นับตั้งแต่ที่ โปรแกรม TeamViewer Remote เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2549) มันก็มีการปรับปรุงพัฒนาความสามารถให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ มาโดยตลอด จากซอฟต์แวร์ที่ใช้เชื่อมต่อหากันแค่ระหว่างคอมพิวเตอร์ ก็รองรับการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ ได้ และในปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) ก็ได้พัฒนามาถึง TeamViewer Remote 15 แล้ว โปรแกรมรองรับถึง 30 ภาษา รวมถึงภาษาไทยด้วย
*หมายเหตุ : ล่าสุด TeamViewer Remote ได้มีการเปลี่ยนแปลงหน้าตาการใช้งาน (Interface) ของโปรแกรมให้แตกต่างไปจากเดิม เพื่อยกระดับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน และยกระดับประสิทธิภาพของโปรแกรมให้ดีขึ้น
แต่หากผู้ใช้งานรายใดที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้งานโปรแกรมใน Interface รูปแบบใหม่ ก็สามารถดำเนินการเพื่อ เปลี่ยนกลับไปเป็น Interface แบบดั้งเดิมได้ แต่ในอนาคต ทาง TeamViewer Remote อาจไม่เปิดตัวเลือกให้สามารถเปลี่ยนกลับไปใช้งาน Interface ในรูปแบบดั้งเดิม
โปรแกรม TeamViewer Reomte เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เราเข้าไปควบคุมคอมพิวเตอร์อีกเครื่องได้เสมือนเราไปนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น โดยอาศัยการเชื่อมต่อผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
เวลาที่เพื่อนของเรา หรือลูกค้าของบริษัท มีปัญหาขอความช่วยเหลือเข้ามา อย่างเช่น ลงโปรแกรมไม่เป็น ติดตั้งไดร์เวอร์ไม่ได้ ผู้ที่ขอความช่วยเหลือเข้ามาสามารถติดตั้งโปรแกรม TeamViewer Remote (ฟรี) แล้วเราก็สามารถใช้โปรแกรม TeamViewer Remote เชื่อมต่อเข้าไปแก้ปัญหาให้ได้ทันที โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปบ้านของเพื่อน หรือลูกค้า
ในการใช้งานโปรแกรม TeamViewer Remote พื้นฐานแบบแค่เข้าไปควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ของเพื่อนเรา สามารถใช้ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ที่จริงแล้วมันไม่ได้มีความสามารถแค่นั้นนะครับ TeamViewer Remote ยังสามารถใช้ในการรับส่งไฟล์หรือใช้เป็นโปรแกรมประชุมเพื่อคุยงานกันได้อย่างเยี่ยมยอดอีกด้วย
และนอกจากนี้แล้ว โปรแกรม TeamViewer Remote ยังมีความสามารถในการดูแลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบ LAN ขององค์กรได้อีกด้วย สมมติในบริษัทมีคอมพิวเตอร์ที่ฝ่ายไอทีต้องดูแล 50 เครื่อง หากพนักงานในองค์กรประสบปัญหาด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เราไม่จำเป็นต้องเดินไปหาที่โต๊ะก็ได้ แค่เปิด TeamViewer Remote แล้วรีโมทเข้าไปจัดการได้เลย
คลิกเพื่อสั่งซื้อ TeamViewer Remote
ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการรีโมทไปควบคุมคอมพิวเตอร์จากระยะไกลมีให้เลือกใช้งานอยู่หลายตัว แต่ TeamViewer Remote ไม่ได้มีความสามารถให้เราใช้เพียงแค่นั้น จุดเด่นของมัน คือ
ภาพจาก : https://www.teamviewer.com/en/remote-management/?
โปรแกรม TeamViewer Remote เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งใช้งานง่ายครับ ก่อนอื่นเราต้อง ดาวน์โหลดตัวติดตั้งโปรแกรม TeamViewer Remote หลังจากนั้นก็ดับเบิลคลิกที่ไฟล์เพื่อเริ่มการติดตั้งได้เลย
ตัวติดตั้งโปรแกรมก็จะพาเรามาสู่หน้าจอตามภาพด้านบน โดยในการใช้งานปกติจะติ๊กเลือกที่ Default installation นะครับ
จะมาสู่หน้าจอที่ให้เราคลิกเพื่อยอมรับ ข้อตกลงการใช้งาน (EULA) และยอมรับ สัญญาเกี่ยวกับการใช้หรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (DPA) ของ TeamViewer Remote
รอสักครู่ ทุกอย่างจะติดตั้งให้เราอัตโนมัติ แล้วโปรแกรมจะเปิดขึ้นมาแบบพร้อมใช้งาน
โดยต้องทำการ Sign-In ด้วยแอคเคาน์ TeamViewer Remote ของเราเสียก่อนจึงจะใช้งานได้ แต่หากยังไม่มีก็สามารถสร้างแอคเคาน์ใหม่ได้เลย
ล่าสุดทางผู้พัฒนาโปรแกรม TeamViewer Remote ได้ทำการปรับเปลี่ยน หน้าตาการใช้งาน (User Interface) เป็นรูปแบบใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม สำหรับผู้ใช้งานที่ไม่คุ้นเคยกับ Interface รูปแบบใหม่ และต้องการย้อนกลับไปใช้งาน Interface รูปแบบเก่าที่คุ้นเคย ก็ให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ครับ
ในหน้าจอหลัก คลิกที่ปุ่ม Settings
ในหน้าจอถัดมา คลิกที่ "ปุ่ม Go to this devices's settings"
ในหน้าจอนี้ให้ คลิกปิด "สวิตซ์ Use New TeamViewer Interface"
ก็จะมายังหน้าจอสุดท้าย โปรแกรมจะถามเหตุผลที่เราเลือกกลับไปใช้ Interface แบบเก่า เราไม่จำเป็นต้องพิมพ์บอกเหตุผล ให้คลิกที่ "ปุ่ม Restart" เพื่อสั่งให้โปรแกรมปิดตัวเอง แล้วเปิดขึ้นมาใหม่เป็น Interface แบบเก่าที่เราคุ้นเคย
เพียงเท่านี้โปรแกรม TeamViewer Remote ก็จะกลับมาเป็นหน้าตา Interface แบบเก่าที่เราคุ้นเคย ใช้งานกันได้อย่างสบายใจเหมือนเดิม
และสำหรับผู้ที่ยังใช้งานโปรแกรม TeamViewer Remote ด้วยหน้าตา Interface แบบเก่า และต้องการเปลี่ยนไปใช้งาน Interface แบบใหม่ ก็ต้องทำการอัปเดตโปรแกรมให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเสียก่อน (เวอร์ชัน 15.41 หรือสูงกว่า) จึงจะรองรับการเปลี่ยนไปใช้ Interface แบบใหม่ คลิกที่นี่เพื่อดูวิธีการเปลี่ยน Interface ที่แนะนำโดย TeamViewer
โดยในหน้าจอหลัก Interface แบบเก่า (ของโปรแกรม TeamViewer Remote เวอร์ชันล่าสุด) จะมีสวิตซ์เลื่อน New Interface ปรากฏอยู่ ให้ทำการคลิกเปิดสวิตซ์ จากนั้นโปรแกรมก็จะ Restart ตัวเอง แล้วเปิดขึ้นมาเป็น Interface แบบใหม่ทันที
โปรแกรม TeamViewer Remote มีความสามารถที่น่าสนใจอยู่ 7 อย่าง ดังต่อไปนี้
การรีโมทเข้าไปยังเครื่องเป้าหมาย ก็ง่าย ๆ ครับ ทั้งสองฝ่ายต้องติดตั้งโปรแกรม TeamViewer Remote ทั้ง 2 ฝั่ง จากนั้นเลือกว่าฝ่ายไหนจะเป็นเครื่องคุม ฝั่งไหนจะเป็นฝ่ายถูกควบคุม
สมมติว่าเราเป็นฝ่ายควบคุม ก็ให้เพื่อนส่ง Partner ID ดูได้จากตรงช่อง Your ID ของเครื่องที่ถูกควบคุม มาให้เรา ซึ่งจะเป็นชุดตัวเลข 10 หลัก
หลังจากใส่ตัวเลข Partner ID ที่เพื่อนส่งมาให้แล้ว ก็คลิกที่ปุ่ม Connect to partner ได้เลย ก็จะพบกับหน้าต่างให้ใส่รหัส ซึ่งตัวรหัสต้องให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือส่งมาให้นะครับ (ดูรหัสได้จากช่อง Password) จากนั้นก็คลิกที่ "ปุ่ม Log on" เพื่อเชื่อมต่อหากันได้เลย
หน้าตาการใช้งาน หรือ Interface แบบใหม่ของโปรแกรม TeamViewer Remote ได้มีการเพิ่มวิธีการสั่งงานรูปแบบใหม่ขึ้นมา โดยทำผ่านทาง ช่องพิมพ์คำสั่ง Command ที่อยู่ตรงแถบด้านบนของโปรแกรม ซึ่งช่อง Command รองรับการสั่งงานได้หลายรูปแบบ
และเราสามารถสั่งงาน เพื่อการเข้าควบคุมคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นจากระยะไกล ได้โดยการใช้คำสั่ง /connect ผ่านช่อง Command แล้วพิมพ์เลข ID จำนวน 10 หลักของเครื่องที่เราต้องการรีโมทเข้าไป ตัวอย่างเช่น
/connect 1234567890
เมื่อป้อนหมายเลข ID ของเครื่องปลายทางเรียบร้อยแล้ว ก็คลิกที่ปุ่ม Connect สีฟ้าเพื่อเริ่มการเข้าควบคุมได้เลย ตามภาพด้านบน
ก็จะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา เพื่อให้เราใส่รหัสผ่านของเครื่องปลายทาง จากนั้นก็คลิกที่ปุ่ม Log On เพื่อเริ่มต้นการเข้าควบคุมได้เลย
นอกจากช่องพิมพ์คำสั่ง Command จะมีประโยชน์ในการเริ่มต้นเข้าควบคุมจากระยะได้อย่างรวดเร็วแล้ว ก็ยังช่วยให้เราสามารถแชร์ ID และรหัสผ่าน ไปให้เจ้าหน้าที่ IT Support ที่ต้องการเข้ามาควบคุมเครื่องของเราได้อย่างรวดเร็ว โดยการใช้คำสั่ง /shareid
ก็จะมีหน้าต่างที่แสดงหมายเลข ID พร้อมรหัสผ่านปรากฏขึ้นมา พร้อมกับมี "ปุ่ม Copy" เพื่อให้กด เพื่อคัดลอก หมายเลข ID และรหัสผ่าน ไปยังคลิปบอร์ด (Clipboard) สามารถนำข้อความไปแปะในโปรแกรมแชทต่าง ๆ เพื่อส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ IT Support ได้เลย
ในกรณีที่ต้องการเพิ่มเครื่อง คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ก ของเราให้รองรับการเชื่อมต่อเพื่อเข้าควบคุมจากระยะไกลได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องใส่ ID และรหัสผ่านในทุกครั้งที่ทำการเชื่อมต่อ หรือที่เรียกว่าการเพิ่ม Managed Devices (เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อเพิ่อเข้าใช้งานเครื่องที่อยู่ที่บ้าน หรือที่ออฟฟิศของเรา) ก็ทำตามขั้นตอนตามภาพด้านบนได้เลย
เมื่ออุปกรณ์ที่เราต้องการเชื่อมต่อเพื่อเข้าควบคุมจากระยะไกล อยู่ในรายชื่อ Managed Devices เรียบร้อยแล้ว การเชื่อมต่อเข้าไปก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการคลิกที่ "ปุ่ม Connect" ของอุปกรณ์นั้นได้เลย
เมื่อเชื่อมต่อกับเครื่องปลายทางที่เราต้องการเข้าควบคุมจากระยะไกลเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเห็นหน้าเดสก์ทอปของเครื่องปลายทาง มาแสดงอยู่บนหน้าจอของเครื่องที่เรากำลังนั่งทำงานอยู่ ทำให้เราสามารถเปิดใช้โปรแกรมต่าง ๆ รวมถึงการเรียกใช้ไฟล์ต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องปลายทางได้เหมือนว่าเราไปนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่องนั้นได้เลย
โดยการแสดงสัญญาณภาพหน้าจอจากเครื่องปลายทางมีความลื่นไหลดี รองรับการใช้ทำงานในลักษณะ Remote Work ได้จริง
นอกจากการใช้งาน TeamViewer Remote ในลักษณะของการ Remote Work เพื่อการเข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ในออฟฟิศ ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบ้านได้แล้ว โปรแกรม TeamViewer Remote ก็ยังรองรับการใช้งานในลักษณะ Remote Support เพื่อการเข้าแก้ไขปัญหาทางเทคนิค หรือเข้าปรับแต่งการทำงานของเครื่อง คอมพิวเตอร์/เซิร์ฟเวอร์ ที่อยู่ในระยะไกล โดยมีแถบเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับงาน Remote Support อยู่ตรงมุมขวาบนของหน้าต่างโปรแกรม
ปุ่มคำสั่งแรกบนแถบเครื่องมือ (ปุ่มซ้ายสุด) คือ "ปุ่ม Action" มีคำสั่งที่เป็นประโยชน์สำหรับงาน Remote Support มากมาย อาทิ
คำสั่ง Scripts ที่อยู่ในแถบคำสั่ง Action มีประโยชน์มากสำหรับงาน IT Support เพื่อสั่งงานเครื่องปลายทางที่รีโมทเข้าไปอย่างรวดเร็ว อย่างเช่นการเรียกใช้งาน ตัวจัดการดิสก์ (Disk Management) หรือการเปิดตัวจัดการเสียง (Sound) เป็นต้น แต่ก่อนที่จะใช้งานได้เราต้องจัดการเพิ่มสคริปต์ที่ต้องการใช้งานลงในแอคเคาน์ของเราเสียก่อน
*หมายเหตุ : คำสั่ง Scripts ไม่รองรับบนการใช้งาน TeamViewer Remote แบบฟรี
เมื่อทำการเพิ่มสคริปต์ที่ต้องการใช้งานเรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อมาเราลองมาสั่งรันสคริปต์บนเครื่องปลายทางที่เรารีโมทเข้าไป เพื่อรองรับงาน IT Support ได้อย่างรวดเร็ว โดยในระหว่างการรีโมท ให้คลิกที่ ปุ่มคำสั่ง Actions (ตรงมุมซ้ายบนของหน้าจอ) จากนั้นคลิกที่ คำสั่ง Scripts โดยจะมีให้เลือกใช้งานทั้งแบบ Own scripts (สคริปต์ของเราเอง) และ Manage scripts จากนั้นให้คลิกที่สคริปต์ที่ต้องการใช้งานได้เลย
อีกหนึ่งปุ่มคำสั่งที่น่าสนใจบนแถบเครื่องมือของโปรแกรม TeamViewer Remote คือปุ่ม Communicate ที่รวมเครื่องมือที่เป็นประโยชน์สำหรับการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ IT Support กับพนักงานที่นั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดปัญหา อาทิ เครื่องมือ Chat, Audio and video, Whiteboard และเครื่องมือ Switch sides with partner ที่จะอธิบายรายละเอียดดังต่อไปนี้
โดย "คำสั่ง Chat" ในแถบเครื่อง Communicate จะเป็นการเปิดหน้าต่างแชทเพื่อพิมพ์พูดคุยสอบถามปัญหากันระหว่างเจ้าหน้าที่ IT Support กับ พนักงานที่นั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดปัญหา
|
หน้าจอฝั่งคนอยู่หน้าเครื่องที่เกิดปัญหา |
นอกจากนี้ในแท็บ Communication ยังมี "คำสั่ง Audio and Video" สำหรับการพูดคุยสนทนา หรือทำ Video Call กันระหว่างฝ่าย IT Support กับ พนักงานที่นั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดปัญหา เพื่อการสอบถามหรือแนะนำวิธีแก้ไขปัญหา
ในส่วนของ "แท็บ Communication" ก็ยังมี "คำสั่ง Whiteboard" ที่ช่วยให้ทางฝั่ง IT Support สามารถเขียนลากเส้นบนหน้าจอ หรือพิมพ์อักษรบนหน้าจอ ให้ไปปรากฏบนหน้าจอของทางฝั่งพนักงาน เพื่อให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา
อีกหนึ่งคำสั่งที่มีประโยชน์มากใน "แท็บ Communication" คือ "คำสั่ง Switch sides with partner" ซึ่งเป็นการสลับฝั่งการเข้าควบคุมเครื่องจากระยะไกล ตัวอย่างเช่น ถ้าในขณะนี้ ทางฝั่งเจ้าหน้าที่ IT Support กำลังควบคุมเครื่องของพนักงานอยู่ การกดปุ่มนี้จะเป็นการสลับฝั่งให้ พนักงานเข้าควบคุมเครื่องของเจ้าหน้าที่ IT Support และหากกดปุ่มนี้อีกครั้ง เจ้าหน้าที่ IT Support ก็จะสามารถควบคุมเครื่องของพนักงานได้ตามเดิม
อีกหนึ่งปุ่มคำสั่งที่น่าสนใจบนแถบเครื่องมือของโปรแกรม TeamViewer Remote คือปุ่ม Files & Extras รวมเครื่องมือที่เป็นประโยชน์สำหรับการ ถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องสองฝั่ง (File Transfer) และคำสั่งพิเศษอื่น ๆ อาทิ Dashboard, Use TeamViewer Printing และเครื่องมือ Start Recording ที่จะอธิบายรายละเอียดดังต่อไปนี้
คำสั่ง Dashboard ในแถบเครื่อง Files & Extras เป็นการเรียกเปิดแผงควมคุมที่แสดงรายละเอียดทางเทคนิคของเครื่องที่เราทำการ Remote เข้าไป ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์ให้เจ้าหน้าที่ IT Support สามารถวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดยข้อมูลที่แสดงก็มี อาทิ
TeamViewer Remote รองรับการสั่งพิมพ์ไฟล์ที่อยู่ในเครื่องปลายทางที่เรารีโมทเข้าไป โดยจะเป็นการพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ที่อยู่ใกล้ตัวเรา ตัวอย่างเช่น ถ้าเราทำงานอยู่บ้าน (Work from Home) แล้วต้องการเอกสารกระดาษจากไฟล์ที่เก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ในออฟฟิศ ก็สามารถใช้งานคำสั่ง Use TeamViewer Printing (อยู่ในแถบเครื่อง Files & Extras) ได้เลย
ทางฝั่ง IT Support สามารถสั่งบันทึกวิดีโอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการรีโมท (คำสั่ง Files & Extras > Start recording) บันทึกวิดีโอเก็บไว้ว่ามีการทำอะไร หรือเข้าไปแก้ไขปัญหาตรงไหนบ้าง ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้หลายอย่าง เช่น บันทึกไว้เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเดิมในอนาคต หรือเป็นหลักฐานในการทำงาน โดยไฟล์ที่ได้จะเป็นนามสกุล .tvs สามารถเปิดชมผ่าน TeamViewer Remote โดยตรง
เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ไฟล์นามสกุล .tvs เปิดดูได้ด้วยโปรแกรม TeamViewer Remote เท่านั้น แต่เราสามารถแปลงไฟล์ให้เป็นนามสกุล .avi ที่ใช้งานได้สะดวกกว่า ด้วยการกดปุ่ม Convert ที่ด้านบนของเครื่องเล่น |
คำสั่ง File Transfer (อยู่ในแถบเครื่องมือ Files & Extras) อำนวยความสะดวก ในกรณีที่เราทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) แล้วต้องการใช้ไฟล์ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน ก็สามารถใช้คำสั่งนี้ในการดาวน์โหลดไฟล์จากคอมพิวเตอร์ที่ทำงาน มาเก็บไว้ในเครื่องที่เรานั่งทำงานอยู่ได้เลย
หรือในกรณีที่ เจ้าหน้าที่ IT Support ต้องการติดตั้งโปรแกรมบางตัวลงในเครื่องของพนักงาน ก็สามารถใช้คำสั่งนี้อัปโหลดไฟล์ที่เป็นตัวติดตั้งโปรแกรม ส่งไปเก็บไว้ในเครื่องของพนักงาน แล้วใช้ TeamViewer สั่งการติดตั้งจากระยะไกลได้เลย
โปรแกรม TeamViewer Remote เวอร์ชันล่าสุดที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงหน้าตาการใช้งานของโปรแกรมให้เป็นรูปแบบใหม่ (New Interface) ได้มีการตัดฟีเจอร์การประชุมออนไลนฺ์ออกไป หากมีความต้องการใช้งานฟีเจอร์ประชุมออนไลน์ของ TeamViewer ก็ให้ดาวน์โหลด โปรแกรม TeamViewer Meeting มาใช้งาน โดยเป็นโปรแกรมที่ติดตั้งและใช้งานได้ง่าย
โดยก่อนที่จะใช้งานได้ ต้องมีการ SIGN IN เข้าระบบด้วยแอคเคาน์ TeamViewer ของเรา โดยมีขั้นตอนตามภาพด้านบน
การใช้งานฟีเจอร์ประชุมออนไลน์ของ โปรแกรม TeamViewer Meeting มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
โปรแกรม TeamViewer Meeting มีระบบ Contacts เก็บรวบรวมรายชื่อคนที่เราต้องประชุมด้วยบ่อย ๆ ช่วยให้เริ่มต้นการประชุมออนไลน์อย่างรวดเร็ว โดยการใช้งาน Contacts มีวิธีการตามภาพด้านบน
การพิมพ์ข้อความแชทคุยกันกับคนที่มีรายชื่ออยู่ใน Contacts ก็เป็นรูปแบบการสื่อสารที่สะดวกเร็ว โดยใช้งานผ่าน "ปุ่มคำสั่ง Chat" ได้เลย
โปรแกรม TeamViewer Meeting สามารถสร้างนัดหมายการประชุมเพื่อแจ้งให้ทีมรู้ล่วงหน้าได้ด้วย ช่วยให้การวางแผนงาน การเตรียมความพร้อม เป็นไปอย่างราบรื่น
อาจจะมีคนเข้าใจผิดว่า โปรแกรม TeamViewer Remote ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตได้เพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่จำเป็นเลย มันออกแบบให้รองรับการเชื่อมต่อเพื่อทำการรีโมทผ่านระบบ เครือข่าย LAN ภายในบริษัทได้ด้วยนะ เหมาะสำหรับการ Support เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่ายที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
สำหรับเจ้าหน้าที่ IT Support ที่ต้องเข้าเชื่อมต่อระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาทางเทคนิคบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของพนักงาน หรือของลูกค้าอยู่บ่อย ๆ (โดยที่เครื่องปลายทางไม่ได้มีโปรแกรม TeamViewer Remote ติดตั้งอยู่) ก็มีฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์มาก ๆ สำหรับงานนี้ ที่เรียกว่าเป็นการ สร้างเซสชันการควบคุมจากระยะไกล (Create a Session) โดยที่ฝ่าย IT Support สามารถสร้างลิงก์ เพื่ออำนวยความสวกในการดาวน์โหลดโปรแกรม TeamViewer ในเวอร์ชัน QuickSupport ส่งไปให้คนที่ร้องขอความช่วยเหลือทางเทคนิค (ลิงก์ที่สร้างขึ้น มีระยะเวลาใช้งาน 24 ชั่วโมง) โดยมีขั้นตอนดังภาพด้านบน
ปัจจุบันนี้ เราไม่ได้ทำงานกันแค่บนคอมพิวเตอร์แค่เพียงอย่างเดียวแล้ว แต่ยังทำกันบนสมาร์ทโฟนด้วย ซึ่ง TeamViewer ก็สามารถใช้งานบนสมาร์ทโฟนได้ด้วย แถมยังมีความสามารถบางอย่างที่เจ๋งกว่าการใช้งานบนคอมพิวเตอร์เสียอีก
โดยจะมีให้ใช้งานอยู่ 6 แอปพลิเคชัน คือ
ทั้งนี้ การรีโมทจากคอมพิวเตอร์ไปยังสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต Android, iOS (Mobile Device Support : MDS)) จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ MDS)
เราสามารถรีโมทเข้าคอมพิวเตอร์ด้วยแอปพลิเคชัน TeamViewer Remote Control บนสมาร์ทโฟนได้โดยตรง ช่วยให้ทำงานจากที่ไหนก็ได้ หากมีงานด่วนกะทันหัน หรือมีคนขอความช่วยเหลือเข้ามาในจังหวะที่เราอยู่ข้างนอก ก็สามารถใช้สมาร์ทโฟนรีโมทเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ได้เลย อีกความสามารถหนึ่งก็คือ สามารถส่งไฟล์ไปยังคอมพิวเตอร์ได้ด้วย
การแสดงผลอาจจะไม่เต็มจอพอดีนะ เนื่องจากสัดส่วนของหน้าจอสมาร์ทโฟนแต่ละรุ่น กับจอคอมพิวเตอร์จะมีความแตกต่างกัน
ส่วนของฟีเจอร์ การถ่ายโอนไฟล์ (File Transfer) จะใช้รับส่งไฟล์ระหว่างสมาร์ทโฟนกับคอมพิวเตอร์
ในกรณีที่เราต้องซัพพอร์ทลูกค้าที่มีปัญหาบนสมาร์ทโฟน ตัวโปรแกรม TeamViewer Remote บนเครื่อง PC ก็สามารถเข้าไปตรวจเช็กสถานะบน สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต ได้ทั้ง iOS และ Android เลย (โดยที่อุปกรณ์พกพาต้องมีการติดตั้งแอปพลิเคชัน TeamViewer QuickSupport เอาไว้ด้วย)
โดยที่ระบบ QuickSupport มีความสามารถในการ Mirror Screen ดีงหน้าจอของอุปกรณ์พกพามาแสดงบนหน้าจอ PC ของเจ้าหน้าที่ฝ่าย IT Support พร้อมกับมีระบบแชทพิมพ์ข้อความคุยกันเตรียมไว้ให้พร้อม ช่วยให้การแนะนำเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นบนอุปกรณ์พกพาทำได้ง่ายขึ้น
และสำหรับผู้ใช้งานอุปกรณ์ Android ที่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ IT Support ทำการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์พกพาได้อย่างสมบูรณ์แบบ (เจ้าหน้าที่ IT Support สามารถควบคุมอุปกรณ์พกพาของเราได้จากระยะไกล) ก็ให้ทำการติดตั้ง แอปพลิเคชัน TeamViewer Universal Add-On เพิ่มเติมลงไปในอุปกรณ์ (ไม่รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์ iOS) เพียงเท่านี้เจ้าหน้าที่ IT Support ก็สามารถควบคุมจากระยะไกลเพื่อจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์ Android ของเราได้อย่างสมบูรณ์แบบ
TeamViewer Assist AR (Pilot) เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) มาช่วยแก้ปัญหาที่การสื่อสารผ่านหน้าจออาจจะไม่ตอบโจทย์ได้ดีพอ อย่างที่เขาว่ากันว่าภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดได้เป็นพันคำ
TeamViewer Assist AR จะให้ผู้ขอความช่วยเหลือใช้กล้องของสมาร์ทโฟนส่องไปยังสิ่งที่มีปัญหา และทีมซัพพอร์ทจะสามารถ "ชี้เป้า" ต้นตอของปัญหาด้วย AR อย่างแม่นยำ (คุณสมบัตินี้เสียค่าบริการปีละ 11,028 บาท**)
**ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
การใช้งานสำหรับทีม IT Support ในองค์กรธุรกิจ โปรแกรม TeamViewer Remote ก็มีระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อการใช้งานแบบธุรกิจหลายอย่างเพิ่มเข้ามา อย่างตัว TeamViewer Management Console ที่ช่วยให้เราตรวจสอบสถานะการเชื่อมต่อ และกำหนดสิทธิ์การใช้งานของคนในทีมได้อย่างละเอียด
ก็จะมีการเรียกเปิดหน้าเว็บของ TeamViewer Management Console ขึ้นมาตามภาพด้านบน และในกรณีที่เราเป็นผู้ดูแลระบบ (Administrator) เราจะสามารถกำหนดสิทธิ์การใช้งานโปรแกรม TeamViewer ให้กับผู้ใช้รายอื่น ๆ ที่อยู่ในบริษัทเดียวกันกับเราได้
เราสามารถเลือกตั้งค่าการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนได้อย่างละเอียด เพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ผู้ใช้รับผิดชอบ
เราสามารถออกแบบหน้าตา โปรแกรม TeamViewer Reomte ให้เป็นรูปแบบที่ต้องการ เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของบริษัทได้ด้วย สามารถใส่โลโก้บริษัท กำหนดสีพื้นหลังของส่วนที่ติดต่อกับผู้ใช้ได้ตามต้องการ รวมไปถึงการกำหนดค่าต่าง ๆ และสร้างแบบประเมิน
ซึ่งการออกแบบไม่จำกัดแค่เพียงรูปแบบเดียว แต่เราสามารถออกแบบแยกให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละแผนกได้ด้วย
TeamViewer Reomte จะช่วยให้ผู้ดูแลงานด้าน IT Support ทำงานง่ายขึ้น ด้วยการใช้งานผ่านแถบเมนู Service queue (คิวบริการ) ที่มีการแสดงรายการคิวงานทั้งหมดที่มีการร้องขอเข้ามาให้ฝ่าย IT Support รีโมทเข้าไปแก้ปัญหาทางเทคนิค สามารถมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ IT Support รับเคสที่มีการร้องขอเข้ามาได้ รวมถึงมีการสรุปรายงาน ระยะเวลาการเชื่อมต่อแต่ละเซสชัน ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ รวมถึงมีการสรุปค่าบริการเพื่อการเรียกเก็บเงิน ในกรณีที่มีลูกค้ามาร้องขอการรีโมทเพื่อแก้ปัญหา
โปรแกรม TeamViewer Remote ก็ถือว่าเป็น โปรแกรมรีโมทคอมพิวเตอร์ สำหรับรีโมทเข้าไปทำงาน, แก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ และประชุมทางไกลที่ดีมากที่สุดโปรแกรมหนึ่งเลยทีเดียว มีเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกหลายอย่างที่ช่วยให้งาน IT Support เป็นเรื่องง่าย
ตัวซอฟต์แวร์ ที่สามารถผนวก (Integrate) เข้ากับระบบไอทีของบริษัทได้ง่าย สามารถปรับแต่งค่าการทำงานได้อย่างละเอียด เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ในส่วนของการสนับสนุนลูกค้า มีเครื่องมือให้มาอย่างครบครันและใช้งานได้ง่าย ทั้งด้านการทำงานและสรุปรายงานการช่วยเหลือลูกค้า หรือในส่วนของการใช้งานภายในองค์กรก็มีเครื่องมือหลายตัวที่จะช่วยให้แผนกไอทีของบริษัทดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ในองค์กรได้สะดวกขึ้น
ลองนึกภาพว่าหากคุณต้องการความช่วยเหลือ คุณจะอยากได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทไหน ระหว่างบริษัทที่บอกให้คุณนัดหมายวันเวลาที่ช่างจะเข้ามาดูแลให้ กับบริษัทที่สามารถรีโมทเข้ามาช่วยเหลือคุณได้ในทันที ถ้าคำตอบของคุณคืออย่างหลัง โปรแกรม TeamViewer Remote เป็นเครื่องมือที่บริษัทของคุณควรเลือกมาใช้งานครับ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |
ความคิดเห็นที่ 2
11 กรกฎาคม 2558 20:36:15
|
||
GUEST |
PEL
มีโปรแกรมมือถือแอนดรอยควบคุมมืือถือด้วยกันแบบระยะไกลมั้ยคะ
|
|
ความคิดเห็นที่ 1
7 ธันวาคม 2557 16:10:39
|
||
อีกตัวก็ CAT Conference ก็น่าใช้นะครับ
|
||