จุดที่เราชอบ
| จุดที่เราไม่ชอบ
|
Piper Computer Kit เป็นชุดคิทสร้างคอมพิวเตอร์แบบสำเร็จรูปที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีได้อย่างสนุกสนาน โดย Mark Pavlyukovskyy ผู้ก่อตั้งบริษัท Piper ได้บอกว่า เขามีไอเดียที่ต้องการให้เด็กได้รู้จักกับคอมพิวเตอร์ผ่านการประกอบชิ้นส่วนด้วยตนเองเหมือนกับตัวต่อ LEGO เด็กๆ จะได้รับแรงบันดาลใจให้รู้สึกว่า สร้างคอมพิวเตอร์เองไม่เห็นจะยากเลย แม้แต่เด็กๆ อย่างเราก็สร้างได้นะ
Piper Computer Kit เหมาะสำหรับเด็กอายุที่มีอายุ 8 ปีขึ้นไป แต่บอกเลยว่าผู้ใหญ่อย่างเราก็สนุกกับมันได้นะ การได้ต่อ ได้ประกอบให้ความรู้สึกที่ดีไม่แพ้การต่อกันพลาเลยล่ะ
เจ้า Piper Computer Kit นี่เป็นสินค้าขายดีมากในต่างประเทศนะครับ ได้รางวัล TECH TOY OF THE YEAR 2018 มาเป็นเครื่องการันตีว่าของเค้าดีจริง ซึ่งตอนนี้ทางไทยแวร์ก็มีนำเข้ามาจำหน่ายแล้วด้วยนะ อิอิ ใครอ่านรีวิวนี้แล้วอยากได้สามารถสั่งซื้อได้ ที่นี่ เลย จะซื้อไปเล่นกับลูก หรือซื้อไปเล่นเองก็ไม่ผิดแต่อย่างใด
เวลาเอากล่องออกจากซองจะมีลูกเล่นเก๋ๆ ด้วย
เมื่อเราเปิดกล่อง Piper Computer Kit ขึ้นมา เราจะเจอกับซองจดหมายที่ส่งมาจาก Poper Mission Control มีการจั่วหน้าซองด้วยว่า TOP SERCRET (ลับสุดยอด) เนื้อหาในจดหมายเล่าประมาณว่าตอนนี้โลกกำลังมีอันตรายจากการรุกรานของ UFO เราได้รับมอบหมายให้ประกอบอุปกรณ์เพื่อต่อต้าน UFO ด้วยเทคโนโลยีโบราณ เนื้อหาที่เหลือเราขอไม่เล่าต่อนะครับ เพราะมันเป็นความลับ บอกไม่ได้จริงๆ อิอิ
แอบให้ดูเนื้อหาในจดหมายสักเล็กน้อย หากเด็กที่เล่นไม่เข้าใจ พ่อแม่ก็อาจจะอ่านให้ฟังสักหน่อย จะได้ช่วยบิ้วให้เด็กๆ เกิดความสนใจ และสนุกมากขึ้น
ในกล่องจะมีชิ้นส่วนยุ่บยั่บเต็มกล่องไปหมด ซึ่งเราจะต้องทำการ "ประกอบ" มันให้สำเร็จ ซึ่งเขาก็มีแผนพังพิมพ์เขียว (ฺBlueprint) มาให้ด้วย แนะนำให้นั่งศึกษาแผ่นนี้ให้ดีก่อนเริ่มประกอบครับ ไม่งั้นอาจจะงงๆ ได้ สำหรับใครที่จะให้เด็กประกอบ แนะนำว่าควรอยู่ในความดูแลด้วยนะครับ เพราะมันมีชิ้นส่วนเล็กๆ ด้วยเหมือนกัน เผื่อเด็กๆ หิวตอนประกอบ เผลอเอาเข้าปากกินแย่เลย
ส่วนประกอบสำคัญจริงๆ มีแค่ตัว Rasberry Pi กับพวกสายไฟ หลอดไฟ เท่านั้นแหละครับ ส่วนเจ้าแผ่นไม้ฝั่งขวา เป็นแค่ "ชิ้นส่วน" กล่องที่เราต้องประกอบเท่านั้นเอง
ภาพจาก : https://www.playpiper.com/pages/piper-computer-kit
เห็นชิ้นส่วนเยอะแยะ ไม่ต้องกังวลไป ไม่ได้ประกอบยากอย่างที่คิด เด็กก็ประกอบได้ไม่ยาก ก่อนอื่นแนะนำให้เราลองศึกษาพิมพ์เขียว (Blueprint) ที่เขาให้มาก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจแนวทางการประกอบก่อน
ภาพจำลองน้อง 8 ขวบที่กำลังศึกษาพิมพ์เขียว
การประกอบให้ดูตามเลขบนพิมพ์เขียวครับ ประกอบไปตามลำดับจะค่อนข้างง่าย แนะนำให้แยกชิ้นส่วนออกมาก่อน บนแผ่นไม้จะมีตัวเลขกำกับอยู่แล้ว อย่างส่วน 1 ก็มีรหัสเป็น 1A 1B เป็นต้น
การประกอบจะคล้ายๆ กับการต่อ LEGO แค่เสียบลงให้ตรง "รู" เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ตะปู ใช้ค้อนในการประกอบแต่อย่างใด
หลังจากต่อส่วนแรกเสร็จก็มาต่อกันที่ส่วนสอง ในส่วนนี้จะมีความยากขึ้นมาเล็กน้อย คือ ต้องมีการขันน็อตเพื่อยึดชิ้นส่วนให้แน่นขึ้นด้วย โดยในกล่องจะมีให้มาครบทั้งสกรู น๊อต และไขควง ที่บนแผ่นไม้จะมีสัญลักษณ์บอกอย่างชัดเจนว่าต้องใช้สกรูที่ตรงไหน
Piper ออกแบบมาดีครับบนไม้จะมีร่องสำหรับใส่แหวนรองมาได้อย่างพอดิบพอดี เราแค่สอดน๊อตรองเข้าไป แล้วใส่สกรูหมุนเข้าไปเท่านั้น ไม่ต้องออกแรงมาก
ส่วนที่สามจะเป็นการต่อสายเข้ากับจอแสดงผล ก็จะมีการใช้สาย HDMi และสายจ่ายไฟครับ แค่สองเส้น ต่อง่ายๆ ตอนเชื่อมสายเข้ากับแผงวงจรก็เบามือนิดนึง ระวังขาที่ขั้วงอ หรือหัก
ส่วนที่ 4 ก็จะเป็นส่วนฐานของกล่อง ความยากเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยตรงที่เราจะต้องต่อบานพับด้วย ต่อเสร็จได้ทักษะงานไม้เพิ่มมาด้วยเลยล่ะ
ส่วนที่ 5 เป็นฝาปิด ก็ไม่มีอะไรต่อคล้ายๆ กับส่วนที่ 2 แค่ใหญ่กว่าหน่อย เอ้อลืมกำชับเรื่องหนึ่ง สกรูที่ใช้อย่าลืมดูเบอร์ให้ถูกด้วยนะครับ ในพิมพ์เขียวเขาจะมีระบุไว้ให้แล้ว โดยสกรูจะมีการแยกซองไว้ให้อย่างละเอียดละ
ที่ฝาเราต้องต่อขาพับด้วย จุดนี้ต้องใช้เหรียญช่วย ซึ่งในกล่องไม่มีมาให้นะครับ ก็เอาเหรียญบาทที่มีอยู่นี่แหละ เอามาใช้ได้เลย
หลังจากต่อฝากล่องเรียบร้อย ก็เอาส่วนหน้าจอมาประกอบรวมร่างกันซะ อย่าลืมเอาสายลอดออกมาตรงช่องที่เขาเซาะเอาไว้ให้แล้ว
ที่ล็อกกระเป๋าเป็นเพียงส่วนเดียวใน Piper ที่มีการใช้สกรูปลายแหลมที่มีความแหลมคม และต้องออกแรงเล็กน้อยในการยึดที่ล็อกเข้ากับฝา จุดนี้ผู้ใหญ่ก็ควรให้การดูแลเด็กๆ เป็นพิเศษ
นำฝาบนที่เราประกอบเสร็จเรียบร้อยมายึดกับฐานกล่อง ตอนนี้คอมพิวเตอร์ของเราก็เกือบที่จะเสร็จแล้วล่ะ ภูมิใจในตัวเองหน่อยเร็ว :)
นำชิ้นส่วนทั้งหมดมาประกอบลงกล่อง ก็จะออกมาดังภาพด้านล่างนี้ (ในภาพสาย USB ต่อผิดไปนิดนึง สาย USB จากหน้าจอต้องต่อเข้า Powerbank นะครับ ไม่ใช่ต่อเข้ากับ Rasberry Pi
มาถึงย่อหน้านี้ Piper ของเราก็พร้อมที่จะใช้งานแล้ว เย่
การเปิดเครื่อง Piper นั้นไม่มีสวิทช์อะไรนะครับ แค่กดเปิด Powerbank เครื่องก็จะบูททันที บูทเสร็จก็จะเจอหน้าตาประมาณนี้ เป็น Piper OS นะครับ (พัฒนามาจาก Linux นั่นแหละ)
ผมเองก็ไม่เคยเล่นพวก Linux มาก่อน มาลองเล่น Piper OS ครั้งแรก ก็เรียนรู้ไม่ยากนะครับ ใช้งานคล้ายๆ กับ Windows น่ะแหละ
เจ้ารูปราสเบอรี่ที่มุมซ้ายบน ก็เหมือนปุ่ม Start ใน Windows น่ะแหละ ลองคลิกขึ้นมาก็จะเห็นกับโปรแกรมที่เค้ามีให้มาพร้อมกับเครื่อง เราสามารถใช้ Piper ในการทำเอกสารผ่าน LibreOffice หรือจะเล่นเว็บก็มีเว็บเบราว์เซอร์ให้มาเสร็จสรรพ โดยสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านสายแลน หรือ Wi-Fi ก็ได้
ในส่วนของการเรียนรู้โปรแกรมจะมีอยู่ 2 ส่วนนะครับ คือ PIPERCODE กับ Minecraft Pi Edition
โดยในส่วนของ Minecraft Pi Edition นั้นเป็นโปรแกรมด้านการศึกษาที่ทาง Microsoft พัฒนาขึ้นมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับหัดเขียนโปรแกรม รูปแบบการเล่นจะคล้ายๆ กับ Minecraft Pocket Edition แต่จะมีการเชื่อมต่อกับการเขียนโปรแกรมได้ด้วย แต่เรื่องนี้เป็นจุดเด่นของ Minecraft ซึ่งไม่ใช่จุดเด่นของ Piper ดังนั้นเราจะไม่ลงลึกในส่วนนี้นะครับ เรามาสนุกกับ PIPERCODE กันดีกว่า
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=FQgBRfPAcSk&t=108s
ในชุดของ Piper นั้น เราจะได้รับสาย, หลอดไฟ LED และสวิทช์มาด้วย ซึ่งเจ้าอุปกรณ์พวกนี้นี่แหละ ที่เราจะมาใช้เล่นสนุกกันในโปรแกรม PIPERCODE
ตัว PIPERCODE เป็นการผสมผสานระหว่าง "ฮาร์ดแวร์" กับ "ซอฟต์แวร์" เข้าไว้ด้วยกัน เราต้องประกอบฮาร์ดแวร์ตามโจทย์ที่ให้มา เข้ากับตัว Rasberry Pi (อย่างในภาพเป็นการต่อวงจรไฟจราจร)
จากนั้นเราก็จะมาใส่คำสั่งให้วงจรที่เราประกอบทำงานกันบนซอฟต์แวร์บน Piper ซึ่งก็จะมีคำสั่งสำเร็จรูปให้มา เราต้องมาวิเคราะห์ว่า จะใช้คำสั่งแบบไหน เพื่อจะให้ได้คำตอบตามที่โจทย์ที่กำหนด ซึ่งเป็นการฝึกลำดับความคิด ฝึกตรรกะได้เป็นอย่างดี
ตอนที่ประกอบเสร็จ ใส่ Code ให้มันแล้ว มันก็จะมาสนุกตรงที่ได้เห็นผลลัพธ์นี่แหละ ถ้าผลออกมาได้ตรงกับความต้องการนี่จะฟินสุดๆ แต่ถ้าไม่ เราก็จะได้สนุกกับการแก้ปริศนาแทน ว่าต่ออะไรผิดตรงไหน หรือเราโปรแกรมคำสั่งผิดตรงไหน
ผมว่าความสนุกของ Piper Computer Kit อยู่ตรงที่เริ่มมามันเหมือนเป็นเกมส์พัซเซิลที่เราต้องไขมันให้สำเร็จก่อน จากนั้นเราถึงจะเริ่ม "เล่น" มันได้ ตัวซอฟต์แวร์มีการผสมผสานระหว่างภาพบนจอ กับฮาร์ดแวร์ (ชิ้นส่วนต่างๆ) ไปพร้อมกัน ทำให้เราอินกับมันมากขึ้น ซึ่งผมคิดว่านี่เป็นจุดที่สนุกที่สุด และสร้างประสบการณ์กระตุ้นให้เด็กสนใจในเทคโนโลยีได้เป็นอย่างมากเลยล่ะ
โดยรวมแล้ว Piper Computer Kit จัดเป็นของเล่นไฮเทคที่ได้ทั้งความสนุก และความรู้ ใครยังลังเลอยู่ก็ลองดูคลิปวิดีโอก่อนก็ได้ครับ ว่ามันเจ๋งขนาดไหน
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |