าเมื่อติดตั้งมันลงในคอมพิวเตอร์ 

Inkscape สามารถใช้งานได้ที่ :

ค่าบริการ

  • ฟรี

3. เว็บไซต์ Boxy SVG

เว็บไซต์ Boxy SVG

 

Boxy SVG เป็นเครื่องมือแก้ไขไฟล์ SVG ที่ทำงานได้เป็นอย่างดีบนเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็น Chromium-Based อย่างเช่น Chrome, Edge หรือ Brave แล้วก็ยังมีเวอร์ชัน Desktop ให้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows, Mac และ Chrome OS

โดย Boxy SVG สามารถทำงานร่วมกับไฟล์ SVG ได้แบบ Native ทำให้สามารถนำไฟล์รูปไปใช้งานได้อย่างง่ายดาย หรือนำไปแก้ไขต่อในซอฟต์แวร์กราฟิกตัวอื่น ๆ ซึ่งรองรับการ Export ไฟล์ได้ทั้ง JPEG, PNG, WebP, GIF หรือแม้แต่ HTML

Boxy SVG มีเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งานมาให้อย่างครบครัน มีเครื่องมือวาดรูปทรงให้เลือกใช้งานอย่างหลากหลาย รวมถึงฟังก์ชัน Clipping Masks ที่ช่วยในการทำงานที่มีความซับซ้อน

Boxy SVG สามารถใช้งานได้ที่ :

ค่าบริการ

  • ทดลองใช้งานฟรี 15 วัน
  • 370 บาท / ปี

4. เว็บไซต์ SVGEdit

เว็บไซต์ SVGEdit
ภาพจาก : https://github.com/SVG-Edit/svgedit?tab=readme-ov-file

SVGEdit เป็นซอฟต์แวร์ฟรี แบบ เปิดเผยซอร์สโค้ด (Open-Source) ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้ใช้งาน Illustrator ผู้ใช้สามารถสร้าง, เปิด, แก้ไข และบันทึกไฟล์ Vector ได้ในนามสกุล SVG มันมีเครื่องมือที่จำเป็นให้มาอย่างครบถ้วน วาดเส้น, สร้าง Path, เพิ่มข้อความ, สร้างรูปทรง, ปรับแต่งหัวแปรง ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม SVGEdit มีข้อจำกัดในการทำอะไรที่ซับซ้อน แม้กระทั่งการเพิ่มฟอนต์ที่คุณมีอยู่ลงไปก็ไม่สามารถทำได้ แต่ถ้าต้องการทำอะไรง่าย ๆ ก็ถือว่ามันทำงานได้ดีทีเดียว รองรับการเปลี่ยนรูปเป็นโค้ด XML ด้วย สามารถคัดลอกไปวางบนหน้าเว็บไซต์ได้ทันทีโดยไม่ต้องบันทึกไฟล์

SVGEdit สามารถใช้งานได้ที่ :

ค่าบริการ

  • ฟรี

5. เว็บไซต์ Canva

เว็บไซต์ Canva

Canva เป็นหนึ่งในเครื่องมือออกแบบบนเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก มันมีเทมเพลตสำเร็จรูปให้ใช้งานมากกว่า 250,000 แบบ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานได้ทุกรูปแบบ เราสามารถที่จะใช้ Canva ออกแบบโลโก้, ปกหนังสือ, โปสเตอร์, ใบปิดโฆษณา ฯลฯ

จุดเด่นของมันคือ เทมเพลตที่มีให้เลือกเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถสร้างงานสวย ๆ ออกมาได้อย่างรวดเร็ว ในทางตรงกันข้าม สำหรับคนที่ต้องการสร้างทุกอย่างด้วยตนเอง Canva ก็จะไม่ตอบโจทย์มากนัก

Canva สามารถใช้งานได้ที่ :

ค่าบริการ

  • ฟรี
  • Canva Pro  1,850 บาท / ปี
  • Canva Teams ใช้งานได้ 3 คน 5,400 บาท / ปี

6. เว็บไซต์ Figma

เว็บไซต์ Figma
ภาพจาก : https://www.figma.com/

Figma เป็นหนึ่งในบริการที่เน้นการใช้งานในระดับมืออาชีพ หรือผู้ใช้งานที่มีความจริงจัง ชำนาญการใช้งาน Illustrator อยู่แล้ว หลังจากที่มันประสบความสำเร็จ ตอนนี้ก็เริ่มให้บริการในรูปแบบเดียวกับ Adobe คือมีระบบสมาชิก แต่ก็ยังคงเสนอบริการฟรีให้ใช้ โดยผู้ใช้ฟรีจะสร้างงานได้ 3 โปรเจค และทำงานร่วมกับทีมได้อีก 2 คน

จุดแข็งของ Figma เน้นไปที่การออกแบบ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (User Interface) ต่าง ๆ รองรับไฟล์จากซอฟต์แวร์ออกแบบอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น Sketch มีแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนทั้ง iOS และ Android ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดูผลงานการออกแบบได้อย่างสะดวก

การใช้งาน Figma อาจต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้พอสมควร แต่หากชำนาญแล้วมันก็สามารถออกแบบงานได้แทบทุกรูปแบบ, รองรับฟอนต์จาก Google หรือผู้ใช้จะอัปโหลดฟอนต์เข้าไปเองก็ได้, มี Pathfinder, รองรับการทำ Mask, สามารถบันทึกชิ้นงานเพื่อนำไปใช้ซ้ำในงานอื่น ๆ ต่อได้

การ Export รองรับทั้ง PNG, JPEG, SVG หรือจะบันทึกเป็นโค้ดแบบ Cascading Style Sheets (CSS) ก็ได้

Figma สามารถใช้งานได้ที่ :

ค่าบริการ

  • ฟรี
  • Professional Team $15 / เดือน (ประมาณ 545 บาท / เดือน)
  • Organization $45 / เดือน (ประมาณ 1,633 บาท / เดือน)
  • Enterprise $75 / เดือน (ประมาณ 2,720 บาท / เดือน)

7. เว็บไซต์ Pixlr Designer

เว็บไซต์ Pixlr Designer
ภาพจาก : https://pixlr.com/designer/template/collection/660b67d0fe94eefa21ed7319%7CTech%20Events/#editor

Pixlr Designer เป็นบริการที่มีแนวทางในการทำงานเหมือนกับ Canva มันมีเทมเพลตจำนวนมหาศาลให้เราเลือกใช้ นอกจากนี้ยังมี Pixlr E สำหรับใช้งาน PhotoShop ให้ใช้อีกด้วย

การทำงานของ Pixlr Designer เน้นไปที่งานออกแบบโปสเตอร์, โลโก้, นามบัตร ฯลฯ โดยจะมีกราฟิกจำนวนเตรียมไว้ให้รอผู้ใช้เลือกไปใช้งาน อย่างไรก็ตาม บางส่วนก็ต้องสมัครสมาชิกแบบเสียเงินเสียก่อนจึงจะใช้งานได้ ทั้งนี้ Pixlr X ไม่เหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องการออกแบบเอง เพราะไม่มีเครื่องมือสำหรับวาดภาพให้ใช้ 

Pixlr Designer สามารถใช้งานได้ที่ :

ค่าบริการ

  • ฟรี
  • Plus $0.99 / เดือน (ประมาณ 36 บาท / เดือน)
  • Premium $4.9 / เดือน (ประมาณ 178บาท / เดือน)
  • Team $9.91 / เดือน (ประมาณ 360 บาท / เดือน)

8. เว็บไซต์ Vecteezy Editor

เว็บไซต์ Vecteezy Editor
ภาพจาก : https://www.vecteezy.com/editor/random

หากเรามีไฟล์ SVG อยู่แล้ว แต่ต้องการจะแก้ไขมัน Vecteezy จัดเป็นตัวเลือกที่ดีมากเลยล่ะ มันเป็นโปรแกรมที่เหมาะกับการแก้ไขไฟล์ SVG ให้สามารถลบ หรือเพิ่มสิ่งต่าง ๆ เข้าไปได้ง่าย ๆ หรือใส่ข้อความลงไปในงาน

แต่ด้วยความเรียบง่ายของมัน เครื่องมือที่มีให้ใช้งานจึงค่อนข้างน้อย อย่างที่บอกไปว่าเหมะากับการแก้ไขงานมากกว่า สามารถบันทึกเป็นไฟล์ SVG หรือ PNG ก็ได้

Vecteezy Editor สามารถใช้งานได้ที่ :

ค่าบริการ

  • ฟรี
  • Pro $54 / ปี (ประมาณ 1,960 บาท / ปี)

9. เว็บไซต์ Janvas

เว็บไซต์ Janvas

Janvas อาจจะไม่ฟรีเสียทีเดียว (เราถึงจัดมันมาในลำดับสุดท้าย) เพราะเราไม่สามารถบันทึกงานได้หากยังไม่สร้างบัญชีที่จำเป็นต้องจ่ายค่าสมาชิกเสียก่อน แต่มันก็ใจดีพอที่อนุญาตให้ผู้ใช้ Export ไฟล์งานเป็น PNG หรือ JPEG ได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินก่อน

มาพร้อมกับเครื่องมือที่ไม่ยืดหยุ่นมากนัก แต่ก็รองรับการทำ Mask, มี Pen tool และ Text ที่ลูกเล่นเพียบ หรือหากเป็นผู้หัดใช้งาน ก็มีเทมเพลตให้เลือกเพียบ มี ICON และ UI สำเร็จรูปให้ใช้งานด้วย

ในการใช้งานฟรี เราทำอะไรกับมันได้ไม่มากนัก แต่ถ้าต้องการแค่เปิด, แก้ไขไฟล์ Vector ที่มีอยู่แล้วแบบนิด ๆ หน่อย ๆ ก็ถือว่ามันทำได้ดีทีเดียว มีเทมเพลตจำพวกไอคอน และองค์ประกอบที่จำเป็นต่อการออกแบบ UI ให้เลือกใช้เยอะอยู่พอสมควร

Janvas สามารถใช้งานได้ที่ :

ค่าบริการ

  • € 72 / ปี (ประมาณ 2,844 บาท / ปี)

ที่มา : www.makeuseof.com

 
0 9+%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99+Adobe+Illustrator+%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ