ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

IIoT เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะทำให้โลกธุรกิจหมุนไวกว่าที่เคย

IIoT เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะทำให้โลกธุรกิจหมุนไวกว่าที่เคย
ภาพจาก : https://www.freepik.com/free-vector/production-technologies-isometric-flowchart_6203190.htm
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 24,157
เขียนโดย :
0 IIoT+%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ก้าวสู่ยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ไปกับ
WPI - Intel IoT Solution Aggregator

รู้หรือไม่ครับว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว 3 ครั้ง แต่ละครั้งที่เกิดขึ้นมันได้เปลี่ยนแปลงวิธี และระบบการผลิตให้ดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นมาอย่างเทียบกันไม่ได้ 

ครั้งแรก (อุตสาหกรรม 1.0) เกิดขึ้นเมื่อเครื่องจักรไอน้ำได้ถือกำเนิดขึ้น และมันถูกนำมาช่วยในการผลิตสิ่งต่างๆ ครั้งที่สอง (อุตสาหกรรม 2.0) เกิดขึ้นในยุคของพลังงานไฟฟ้า มีการนำระบบสายพานเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต ทำให้มนุษย์สามารถผลิตสิ่งของได้จำนวนมากขึ้นโดยใช้เวลาน้อยลง ส่วนครั้งที่สาม (อุตสาหกรรม 3.0) หรือยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่นำระบบคอมพิวเตอร์, หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต ทุกครั้งที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้น มันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รวมไปถึงวิถีชีวิตของเราทุกคนด้วย

และในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) Klaus Schwab ประธานบริหารสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ได้กล่าวว่า “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4" (Industrial Revolution 4.0) กำลังเริ่มต้นขึ้นแล้ว 

IIoT เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะทำให้โลกธุรกิจหมุนไวกว่าที่เคย
ภาพจาก https://twitter.com/4IR_APPG/status/910900227837763586?s=20

อุตสาหกรรม 4.0 หรือ Industry 4.0 เป็นแนวทางของอุตสาหกรรมในอนาคต แต่ละประเทศก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป เช่น

  • สหรัฐ คือ Smart Manufacturing
  • ยุโรป คือ Factories of the Future (FoF)
  • เยอรมัน คือ Industry 4.0
  • ญี่ปุ่น คือ Industrial Value Chain Initiatives (IVI)
  • เกาหลีใต้ คือ Manufacturing Innovation 3.0
  • จีน คือ Made in China 2025: A New Era for Chinese Manufacturing
  • ไต้หวัน คือ Productivities 4.0

อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) กับ IIoT

อุตสาหกรรม 4.0 หมายถึง การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 มันมีความพิเศษที่แตกต่างจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมทั้งสามครั้งที่ผ่านมา ที่เป็นแค่การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตให้สูงขึ้น แต่อุตสาหกรรม 4.0 จะให้น้ำหนักความสำคัญไปที่การติดต่อสื่อสาร, ระบบอัตโนมัติ, Machine learning, การประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ จึงไม่น่าแปลกใจที่อุตสาหกรรม 4.0 บางครั้งจะถูกเรียกว่า IIoT (Industrial internet of things)

IIoT เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะทำให้โลกธุรกิจหมุนไวกว่าที่เคย
ภาพจาก https://www.controleng.com/articles/iiot-ready-technologies-improve-machine-controls/

ระบบนิเวศของ IIoT จะมีบทบาททำให้การบริหารงานของบริษัทเปลี่ยนแปลงไปจากทุกวันนี้อย่างสิ้นเชิง ทุกบริษัทมีระบบบริหารที่แตกต่างกันก็จริง แต่เรื่องท้าทายที่ทุกบริษัทต้องเผชิญก็ไม่มีความแตกต่างกัน การเชื่อมต่อ, การเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ตั้งแต่ในกระบวนการผลิต, การทำงานร่วมกับคู่ค้าทางธุรกิจ, ตัวผลิตภัณฑ์ และการบริหารคน

ทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งที่ IIoT จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรม 4.0

เทคโนโลยีในอุตสาหกรรม 4.0

ในภาพรวมอุตสาหกรรม 4.0 จะเป็นเทรนด์การเติบโตของระบบอัตโนมัติ การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกิดขึ้นในเทคโนโลยี และกระบวนการผลิตภายในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเกิดขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีดังต่อไปนี้

  • Internet of things (IoT)
  • Industrial internet of things (IIoT)
  • Cyber-physical systems (CPS)
  • Smart manufacture การผลิตอัจฉริยะ
  • Smart factories โรงงานอัจฉริยะ
  • Cloud computing ระบบคลาวด์
  • Cognitive computing แพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่รวมเอาระบบ Machine learning, หลักเหตุผล, Natural Language Processing, การสนทนา, การมองเห็น และการสื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน มาสร้างระบบจำลองการทำงานของสมองมนุษย์ เพื่อช่วยวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ให้มนุษย์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
  • Artificial intelligence ระบบปัญญาประดิษฐ์

ด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ การสร้างระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม 4.0 จะต้องมีการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูงไว้เพื่อสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูล, มีเซนเซอร์สำหรับตรวจจับข้อมูล เพื่อนำผลลัพธ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตไปวิเคราะห์ และตัดสินใจสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเองตามโจทย์ที่มนุษย์ได้กำหนดไว้

บริษัทที่ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 จะมี Big Data ในมือจำนวนมหาศาลที่สามารถนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อหาทางพัฒนาระบบการผลิต และบริการให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลที่ดีที่สุด ส่วนบริษัทที่ไม่ปรับตัวตามเทคโนโลยีก็ยากที่จะแข่งขันด้วยได้ เพราะหากคุณผลิตด้วยต้นทุนแพงกว่า ผลิตได้ช้ากว่า ตัวเลือกในการผลิตน้อยกว่า คุณจะเอาอะไรไปแข่งขันกับคู่แข่งได้ล่ะ ?

อยากใช้ IIoT ต้องเริ่มต้นอย่างไร ?

เทคโนโลยีไม่ว่าดีแค่ไหน แต่ถ้าเราไม่รู้จักมันดีพอ การจะนำมันมาปรับใช้กับธุรกิจของเราให้ได้เต็มประสิทธิภาพก็เป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรม 4.0 ที่ต้องใช้ IIoT ที่มีส่วนประกอบที่จำเป็นอยู่มากมายหลายพันแบบให้เลือกใช้ ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ การใช้บริการรวมระบบ System Integration (SI) จากผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

System Integrators (SIs) มีหน้าที่อะไร ?

องค์กรที่ให้บริการ System Integrators (SIs) จะเข้ามาช่วยตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน, การดำเนินการ, การประสานงาน, คัดเลือกฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้บริการ, การทดสอบระบบ และอาจรวมไปถึงบริการช่วยดูแลรักษาระบบในระยะยาวให้อีกด้วย

IIoT เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะทำให้โลกธุรกิจหมุนไวกว่าที่เคย
ภาพจาก https://www.i-scoop.eu/industry-4-0/

อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็น SIs ที่มีความเชี่ยวชาญในการเลือกโซลูชัน IIoT แต่การจะเลือกผลิตภัณฑ์ให้มีความพอเหมาะพอเจาะ ไม่สูงเกินความจำเป็น และได้ราคาที่เหมาะสมก็ยังคงเป็นเรื่องท้าทายที่ไม่ง่ายเลย แม้จะเป็นการแก้ปัญหาให้ลูกค้าที่ทำธุรกิจประเภทที่เคยมีประสบการณ์การวางระบบโซลูชันมาก่อน แต่ทางออกที่ดีที่สุดอาจไม่เหมือนเดิมเสมอไป

โดยธรรมชาติแล้ว มันมีความแตกต่างของกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว ร้านค้าอัจฉริยะ, เมืองอัจฉริยะ, โรงงานอัจฉริยะ ฯลฯ แนวทางการวางระบบ IIoT ของฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และฟังก์ชันการทำงาน มันมีความต้องการโซลูชันที่ลักษณะแตกต่างกัน ทำให้งานของ SIs มีความยากยิ่งขึ้นไปอีก เพื่อให้ SIs วางแผนสร้างโซลูชันได้สะดวกขึ้น จึงต้องอาศัยโมเดล Aggregator (ผู้รวบรวม) เข้ามาช่วยเหลือ

Aggregator มีหน้าที่อะไร ?

Aggregator ทำหน้าที่ตามความหมายของมันเลย นั่นคือ "ผู้รวบรวม" วงการนี้มีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่ง Aggregator จะเป็นผู้รวบรวมผู้ผลิตเหล่านั้นไว้ด้วยกัน ยิ่ง Aggregator สามารถหาพันธมิตรผู้ผลิตมาจีบมือกันได้เยอะมากเท่าไหร่ เขาก็จะมีตัวเลือกให้ SIs มากขึ้นเท่านั้น

WPI Group เป็นหนึ่งใน Aggregator รายใหญ่ของโลก มีแบรนด์ระดับสากลตกลงเป็นพันธมิตรมากกว่า 60 แบรนด์จากทั่วทุกมุมโลก อย่างเช่น Intel, ams, Broadcom, CREE, Fingerprints, KIOXIA, Micron, Molex, Nanya, Nexperia, NXP, OmniVision, ON Semiconductor, TI, TOSHIBA, UNISOC, Vishay, Western Digital, Winbond ฯลฯ ทำให้ WPI Group สามารถนำเสนอส่วนประกอบที่จำเป็นให้แก่ลูกค้าได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย

โซลูชันของ WPI Group และ Intel

ความน่าสนใจของ WPI Group อยู่ที่การที่ได้เป็นพันธมิตรร่วมกับ Intel ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จำนวนมากเลือกใช้ชิปจาก Intel เป็นหัวใจในการประมวลผล และนักพัฒนาส่วนใหญ่ก็พัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ดีกับชิปของ Intel อยู่แล้วด้วย

Dennis Niu รองประธานฝ่ายโซลูชัน IoT ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก WPI Group เผยว่าพวกเขาใช้ความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับ Intel Market Ready Solutions และ Intel RFP Ready Kits เพื่อช่วยให้ SIs ระบุได้ว่ามีตัวเลือกอะไรให้ใช้งานบ้าง รวมไปถึงให้บริการข้อมูลเพิ่มเติมในสิ่งที่ SIs อาจจะยังไม่เข้าใจอย่างชัดเจน

IIoT เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะทำให้โลกธุรกิจหมุนไวกว่าที่เคย

เราช่วยให้พวกเขา (SIs) รู้ว่า พวกเขาสามารถปรับแต่งแก้ไขโซลูชันต่างๆ ได้อย่างอิสระ และยังสามารถทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ ไม่ว่าจะเป็น ODMs (Original Design Manufactuere), OEMs (Origianl Equipment Manufacturer) หรือแม้แต่ ISVs (Independent Software Vendor) เพื่อนำส่วนประกอบจากผู้ผลิตรายต่างๆ มาประกอบรวมไว้ด้วยกัน

IIoT เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะทำให้โลกธุรกิจหมุนไวกว่าที่เคย
ภาพจาก https://www.insight.tech/retail/how-system-integrators-find-new-opportunities

กรณีศึกษาที่น่าสนใจของการใช้บริการจาก WPI

บริษัท Giada หรือที่รู้จักอีกชื่อว่า Shenzhen ASL Intelligent Systems Ltd เป็นหนึ่งในลูกค้าของ WPI และ Intel Market Ready Solution โดยทาง Giada มองหาโซลูชัน Artificial intelligence (AI) ที่สามารถจดจำใบหน้าได้ (Facial recognition) เพื่อนำมาใช้กับระบบ Digital Signage Management System ที่มีอยู่

ทาง WPI ได้พิจารณาทางเลือกที่เป็นไปได้ และเสนอให้ทาง Giada ทำงานร่วมกับ Gorilla Technology ซึ่งเป็นบริษัทที่อยู่ใน Intel Market Ready Solution เช่นเดียวกัน โดยสิ่งที่ Gorilla Technology มีอยู่ คือ โซลูชัน Intelligent Video Analytics Recorder (IVAR) ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของ Giada ได้

IIoT เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะทำให้โลกธุรกิจหมุนไวกว่าที่เคย
ภาพจาก https://marketplace.intel.com/s/offering/a5b3b000000TcgHAAS/intelligent-video-analytics-recorder-ivar?

IVAR มีความสามารถหลายอย่าง มีระบบตรวจจับ และจดจำใบหน้า, ตรวจจับ และวิเคราะห์ยานพาหนะ, วิเคราะห์พฤติกรรม และสรุปภาพรวมของข้อมูลทางธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ทาง Giada ไม่จำเป็นต้องใช้งานคุณสมบัติการตรวจจับยานพาหนะ และวิเคราะห์พฤติกรรม เขาต้องการแค่เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพศ และอายุได้เท่านั้น

ทาง WPI ก็เลยช่วยประสานงานกับทาง Gorilla Technology เพื่อทำการปรับแต่งโซลูชันให้เหลือแค่เทคโนโลยีจดจำใบหน้าตามที่ทาง Giada ต้องการ อาจจะฟังดูง่ายๆ แต่เบื้องหลังมันมีขั้นตอนที่มากกว่านั้น เพราะการจะให้โซลูชันของทั้งสองบริษัทให้ทำงานร่วมกันได้สมบูรณ์ มันต้องมีการปรับแต่งอย่างละเอียด โดย WPI ได้ช่วยดำเนินการให้ทาง Gorilla ได้รับตัว IPC media player ของ Giada ส่วนทาง Giada เองก็ได้รับซอฟต์แวร์ของ Gorilla ไปด้วยเช่นกัน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้ทำการทดสอบระบบร่วมกัน มันเป็นวิธีที่ให้ผลลัพธ์ดีกว่าการบอก แค่สเปค และความต้องการ แล้วค่อยมาลุ้นผลลัพธ์เอาว่ามันจะออกมาดีหรือเปล่า 

Intel OpenVINO Toolkit เครื่องมือสำคัญที่ช่วยประสานความสัมพันธ์

การจะผสมผสานโซลูชันที่ถูกพัฒนาขึ้นจากบริษัทคนละแห่ง คงเป็นเรื่องวุ่นวายมาก หากต่างฝ่ายต่างใช้เครื่องมือในการพัฒนาแบบตัวใครตัวมัน

เพื่อให้มาตรฐานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน Intel จึงได้พัฒนา Intel OpenVINO Toolkit ขึ้นมา ซึ่งทาง WPI ที่เป็นพันธมิตรกับผู้ผลิตจำนวนมากทั้ง OEMs และ ODMs ก็คอยให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำการใช้งาน OpenVINO Toolkit แก่ผู้ผลิตเหล่านั้น เพื่อให้พวกเขาสามารถนำมันไปเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่โซลูชันที่มีอยู่ในมือได้

OpenVINO toolkit (Open Visual Inference and Neural network Optimization) เป็นเครื่องมือพัฒนาที่สามารถใช้งานได้ฟรี มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบ Deep learning ตั้งแต่ระดับ Framework ไปถึงระดับขั้นตอนการติดตั้ง Toolkit นี้จะมีอยู่ 2 เวอร์ชัน คือ

  1. OpenVINO toolkit ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม Open source community
  2. Intel Distribution of OpenVINO toolkit ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Intel

ทั้งคู่ทำงานแบบข้ามแพลตฟอร์ม และใช้งานได้ฟรีภายใต้เงื่อนไข Apache License version 2.0 

ลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของ WPI Group

สำหรับเจ้าของธุรกิจ หรือโรงงาน ที่มีความสนใจ ต้องการนำระบบ IIoT ไปใช้งาน หรือต้องการคำปรึกษา สามารถลงทะเบียนเพื่อติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3gvuQPU


ที่มา : www.insight.tech , en.wikipedia.org , www.twi-global.com , www.allaroundplastics.com , www.predictiveanalyticstoday.com , en.wikipedia.org , www.nstda.or.th , www.gartner.com , www.wpgholdings.com

 
0 IIoT+%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ