ฟอนต์ (Font) จริง ๆ มีที่มาจากคำว่า Fount ตามธรรมเนียมหลักสะกดคำในภาษาอังกฤษแบบบริติช แต่การออกเสียงจะอ่านว่า "Fɒnt" (fonte) จากภาษาฝรั่งเศสกลาง ที่หมายถึงกระบวนการหลอมเหล็กลงในพิมพ์หล่อเทคโนโลยีในการพิมพ์สมัยก่อน จะใช้เหล็กที่หลอมเป็นตัวอักษร (Font) แล้วนำมาเรียงเป็นคำ ก่อนนำไปฉาบหมึกเพื่อกดลงไปบนกระดาษ แม้แต่ ฟอนต์ Helvatica ก็เกิดมาตั้งแต่ยุคนี้เช่นกัน
ภาพจาก https://www.pikist.com/free-photo-swvdu
ฟอนต์บนโลกนี้มีอยู่เป็นจำนวนมากยากที่จะนับว่ามีจำนวนทั้งหมดเท่าไหร่ เพราะนักออกแบบก็มีการรังสรรค์ฟอนต์หน้าตาใหม่ออกมาเรื่อย ๆ ในประเทศไทยเอง ก็มีนักออกแบบฟอนต์มือดีอยู่มากมาย บางฟอนต์ก็แจกฟรี บางฟอนต์ก็วางจำหน่าย แล้วแต่เจตจำนงของผู้ออกแบบ
หากพูดถึงฟอนต์ไทยที่มีติดเครื่องคอมพิวเตอร์กันมากที่สุด ก็ต้องพูดถึงฟอนต์ที่มีติดตั้งมาให้เลยพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows เช่น Angsana, Browallia, Cordia, Dillenia, Eucrosia, Freesia, Iris, Jasmine, Kodchiang, Leelawadee และ Lily (คุณผู้อ่านคงสังเกตพบแล้วว่า Microsoft ตั้งชื่อฟอนต์ตามชื่อของดอกไม้)
และฟอนต์เหล่านี้ ทาง Microsoft เอง ก็ค่อนข้างให้อิสระในการนำไปใช้งาน โดยเราสามารถนำไปใช้พิมพ์หนังสือ สร้าง โลโก้ ได้อย่างไม่มีปัญหา ถ้าเราไม่ได้ใช้ Windows เวอร์ชัน Home หรือ Student แต่กับงานบางอย่างก็ไม่ได้รับอนุญาตนะ เช่น นำไปใช้เป็นฟอนต์ภายในเกม, แอปพลิเคชัน หรือในอุปกรณ์อื่น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://docs.microsoft.com/en-us/typography/fonts/font-faq)
จากเหตุผลดังกล่าวทำให้ในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) ทาง กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) ได้จัดประกวดออกแบบฟอนต์ภาษาไทยขึ้นมา โดยให้เหตุผลว่า
ปัจจุบัน ส่วนราชการมีการใช้ฟอนต์อย่างหลากหลาย ไม่มีมาตรฐานในเอกสารทางราชการ อีกทั้งการใช้มาตรฐานฟอนต์ของบริษัทเอกชนที่ผูกขาดลิขสิทธิ์ อาจมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ได้
ในส่วนนี้เราลองมาดูฟอนต์ 13 รูปแบบที่ได้ชนะเลิศ และได้ถูกบรรจุเป็นฟอนต์แห่งชาติ และถูกมาใช้เป็น ฟอนต์ราชการ ที่รองรับการทำงานบนระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows, macOS และ โครงการซอฟต์แวร์เปิดเผยซอร์สโค้ด (Open-Source Software Project) อย่าง THAI OS Ubuntu ประกอบไปด้วย
ภายหลังฟอนต์ TH Sarabun PSK ได้มีการออกเวอร์ชันปรับปรุง และเปลี่ยนชื่อเป็นฟอนต์ TH Sarabun New โดยฟอนต์นี้ถูกนำไปใช้เป็นฟอนต์ราชการ ที่ใช้ในการออกหนังสือเกี่ยวกับราชการทั้งหมด
ฟอนต์ TH Srisakdi เป็นฟอนต์ที่ให้อักษรไทยเป็นลายมืออาลักษณ์วังหลวงสมัยธนบุรี-ต้นรัตนโกสินทร์ ให้เอกลักษณ์ความเป็นไทยโบราณได้เป็นอย่างดี
ฟอนต์ TH Mail Grade 6 เป็นรูปแบบลายมือแบบเด็กหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ป.6) ซึ่งผู้สร้างสรรค์สมมุติชื่อให้ว่า "เด็กหญิงมะลิ"
เปิดเว็บเบราว์เซอร์ที่ใช้งานอยู่ไปที่ URL : https://oer.learn.in.th/search_detail/result/220410#oer_data
ตรงหัวข้อไฟล์ดิจิทัล ให้คลิกที่ - ดาวน์โหลด 1 เพื่อทำการดาวน์โหลด เราจะได้ไฟล์ที่ชื่อว่า 13-Thai-Fonts.zip มา
คลิกขวาที่ไฟล์ 13-Thai-Fonts.zip ที่เราดาวน์โหลดมา เลือก Extract All...
เมื่อแตกไฟล์เสร็จแล้ว เราจะได้ "โฟลเดอร์ 13-Thai-Fonts" มา ซึ่งในนั้นก็จะมี "โฟลเดอร์ Fonts" ซ้อนอยู่อีกที (ไม่รู้ว่าเพื่ออะไร) ให้คลิกเข้าไปใน "โฟลเดอร์ Fonts" เราจะเห็นไฟล์ฟอนต์ที่เป็น "นามสกุล .TTF" อยู่ โดยจะมีทั้งหมด 50 ไฟล์นะครับ
และหลังจากนั้นให้เรากด "ปุ่ม Ctrl+A" (บนแป้นคีย์บอร์ด) เพื่อทำการเลือกไฟล์ทั้งหมด จากนั้นให้คลิกขวาแล้วเลือก Install หรือ Install for all users หากว่าเรามีผู้ใช้หลายคน และต้องการให้ทุกคนสามารถใช้งานฟอนต์เหล่านี้ได้
จะมีแถบการติดตั้งฟอนต์ปรากฏขึ้นมา ก็รอสักครู่ เท่านี้ก็เรียบร้อยพร้อมใช้งานแล้วครับ ...
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |