สานต่อความสำเร็จจากรุ่น D7200 ซึ่งเป็นกล้อง DSLR ไซส์ APS-C ระดับกึ่งโปร ที่เปิดตัวไปในปี 2015 ในปีนี้ Nikon กลับมาพร้อมกับรุ่น D7500 ที่หน้าตาและสเปคในหลายส่วนคล้ายกับรุ่น D7200 แต่ก็มีรายการความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ อย่างแรกเลยก็คือ D7500 ปรับลดความละเอียดภาพลงมาอยู่ที่ 21 ล้านพิกเซล (D7200 ความละเอียด 24 ล้านพิกเซล) แต่สิ่งที่เหนือกว่าคือเจ้า D7500 รองรับการถ่ายวิดีโอความละเอียดสูง 4K 30fps ตามสมัยนิยม และจอ LCD ทางด้านหลังขนาด 3.2 นิ้ว ที่มาคราวนี้พับได้แล้ว ตอบโจทย์ตากล้องสายงานข่าวที่ในบางจังหวะต้องยกกล้องขึ้นถ่ายเหนือหัวได้ดีขึ้น
บอดี้ยังคงเป็นแบบ Weather sealed อยู่เช่นเดิม ป้องกันเม็ดฝุ่นและละอองน้ำ ไม่ให้เข้าไปทำลายวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในตัวกล้อง และอีกหนึ่งรายการอัพเกรดที่น่าสนใจคือ ความเร็วการถ่ายภาพนิ่งต่อเนื่อง ที่ D7500 ทำความเร็วได้สูงถึง 8 ภาพต่อวินาที (D7200 ทำได้ 6 ภาพต่อวินาที) ตอบโจทย์ตากล้องสายกีฬาได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน แต่สเปคที่ถูกตัดทิ้งไปอย่างน่าเสียดายคือ D7200 มีสล็อตเสียบการ์ดหน่วยความจำ 2 สล็อต เพื่อการแบ็กอัพไฟล์ภาพหรือขยายความจุ แต่ในรุ่น D7500 กลับเหลือเพียงสล็อตเดียวเท่านั้น และความแตกต่างประการสุดท้ายที่ต้องพูดถึงคือ D7500 น้ำหนักเบากว่า 90 กรัม หยิบจับใช้งานได้เบามือกว่ากันอยู่เล็กน้อย
โดยสัดส่วนของเจ้า D7500 อยู่ที่ 136 x 104 x 73 มม. หนัก 640 กรัม ส่วน D7200 มีสัดส่วนอยู่ที่ 139 x 105 x 79 มม. หนัก 730 กรัม ในส่วนของราคา D7500 บอดี้เปล่าประกันร้านอยู่ที่ประมาณ 40,000 บาท ทางฝั่งของ D7200 อยู่ที่ประมาณ 27,500 บาท ราคาต่างกันอยู่ราว 12,500 บาท และที่ต้องบอกว่าไม่ธรรมดาเลยก็คือ เจ้า D7500 เพิ่งคว้ารางวัล Best Prosumer DSLR Camera 2017-2018 หรือกล้องระดับกึ่งโปรยอดเยี่ยม จากสถาบัน EISA มาหมาดๆ เป็นเครื่องการันตีคุณภาพของกล้องตัวนี้ได้เป็นอย่างดี
ในบทความรีวิวนี้ ขอพาทุกท่านไปรู้จักกับ Nikon D7500 แบบค่อนข้างจะเจาะลึก มาดูกันว่าควรค่าการเสียตังค์ซื้อหรือไม่
เกิดมาเพื่อเป็นกล้องสำรองสำหรับมืออาชีพ (หรือเป็นกล้องหลักเลยยังพอไหว) อีกทั้งยังเหมาะสำหรับตากล้องมือสมัครเล่นที่พิศมัยการถ่ายภาพด้วยกล้อง DSLR มากกว่ากล้องมิลเลอร์เลส การตรวจสอบค่าการถ่าย (ค่า F, ชัตเตอร์สปีด, ระบบวัดแสง, ค่า ISO) สามารถตรวจสอบได้อย่างรวดเร็วผ่านจอ LCD ขาวดำทางด้านบนตัวกล้อง การปรับค่า F และชัตเตอร์สปีด สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วผ่าน ลูกบิด 2 ตัวทางด้านหน้าและหลังตัวกล้อง อีกจุดที่ชอบในการออกแบบคือ ปุ่มลูกบิดเลือก Drive mode ที่อยู่บนไหล่ซ้ายของกล้อง ทำให้สามารถสับเปลี่ยนระหว่าง โหมดการถ่ายภาพนิ่งภาพเดียว (S) และโหมดการถ่ายภาพนิ่งต่อเนื่อง (CL, CH) ได้อย่างง่ายดาย น่าจะโดนใจตากล้องสายช่างภาพกีฬา
D7500 สืบทอดแนวทางการออกแบบมาจาก D7200 แทบจะในทุกจุด ก็เป็นแนวทางการออกแบบที่เหมาะสมสำหรับกล้องระดับกึ่งมืออาชีพ ปรับแต่งค่าการถ่ายได้อย่างรวดเร็ว
ซอกด้านข้างกริปมือจับเป็นตำแหน่งของปุ่มคำสั่งพิเศษ Fn1 และ Fn2 ตามแบบฉบับกล้องโปรของ Nikon โดยที่ปุ่ม Fn1 ใช้นิ้วชี้กดได้สะดวก แต่กับปุ่ม Fn2 นั้น ในความคิดเห็นส่วนตัว มองว่ามันลำบากนิดหน่อยกับการที่ต้องใช้นิ้วก้อยเอื้อมไปกด โดยที่ตัวอย่างคำสั่งที่สามารถกำหนดให้กับปุ่ม Fn1 และ Fn2 ได้ก็มี อาทิ
จอ LCD ขาวดำทางด้านบนตัวกล้อง แสดงค่าการถ่ายได้ค่อนข้างจะครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นชัตเตอร์สปีด, ค่า F, มิเตอร์วัดแสง, ระบบวัดแสง, ระดับ ISO, จำนวนภาพถ่ายที่สามารถถ่ายได้ และ ระดับแบตฯคงเหลือ
จอ LCD สามารถเปิดไฟ Backlit สีเขียวอำนวยความสะดวกสำหรับการถ่ายภาพในยามค่ำคืนได้ โดยการโยกปุ่มมาทางด้านดวงไฟ
ปุ่มลูกบิดบนไหล่ซ้ายตัวกล้องซ้อนกัน 2 ชั้น โดยชั้นบนเป็นลูกบิดเลือกโหมดการถ่ายภาพ ที่ต้องกดปุ่มตรงกลางลงก่อนถึงจะสามารถบิดได้ (เพื่อป้องกันไม่ให้ปุ่มหมุนเปลี่ยนโหมดเองโดยบังเอิญ) โดยมีโหมดการถ่ายภาพที่น่าสนใจคือ U1 และ U2 (User mode) ที่เราสามารถบันทึกค่าการถ่ายไว้เพื่อเรียกใช้ในภายหลังอย่างรวดเร็ว (ค่าการถ่ายที่บันทึกไว้ได้มีอาทิ ค่า F, ความเร็วชัตเตอร์, ISO, จุดโฟกัส, ระบบวัดแสง รวมถึง การถ่ายแบบ Bracketing) ในส่วนของโหมดการถ่ายแบบ Effcect เพิ่มลูกเล่นสีสันการถ่ายภาพ (อาทิ Photo illustration ใส่เอฟเฟคแบบภาพวาด, Toy camera ถ่ายภาพสไตล์โลโม่ และ Miniature effect ถ่ายภาพแบบเมืองของเล่น) และบนลูกบิดมีโหมดการถ่ายภาพแบบสำเร็จรูป หรือ Scene ให้เลือกใช้ด้วย (อาทิ Portrait, Landscape, Child, Sport และ Close up)
ส่วนลูกบิดที่ถัดลงมาทางด้านล่าง ใช้สำหรับเลือกโหมดการถ่ายภาพต่อเนื่อง ก็ต้องกดปุ่มเล็กๆ ทางด้านข้างก่อนถึงจะหมุนลูกบิดนี้ได้ ก็มีโหมดการถ่ายภาพที่น่าสนใจตามนี้
ด้านหลังตัวกล้องมีสิ่งที่เพิ่มเข้ามาในรุ่น D7500 คือตัว Proximity sensor (ลูกศรชี้) ที่ทำหน้าปิดการแสดงผลของจอ LCD โดยอัตโนมัติ เมื่อตาเราแนบกับ Viewfinder และในส่วนของ Viewfinder ถึงแม้จะไม่ได้มีขนาดใหญ่โตเท่ากล้องโปร แต่ก็ชดเชยด้วยการมองเห็นครอบคลุมเฟรมภาพ 100% ช่วยให้ตากล้องทำงานง่าย ไม่ต้องคอยเล็งถ่ายแบบเผื่อเหลือเผื่อขาดอีกต่อไป
และจอ LCD ขนาด 3.2 นิ้วที่สามารถพลิกหงายลงมาทางด้านล่าง เพื่อการถ่ายภาพแบบชูกล้องเหนือหัว และพลิกกลับไปด้านบนได้ อำนวยความสะดวกในการเล็งถ่ายจากระดับต่ำ เป็นจอที่ให้การแสดงผลละเอียดสวยงามดีมากๆ ใช้งานในสภาพแสงกลางแจ้งได้ดีเลย และเป็นจอระบบสัมผัส ง่ายต่อการแตะเลือกจุดโฟกัสเมื่อเล็งถ่ายแบบ Live view และระบบสัมผัสยังทำให้การปรับแต่งค่าการทำงานต่างๆ ของกล้องสะดวกรวดเร็วขึ้นด้วยนะ
ใต้แผ่นยางปิดทางด้านข้างซ้ายของกล้อง เป็นศูนย์รวมของช่องพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ อาทิ
และสำหรับการเลือกโหมดการทำงานของระบบ Auto focus ให้กดปุ่มนี้พร้อมกับบิดลูกบิดทางด้านหน้า หรือด้านหลังตัวกล้อง
ข้อดีของกล้อง DSLR ระดับกึ่งโปรคือมีไฟแฟลชหัวกล้องให้ใช้งานแก้ขัดในสภาพแสงน้อย และตอบโจทย์ตากล้องมือสมัครเล่นที่ยังไม่อยากลงทุนซื้อแฟลชแยกได้อย่างน่าพอใจ
จุดโฟกัส 51 จุดของ Nikon D7500
เป็นกล้องที่เหมาะสำหรับตากล้องสายถ่ายภาพกีฬาไม่น้อยทีเดียว ด้วยระบบโฟกัส 51 จุด โดยจุดโฟกัสในโซนกลางทั้ง 15 จุดเป็นแบบ Cross-type บวกกับระบบโฟกัสติดตามวัตถุแบบ 3D Tracking ที่สามารถติดตามวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวทั้งในแกน X และแกน Y รวมถึงการที่วัตถุมีการเคลื่อนที่เข้าหากล้องได้เป็นอย่างดีเลย บวกกับความเร็วในการถ่ายภาพนิ่งต่อเนื่อง 8 ภาพต่อวินาที ทำให้ Nikon D7500 เป็นกล้องที่ถ่ายภาพกีฬาได้ค่อนข้างดีเลย
สามารถคลิกเพื่อชมภาพขนาดใหญ่
ถ่ายภาพนิ่งต่อเนื่องที่ 8 ภาพต่อวินาที เลนส์ AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED
ถ่ายภาพนิ่งต่อเนื่องที่ 8 ภาพต่อวินาที เลนส์ AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED
ลองประสิทธิภาพของระบบติดตามโฟกัส 3D Tracking ซะหน่อย กับการถ่ายภาพคนปั่นจักรยาน จับความรู้สึกได้ว่า วัตถุที่เราจะเลือกจับโฟกัสต้องปรากฏในเฟรมภาพด้วยขนาดที่ใหญ่พอสมควร ระบบ 3D Tracking จึงจะสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำ แต่ถ้าวัตถุที่เราต้องการถ่ายปรากฏเพียงขนาดเล็กในเฟรมภาพ จุดโฟกัสจะดิ้นไปดิ้นมาในระหว่างที่ Tracking ทำให้พลาดเป้าไปจับเอาวัตถุอื่นมาแทน เราลองถ่ายภาพคนปั่นจักรยานด้วยเลนส์ AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED และใช้ระยะซูมสุด 55mm พบว่าต้องรอให้คนปั่นจักรยานเข้ามาใกล้ในระยะ 10 เมตรแล้วค่อยเริ่มทำการ Tracking จะทำให้ได้ภาพถ่ายที่ตัวแบบคมชัดเป๊ะทุกภาพ
ความรู้สึกในการใช้งาน Nikon D7500 ร่วมกับเลนส์เกรดโปรอย่าง AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED พบว่าเมื่อถ่ายภาพผ่าน Viewfinder การโฟกัสภาพทำได้รวดเร็วดีทั้งในสภาพแสงปกติ และในสภาพแสงที่ค่อนข้างน้อย คือพอกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งทางปุ๊ป โฟกัสก็เข้าทันทีแบบไม่ต้องรอ แต่กับการถ่ายภาพผ่านจอ LCD แบบ Live View ตามสมัยนิยมนั้น พบว่าการหาโฟกัสยังค่อนข้างช้า และในบางครั้งมีปัญหากับการหาโฟกัสวัตถุที่ค่อนข้างเล็ก และมีปัญหากับวัตถุที่ผิวมันวาว อย่างเช่นตุ๊กตาเซรามิคเคลือบแลคเกอร์มันๆ เงาๆ ครับ
และเราพบว่า การถ่ายภาพแบบ Live View ด้วย Nikon D7500 นั้น การตั้งค่าแบบ Default ของกล้องจะไม่เปิดการทำงานของระบบ ดูตัวอย่างความสว่างของภาพถ่าย (Exposure Preview) ทำให้ถึงแม้เราจะปรับเปลี่ยนค่า F หรือปรับความเร็วชัตเตอร์ไปหลายสเต็ป แต่ภาพที่ปรากฏบน Live View กลับมีความสว่างเท่าเดิม แต่พอกดชัดเตอร์ถ่ายภาพจริง ปรากฏว่า ภาพดันออกมามืดหรือสว่างกว่าที่เราต้องการ
และมีข้อที่ควรรู้คือ เราสามารถเปิดการทำงานของระบบ Exposure Preview ได้โดย ในขณะที่กำลังถ่ายภาพในโหมด Live View อยู่ ให้กดปุ่ม info อยู่ที่ตรงมุมล่างซ้ายของจอ LCD ก็จะปรากฏแถบเมนูทางขอบขวาหน้าจอ ให้ใช้ปุ่มลูกศร 4 ทิศทาง (ที่อยู่ทางฝั่งขวาของหน้าจอ) เลื่อนแถบเมนูคำสั่งลงมาทางด้านล่าง จนถึงคำสั่ง Exposure Preview จากนั้นกดปุ่มกลาง เพื่อเลือกเปิดการทำงานของระบบ Exposure Preview เพียงเท่านี้ เราก็ทำให้การถ่ายภาพในโหมด Live View ง่ายขึ้น และได้ความสว่างภาพตามต้องการ จบหลังกล้องได้ง่ายขึ้น
มาดูประสิทธิภาพในการจัดการ Noise ของ Nikon D7500 กันบ้าง ต้องบอกว่ามันทำได้ดีเลย การถ่ายตอนกลางคืนให้โทนภาพที่สว่าง มีมิติและเก็บรายละเอียดของภาพได้ดี โดยสามารถปรับค่า ISO ได้อยู่ในช่วง 100-51,200 (ขยายได้ 50 - 3,280,000) และระดับ ISO ที่ให้คุณภาพของภาพถ่ายที่ยอมรับได้สำหรับการนำภาพไปใช้งานทั่วๆ ไป คือที่ระดับ 12,800 ถ้าปรับสูงกว่านี้รายละเอียดของภาพจะซอฟต์ลง และเนื้อสีค่อนข้างแตกหยาบ
โดยเซ็ตภาพถ่ายที่เราถ่ายทดสอบมีการเปิดฟีเจอร์ Long exposure NR (ลด Noise เมื่อใช้ชัตเตอร์สปีดต่ำๆ) โดยฟังก์ชั่นการลด Noise จะทำงานเมื่อชัตเตอร์สปีดต่ำกว่า 1 วินาที และใช้เวลาในการประมวลผลประมาณไม่เกิน 6 วินาทีต่อภาพ (ขึ้นอยู่กับว่าชัดเตอร์สปีดต่ำขนาดไหน) โดยในขณะที่กล้องกำลังประมวลผล เราจะไม่สามารถกดชัตเตอร์ถ่ายภาพได้ครับ
ลองของกันสักหน่อยกับฟีเจอร์ Active D-Lighting อันเลื่องชื่อของกล้องค่าย Nikon สรรพคุณของฟีเจอร์นี้คือ ทำให้เก็บรายละเอียดได้ดีขึ้นทั้งในส่วนมืดและส่วนสว่างของภาพ จากการลองถ่ายลองเล่น ก็ต้องบอกเลยว่าฟีเจอร์นี้ช่วยให้ภาพถ่ายดูมีมิติขึ้นจริงๆ แบบไม่ต้องเอาโปรแกรมมาแต่งภาพเองในภายหลัง โดยเลือกการทำงานของระบบ Active D-Lighting ได้ 5 ระดับคือ Low, Normal, High, Extra high และ Auto โดยส่วนตัวชอบเซ็ตค่า Active D-Lighting ไว้ที่ระดับ Auto ซึ่งทำให้ได้ภาพที่พร้อมนำไปใช้งานมากกว่าการปิดฟีเจอร์นี้
เรามาชมตัวอย่างภาพถ่ายที่ระดับ Active D-Lighting ต่างๆ กันครับ (ภาพที่ 1 = Off | 2 = Auto | 3 = Low | 4 = Normal | 5 = High | 6 = Extra High)
เราลองมาชมตัวอย่างภาพถ่ายแนว Landscape และมาโครจาก Nikon D7500 ที่จับคู่กับเลนส์ซูมเกรดโปรอย่าง AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED กันดีกว่าครับ โดยทุกภาพที่นำมาลงเป็นภาพถ่ายแบบจบหลังกล้อง ไม่ได้มีการใช้โปรแกรมแต่งภาพปรับสีปรับแสงเพิ่มเติมแต่อย่างใด และเราก็ถือโอกาสลองเปิดฟังก์ชั่น Picture Control ทั้งแบบ Standard , Landscape และแบบ Auto เพื่อดูความแตกต่างระหว่างค่า Picture Control แต่ละรูปแบบ
ตัวอย่างภาพถ่ายเมื่อใช้ Picture Control รูปแบบต่างๆ (ภาพที่ 1 = Standard | 2 = Landscape | 3 = Auto)
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/10 1/200 sec. ISO 200
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/10 1/125 sec.
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/10 1/125 sec. ISO 640
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/10 1/125 sec. ISO 450
และระบบ Active D-Lighting ช่วยให้ภาพถ่ายวิวทิวทัศน์ดูดีมีมิติขึ้นจริงๆ โดยภาพหมายเลข 1 ทางด้านบนนี้ เป็นการถ่ายด้วยค่า Active D-Lighting แบบ Off ส่วนภาพที่ 2 ตั้งค่า Active D-Lighting แบบ Auto
และสำหรับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ในสภาพแสงแดดอ่อนๆ ด้วยการตั้งค่า White Balance เป็นแบบ Auto โทนภาพจะออกสีอมฟ้าหน่อยๆ ตามภาพหมายเลข 1 ทางด้านบน แต่ถ้าต้องการสภาพแสงอมแดงใกล้เคียงความเป็นจริงของแดดยามเย็น ก็ให้ปรับค่า White Balance มาเป็นแบบ Sunny ก็จะได้ผลงานออกมาตามภาพที่ 2 ครับ
กล้อง Nikon D7500 ที่จับคู่กับเลนส์ AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED ให้ไฟล์ให้ภาพที่ละเอียดสวยงามสมกับที่เป็นกล้อง DSLR ระดับกึ่งโปร เราลองมาชมตัวอย่างภาพถ่ายหลากหลายแนวจากกล้องตัวนี้กันดีกว่านะ โดยทุกภาพเปิดระบบ Active D-Lighting แบบ Auto และเป็นภาพแบบจบหลังกล้อง ไม่ได้ใช้โปรแกรมตกแต่งภาพเพื่อปรับสีปรับแสงใดๆ ทั้งสิ้น แค่เพียงนำไฟล์ภาพมาย่อไซส์ลงเพื่อให้เหมาะกับการลงเว็บครับ
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/4 1/400sec. ISO 160
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/2.8 1/1000sec. ISO 200
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/2.8 1/320sec. ISO 200
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/3.5 1/250sec. ISO 200
ภาพดอกกุหลาบสีชมพู ดูแล้วสีของดอกกุหลาบมีความอิ่มเข้มเกินจริง และทำให้มิติภาพดูด้อยลง
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/2.8 1/500sec. ISO 200
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/4 1/1000sec. ISO 160
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/4 1/8000sec. ISO 160
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/2.8 1/6400sec. ISO 160
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/2.8 1/125sec. ISO 200
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/4 1/640sec. ISO 160
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/4 1/1250sec. ISO 160
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/4 1/1600sec. ISO 160
Nikon D7500 + AF-S Nikkor 17-55mm f/2.8G IF-ED f/2.8 1/1600sec. ISO 160
ภาพนี้เล่นกับจังหวะการก้าวเดินของตัวแบบ มันค่อนข้างยากที่จะกดชัตเตอร์เพื่อบันทึกภาพในจังหวะที่พอเหมาะพอดีในช็อตเดียว ภาพนี้เลยใช้โหมดการถ่ายภาพนิ่งต่อเนื่องความเร็วสูง 8 ภาพต่อวินาที (CH) ทำให้ได้ภาพนิ่งจำนวนมากที่บันทึกหลายๆ จังหวะการก้าวเดินไว้ ให้เราสามารถนำมาเลือกภาพที่จังหวะดีที่สุดได้ในภายหลัง
Nikon D7500 รองรับการถ่ายวิดีโอ 4K ที่เฟรมเรต 30fps ซึ่งไฟล์วิดีโอที่ได้ก็สวยสดงดงามเลยทีเดียวครับ แต่ก็มีข้อจำกัดคือในโหมดการถ่ายวิดีโอแบบ 4K จะมีการคูณค่าทางยาวโฟกัสไปอีก 1.5 ตัวอย่างเช่น ถ้าเราใช้เลนส์ 17mm ด้วยความที่กล้องใช้เซ็นเซอร์ภาพแบบ APS-C เมื่อใช้กล้องถ่ายภาพนิ่ง หรือถ่ายวิดีโอ ค่าทางยาวโฟกัสต้องคูณด้วย 1.5 เป็นค่ามาตรฐาน เท่ากับค่าทางยาวโฟกัสเพิ่มขึ้นเป็น 25.5mm (17mm x 1.5) แต่เมื่อเปลี่ยนมาถ่ายวิดีโอ 4K ค่าทางยาวโฟกัสจะถูกคูณเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 1.5 กลายเป็น 38.7mm โดยอัตโนมัติ ทำให้การถ่ายวิดีโอ 4K ด้วยกล้อง Nikon D7500 นั้นไม่ค่อยจะได้ใช้ประโยชน์จากเลนส์มุมกว้าง หรืออาจไม่เหมาะสำหรับการถ่ายวิดีโอวิวทิวทัศน์ที่ต้องการนำเสนอความกว้างขวางอลังการของสถานที่ และอีกเรื่องที่ต้องบอกคือ คลิปวิดีโอที่ความละเอียดสูงระดับ 4K ต้องใช้เครื่องคอมฯ ที่สเปคแรงถึงจะสามารถเปิดเล่น และตัดต่อวิดีโอที่ความละเอียดสูงระดับนี้ได้อย่างราบรื่น
ขนาดเฟรมภาพเมื่อถ่ายวิดีโอที่ความละเอียดระดับ Full HD 1080p
เมื่อเปลี่ยนมาถ่ายวิดีโอที่ความละเอียด 4K เฟรมภาพจะถูกครอปลงอีก 1.5 เท่า ทำให้ไม่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพมุมกว้าง
จากการลองถ่ายวิดีโอด้วย Nikon D7500 พบว่าไมค์ติดตัวกล้อง สามารถใช้บันทึกเสียงบรรยากาศรอบๆ ตัวได้ดีเลย แต่ถ้าต้องการคุณภาพการบันทึกเสียงที่ชัดเจน ขึ้นสำหรับการถ่ายวิดีโองานสัมภาษณ์ หรือการถ่ายทำรายการ ก็สามารถเสียบไมค์แยกเข้ากับช่องแจ๊คทางด้านข้างตัวกล้องได้
แต่ก็มีเรื่องที่ต้องขอบ่นสำหรับการถ่ายวิดีโอคือ Nikon D7500 ไม่มีระบบ Focus peaking ทำให้คนที่ชอบถ่ายวิดีโอด้วยระบบโฟกัสแบบ Manual นั้นต้องอาศัยความแม่นยำของสายตาในการเล็งโฟกัสเอาเอง แต่ก็ยังดีที่การแสดงผลของหน้าจอ LCD มีความกระจ่างใสคมชัด ทำให้การปรับเล็งโฟกัสผ่านหน้าจอก็ไม่ได้ยากเย็นแต่อย่างใด เราลองมาชมตัวอย่างคลิปวิดีโอ 4K สวยๆ ที่ถ่ายจาก Nikon D7500 กันดีกว่าครับ
ข้อดี
| ข้อสังเกต
|
|
ไม่เสพติดไอที แต่ชอบเสพข่าวเทคโนโลยี หาความรู้ใหม่ๆ มาใส่สมอง |