หากพูดถึง โปรแกรม TeamViewer หลายคนต้องรู้จักกันอยู่แล้วอย่างแน่นอนในฐานะ โปรแกรมรีโมทคอมพิวเตอร์ (Remote Desktop Software) ที่เป็นที่นิยมใช้กันระดับต้น ๆ ในไทย แต่นอกจากที่ TeamViewer จะมีตัวโปรแกรมทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงินให้ใช้งานแล้ว ก็ยังมีโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งสำหรับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดใหญ่โดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ เจ้าหน้าที่สนับสนุนงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Support) สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นขึ้น และสามารถประหยัดเวลาและทรัพยากรได้มากขึ้นในเวลาที่พนักงานฝ่ายนี้ต้องคอยซัพพอร์ตพนักงานหลายคนพร้อมกันหลายเครื่องด้วย
สำหรับในบทความนี้ เราจะพามาดูข้อแตกต่าง ระหว่าง โปรแกรม TeamViewer ตัวธรรมดา กับ โปรแกรม TeamViewer Tensor ที่เอาไว้ใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ มาดูกันว่าเมื่อไหร่ควรใช้
โปรแกรมรีโมทคอมพิวเตอร์ TeamViewer Tensor เป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์บริการในระดับองค์กรที่มีความปลอดภัย สามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะไกล, ควบคุม, ประสานงาน, และสนับสนุนได้เป็นอย่างดี ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการทั่วไปขององค์กรขนาดใหญ่เพื่อเชื่อมต่อบริษัทในข่ายได้ทั่วโลก
นอกจากนี้ ยังเป็นแพลตฟอร์มที่อยู่บนคลาวด์ ทำให้สามารถเรียกใช้บริการได้ตามความต้องการในการใช้งาน มีความยืดหยุ่นที่ดีเยี่ยมในระดับองค์กร และยังเป็นหนึ่งในโครงข่ายการเชื่อมต่อระยะไกลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยการให้บริการที่ครอบคลุมกว่า 200 ประเทศทั่วโลก และเชื่อมต่อไปแล้วกว่า 1.7 พันล้านเครื่อง
จุดเด่นที่สำคัญของ โปรแกรม TeamViewer Tensor จะอยู่ที่ระบบรักษาความปลอดภัยภายในตัวโปรแกรมและเครือข่าย ด้วยการใช้ SAML 2.0 หรือดีกว่า เพื่อการจัดการ, ประมวลผลเข้าศูนย์กลาง, สร้างความปลอดภัย, และควบคุมฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบัญชีผู้ใช้งาน
ทั้งสองไลเซนส์ (License) ถือเป็นไลเซนส์สำหรับการใช้ภายในบริษัทและองค์กรทั้งคู่ แต่ก็มีความแตกต่างในเรื่องของการใช้งานและราคาเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะ โปรแกรม TeamViewer Tensor นั้น จะมีความครอบคลุมในเรื่องของการใช้งานมากกว่า ดังนี้
คุณสมบัติ | TeamViewer Corporate | TeamViewer Tensor |
จำนวนเครื่องที่รีโมทได้ (เครื่อง) | 3 (ซื้อเพิ่มได้) | ไม่จำกัด |
จำนวนผู้ใช้งานได้สูงสุด | 30 | ไม่จำกัด |
จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม | 10 | 25 |
การเชื่อมต่อ | ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตจำนวนจำกัด สามารถเริ่มการเชื่อมต่อได้ครั้งละไม่เกิน 3 เซสชัน | ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตทุกคน สามารถเริ่มการเชื่อมต่อได้โดยไม่จำกัดเซสชันพร้อม ๆ กัน |
Single Sign-On | - | ✓ |
รองรับการเชื่อมต่อ Mobile Devices | - (ซื้อเพิ่มได้) | ✓ |
TeamViewer Pilot | - (ซื้อเพิ่มได้) | - (ซื้อเพิ่มได้) |
ช่องทางการเชื่อมต่อ เพิ่มเติม | - (ซื้อเพิ่มได้) | ✓ |
Add-on Channel | 7 | ไม่จำกัด |
โปรแกรมรีโมทคอมพิวเตอร์ TeamViewer Tensor และเวอร์ชันอื่น ๆ ในเครือ มีการอัปเดตรุ่นและระบบปฏิบัติการที่รองรับการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ โดยรายละเอียดอุปกรณ์ด้านล่างที่รองรับ อัปเดตล่าสุดเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021)
iOS 12 หรือใหม่กว่า / iPadOS 13
Android 4.4 หรือรุ่นใหม่กว่า
Chrome 38 หรือใหม่กว่า
หมายเหตุ:
1 รองรับ Windows 10 IoT Enterprise ด้วย แต่ไม่รองรับ Windows 10 IoT Core และ Windows Embedded systems
2 ไม่รองรับการติดตั้งบน Windows Server Core
3 ต้องการ Internet Explorer 8.0 หรือเวอร์ชันสูงกว่า
โปรแกรมรีโมทคอมพิวเตอร์ TeamViewer Tensor หน้าตาการใช้งานของโปรแกรมจะมีความซับซ้อนมากกว่าเวอร์ชันฟรีอยู่เล็กน้อย เพราะว่าในเวอร์ชันฟรี จะมีการจำกัดการเข้าถึงอยู่บ้าง เช่น ไม่สามารถจัดการอุปกรณ์และปรับแต่งแอปพลิเคชันได้, ไม่สามารถสั่งปรินต์ผ่านเครื่อง Mac และ Windows ได้ เป็นต้น
เมื่อคุณเข้าสู่ระบบ (Login) เข้ามาในไอดีที่ผ่านการสมัครใช้งาน โปรแกรม TeamViewer Tensor แล้ว หน้าตาโปรแกรมจะเปลี่ยนไปตามรูปด้านล่าง
จากหน้าตาโปรแกรมเดิม ๆ ที่มีสีฟ้า ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นสีเทาแทน ทำให้ดูเป็นการใช้งานในเชิงธุรกิจมากขึ้น (ถ้าใครใช้ Facebook เวอร์ชัน Business ด้วยก็จะได้ฟีลคล้าย ๆ กัน) ในแต่ละเมนูก็จะมีหน้าตาและฟังก์ชันการใช้งานดังต่อไปนี้
ส่วนการใช้งานหลักที่จะได้ใช้กันเป็นประจำ ในส่วนนี้จะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปจากเวอร์ชันฟรีเท่าไหร่ ยังคงสามารถรับไอดีและพาสเวิร์ดเพื่อให้เครื่องอื่นสามารถรีโมทมาหาเราได้ หรือเลือกรีโมทไปยังเครื่องปลายทางด้วยการกรอก Partner ID และรหัสก็ได้
ถ้าแปลเป็นภาษาไทยแบบบ้าน ๆ ก็คือ "การจัดการรีโมท" นี่แหละ ซึ่งในส่วนนี้จะมีให้เลือกจัดการ 3 ส่วนหลักด้วยกันได้แก่
ฟีเจอร์ Meeting มีไว้สำหรับการประชุมทางไกล โดยเฉพาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ที่จะทำให้การประชุมนั้นสามารถทำได้ง่ายขึ้นและสะดวกขึ้น โดยผู้ที่ต้องการจัดประชุม สามารถจัดการประชุมได้โดยกดปุ่ม Start เพื่อเริ่มการประชุมทันที หรือเลือกที่ Scheduler เพื่อตั้งเวลาจัดประชุม แต่ถ้าหากคุณเป็นผู้เข้าร่วมประชุม ก็สามารถกรอก Meeting ID ลงไปเพื่อเข้าร่วมประชุมได้เลย
การประชุมนี้ จะมีฟังก์ชันเพื่อใช้ในการประชุมที่ช่วยให้การทำงานราบรื่นขึ้น ด้วยระบบการประชุมผ่านวิดีโอ แบบเห็นหน้า ( Face-to-face Video Conference) แบบความคมชัดสูง (High-Definition - HD), การโทรด้วยเสียง (Voice over IP), และการพิมพ์แชท กับเพื่อนร่วมงานและทีม โดยสามารถจัดกรุ๊ปสำหรับการประชุมได้สูงสุดถึง 300 คน นอกจากนี้ ภายในการประชุม ยังมีฟังก์ชันการแชร์หน้าจอและบันทึกเซสซัน รวมไปถึงเครื่องมือที่จำเป็นในการประชุม ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างปลอดภัยทั้งกับทีมและกับลูกค้า ไม่ว่าจะใช้งานจากที่ไหน เมื่อไหร่ก็ตาม
ในส่วนของ คอมพิวเตอร์ และ รายละเอียดการติดต่อ (Computers & Contacts) จะมีรายชื่ออุปกรณ์ที่เคยทำการเชื่อมต่อซึ่งกันและกัน รวมถึงจะมีรายชื่อผู้ติดต่อขึ้นที่นี่เหมือนกับ โปรแกรม TeamViewer ตัวธรรมดา
ฟีเจอร์แชท หรือการสนทนา เป็นความสามารถที่สามารถใช้ได้ระหว่างคนรีโมทและคนที่ถูกรีโมทเข้ามา หากต้องการพิมพ์คุยก็สามารถมาใช้ฟีเจอร์นี้ได้เลย ไม่ต้องไปคุยกันใน โปรแกรม Notepad นะ (เรารู้คุณก็เคย)
เทคโนโลยี AR ที่มีให้ใน โปรแกรม TeamViewer เหมาะสำหรับการใช้เพื่อการสนับสนุนที่ต้องทำการสาธิตวิธีทำหรือวิธีการทำงานบางอย่างที่ต้องลงมือปฏิบัติ เช่น การทำงานในโรงงาน การผลิตสินค้าต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ก็สามารถให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยรีโมทและสาธิตในระบบ AR นี้ได้
ในส่วนของ More Solutions จะมีฟีเจอร์ Internet of Things (IoT) และ Servicecamp ให้ทดลองใช้งาน โดยฟีเจอร์ IoT ที่สามารถเรียกดูข้อมูลการออนไลน์ / ออฟไลน์ และจะมีแจ้งเตือนเกี่ยวกับอุปกรณ์บอกไว้ที่นี่ด้วย
ส่วน Servicecamp คือฟีเจอร์ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างตั๋ว (Ticket) เพื่อแจ้งปัญหาถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการติดตามและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพในแพลตฟอร์มเดียว
โปรแกรมรีโมทคอมพิวเตอร์ TeamViewer Tensor นี้หากใครไม่เคยใช้ TeamViewer เวอร์ชันเสียเงินหรือเวอร์ชันองค์กรมาก่อน อาจคิดว่าจะต้องดาวน์โหลดเวอร์ชันดังกล่าวแยกต่างหาก แต่แท้จริงแล้ว คุณสามารถดาวน์โหลดเวอร์ชันฟรีมาติดตั้งได้เลย หรือถ้าคุณเคยใช้งานเวอร์ชันฟรีมาก่อนแล้ว และมีโปรแกรมอยู่ในเครื่อง ก็สามารถเข้าสู่ระบบ (Login) ด้วยบัญชีที่มี License ของเวอร์ชัน Tensor อยู่เพื่อใช้งานได้ทันที
การใช้งานฟีเจอร์ทั่ว ๆ ไป เช่น การรีโมทควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ - สมาร์ทโฟน - แท็บเล็ต, การรับ - ส่งไฟล์, การจัดการผู้ใช้งาน, และการจัดการประชุม จะมีวิธีการใช้งานเหมือนกับเวอร์ชันฟรี โดยสามารถตามไปอ่านได้ในบทความ รีวิวโปรแกรม TeamViewer 15 ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะพูดถึงการใช้งานฟีเจอร์อื่นที่ไม่มีให้ใช้ในเวอร์ชันฟรีกันอย่าง การจัดกลุ่มอุปกรณ์ขั้นสูง และ การกำหนดข้อมูลอุปกรณ์ กันค่ะ
ดาวน์โหลดโปรแกรม TeamViewer ที่นี่
อ่านรีวิว TeamViewer 15 ที่นี่
ในโปรแกรมรีโมทคอมพิวเตอร์ TeamViewer ที่เป็นเวอร์ชันปกติ จะมีการจัดกลุ่มแบบธรรมดาไว้ให้อยู่แล้ว แต่สำหรับเวอร์ชัน TeamViewer Tensor จะมีความพิเศษอยู่ที่การจัดการกลุ่ม ที่เราสามารถจัดกลุ่มของอุปกรณ์ที่อยู่ในความดูแลเข้าด้วยกันได้ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่มีการแบ่งแผนกหรือแบ่งฝ่ายงานที่ค่อนข้างละเอียดและซับซ้อน และด้วยเอกสิทธิ์เฉพาะผู้ใช้ Tensor ที่อนุญาตให้คุณสามารถเพิ่มอุปกรณ์ใดก็ได้ เข้าไปในส่วนการจัดการนี้
ก่อนที่เราจะสามารถจัดกลุ่มให้กับอุปกรณ์เหล่านี้ได้ จะต้องจัดการเพิ่มเข้ารายชื่อ Managed Devices เสียก่อน ซึ่งวิธีเพิ่มมีดังต่อไปนี้
นอกเหนือจากการเลือก Manage this device แล้ว ก็สามารถใช้วิธี Assign to account (เมนูที่อยู่ก่อนถึง Manage this device) เพื่อลงทะเบียนให้อุปกรณ์นั้น ๆ อยู่ในลิสต์ Managed Devices ได้เหมือนกัน
เมื่อจัดการเพิ่มอุปกรณ์เข้ารายการ Managed Devices เสร็จแล้ว ก็จะสามารถจัดการทำกลุ่มให้อุปกรณ์ต่าง ๆ รวมเข้าด้วยกันอย่างเป็นระเบียบได้โดยการ
และนอกเหนือไปจากการดูข้อมูลจากรายงานบนเว็บไคลเอนท์ของ โปรแกรม TeamViewer เอง แล้ว การกำหนดข้อมูลอุปกรณ์แต่ละเครื่องเพิ่มเติม ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สามารถจัดระเบียบเครื่องในเครือองค์กรได้ง่ายขึ้นเช่นกัน เพราะนอกจากที่จะถูกจำแนกโดยชื่อแผนก / ชื่อกลุ่ม ที่เราตั้งแล้ว เรายังสามารถที่จะจัดหมวดหมู่อื่น ๆ เช่น จัดตามระบบปฏิบัติการ, จัดตามประเทศที่สำนักงานนั้นตั้งอยู่, จัดตามตัวอักษรที่ขึ้นต้นของชื่อ เป็นต้น โดยการจัดหมวดหมู่ตามข้อมูลดังกล่าว มีวิธีการจัดดังต่อไปนี้
โปรแกรมรีโมทคอมพิวเตอร์ TeamViewer Tensor มีจุดเด่นอยู่ที่ระบบรักษาความปลอดภัยภายในตัวโปรแกรมและเครือข่าย ด้วยการใช้ SAML 2.0 เพื่อไม่ให้ข้อมูลสำคัญขององค์กรรั่วไหลไปสู่บุคคลภายนอก และมีหน้าตาอินเตอร์เฟซของโปรแกรมที่เป็นมิตรกับการใช้งานของผู้ใช้งานทุกระดับ
ดังนั้น หากคุณต้องการลงทุนด้านความปลอดภัยเพื่อองค์กรขนาดใหญ่ในระยะยาวแล้วล่ะก็ โปรแกรม TeamViewer Tensor สามารถตอบโจทย์การใช้งานด้านการสนับสนุนผู้ใช้งานทั้งที่อยู่ในสำนักงานเดียวกัน และที่อยู่ต่างที่กันได้เป็นอย่างดีไม่ว่าจะมีระยะทางใกล้ - ไกล แค่ไหนก็ตาม
สนใจสั่งซื้อโปรแกรม TeamViewer Tensor ขอใบเสนอราคาได้ที่ :
|
เกมเมอร์หญิงทาสแมว ถ้าอยู่กับแมวแล้วจะน้วยแมวทั้งวัน |