ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
ภาพจาก : https://flic.kr/p/hPm3q7
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 23,582
เขียนโดย :
0 %E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B9%8C+%28Floppy+Disk%29+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B9%8C+%28Diskette%29
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ย้อนอดีต ความเป็นมาของแผ่น Floppy Disk

ก่อนที่เราจะมีแผ่น CD, DVD หรือ USB Flash Drive ที่ใช้งานกันอย่างในปัจจุบันนี้ สื่อบันทึกข้อมูลแบบที่พกพาได้ในอดีตที่เป็นที่นิยมสุด ๆ คือ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรืออีกชื่อจะเรียกว่า แผ่นดิสเกตต์ (Diskette) เราไม่รู้ว่ามีคุณผู้อ่านท่านไหนเกิดทันใช้งานมันหรือเปล่า ?

ย้อนกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว (ถ้าเริ่มต้นนับจากปี ค.ศ. 2021 (พ.ศ. 2564)) ในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) บริษัท IBM ได้เปิดตัวเทคโนโลยี Floppy Disk เข้าสู่ท้องตลาดเป็นครั้งแรก ในชื่อว่า IBM 23FD มันเป็นแผ่นพลาสติก ที่มีรูวงกลมตรงกลาง เทคโนโลยีนี้ได้รับบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นสื่อบันทึกข้อมูลแบบแม่เหล็ก (Magnetic Storage) ที่ใช้ในการวางจำหน่ายซอฟต์แวร์เป็นเวลายาวนานถึง 20 ปี เลยทีเดียว มาย้อนอดีตกันหน่อยดีกว่า ว่าทำไมแผ่น Floppy Disk ถึงยืนระยะได้นานขนาดนั้น

เนื้อหาภายในบทความ

จุดกำเนิดของแผ่น Floppy Disk

ก่อนที่จะมีแผ่น Floppy Disk นั้น ก็มีหน่วยความจำหลายชนิดที่ถูกพัฒนาขึ้นมา ซึ่งเราขออนุญาตไม่ย้อนกลับนะว่ามีกี่ตัว ตัวไหนบ้าง เดี๋ยวมันจะยาว ออกทะเลเกินไป

ในช่วงปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) IBM ได้เริ่มจำหน่ายเครื่องเมนเฟรม (คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในองค์กรเพื่อประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก) ที่ใช้หน่วยความจำแบบ Magnetic core มันเป็นหน่วยความจำที่สามารถบันทึกข้อมูลเก็บเอาไว้ได้แม้ว่าผู้ใช้จะปิดเครื่องลงไปแล้ว (เครื่องยุคแรกข้อมูลจะหายเมื่อปิดเครื่อง) อย่างไรก็ตาม ในการติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมลงไปในระบบยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก วิธีที่สะดวกที่สุดในยุคนั้น คือ การใช้บัตรเจาะรู (Punched Card) หรือไม่ก็ เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) แต่ไม่ว่าจะตัวเลือกไหนมันก็ยังยุ่งยากอยู่ดี

Punched Card หนึ่งแผ่นเก็บข้อมูลได้แค่ประมาณ 100 Bytes (0.0001 MB) เท่านั้น พูดง่าย ๆ ว่าต้องใช้ Punched Card จำนวนมากถึง 1,000 แผ่น เพื่อเก็บข้อมูลขนาดเพียง 1 MB. เท่านั้น ถึงขนาดของซอฟต์แวร์ในยุคนั้น จะไม่ได้ใหญ่มาก แต่ลองนึกภาพตามมันก็ไม่ง่ายเลยใช่ไหมล่ะครับ สำหรับการติดตั้งซอฟต์แวร์ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนั้น

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
หน่วยความจำแบบ Punched card
ภาพจาก : https://www.backblaze.com/blog/history-removable-computer-storage/

ปัญหาดังกล่าวนำไปสู่การวิจัยคิดค้นเทคโนโลยีตัวใหม่ที่สามารถบันทึกข้อมูลเก็บเอาไว้ได้ และต้องมีความสะดวกในการพกพาไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้อีกด้วย

ในที่สุด เมื่อเข้าสู่ปี ค.ศ. 1967 (พ.ศ. 2510) ทีมวิศวกรของ IBM นำโดย David L. Noble ได้นำแผ่นพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นมาเคลือบพื้นผิวด้วย Iron Oxide ทำให้สามารถบรรจุประจุแม่เหล็กเอาไว้ได้ ทำงานเหมือนกับเทคโนโลยีก่อนหน้าอย่าง Magnetic Tape และเพื่อเพิ่มความทนทาน แผ่นพลาสติกดังกล่าวจึงถูกประกบเอาไว้ภายในเคสพลาสติกแข็ง ที่มีผ้าบุอยู่ภายใน เพื่อให้เวลาที่จานพลาสติกหมุน จะเป็นการเช็ดฝุ่นที่อาจเกาะอยู่บนพื้นผิวของแผ่นข้อมูลไปด้วยในตัว

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
ภาพจาก : https://swiftheadline.com/50-years-of-the-floppy-Disk /

สื่อบันทึกข้อมูลแบบใหม่นี้ IBM ได้วางจำหน่ายโดยตั้งชื่อว่า "23FD Floppy Disk Drive System" มันมีขนาด 8 นิ้ว บันทึกข้อมูลได้ 80 กิโลไบต์ (Kilobytes) (ในยุคนั้นถือว่าเยอะมากๆ แล้ว) แต่มันก็ยังมีข้อจำกัดตรงที่ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลในแผ่นได้อย่างเดียว ยังไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปได้ อย่างไรก็ตาม มันก็ทำให้การนำซอฟต์แวร์ไปติดตั้งลงในเครื่องคอมพิวเตอร์สะดวกสบายกว่าเดิมมาก

ความจริง ในช่วงแรก IBM ก็ยังไม่ได้เรียกมันว่า Floppy Disk หรอกนะ แต่เรียกว่า "Magnetic Recording Disk " หรือ "Magnetic Disk Cartridge" แต่ที่เปลี่ยนมาเรียกว่า "Floppy Disk" ก็เพราะว่า ตัวแผ่นพลาสติกที่ใช้เก็บข้อมูลมันมีความยืดหยุ่น ไม่ได้แข็งเหมือนกับ Harddisk ที่เป็นจานแม่เหล็ก (Floppy แปลว่ายวบยาบ ส่วน Hard แปลว่าแข็ง)

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette) ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)

ภาพจาก : https://twitter.com/txgx42/status/1132457705971568641

ในปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ. 2516) IBM ได้เปิดตัวแผ่น Floppy Disk รุ่นใหม่ ขนาด 8 นิ้ว มันมาพร้อมกับชื่อใหม่ว่า "IBM Diskette" โดยคำว่า "Diskette" นี้มีความหมายว่า "ดิสก์ขนาดเล็ก" และมันยังสามารถอ้างอิงถึงความสัมพันธ์กับฮาร์ดดิสก์ในฐานะที่เป็นไดร์ฟรองได้อีกด้วย 

โดย IBM Diskette มาพร้อมกับ 33FD floppy drive ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเขียนข้อมูลลงในแผ่นได้ด้วย ไม่ได้จำกัดแค่การอ่านเหมือนรุ่นก่อนหน้านี้

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
ภาพจาก : https://swiftheadline.com/50-years-of-the-floppy-Disk /

การมาของเทคโนโลยีแผ่น Floppy Disk ได้ทำลายกำแพงการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ให้เข้าสู่ยุคใหม่อย่างสิ้นเชิง เพราะแผ่น Floppy Disk เพียง 1 แผ่น ก็เทียบเท่ากับแผ่น Punched Cards ถึง 3,000 แผ่นเลยทีเดียว หากเทียบกับกองแผ่น Punched Cards ที่หนาเตอะแล้ว แผ่น Floppy Disk ยังมีคุณสมบัติที่บาง, เบา, ราคาไม่แพง แถมยังเขียนข้อมูลซ้ำได้อีกด้วย ในที่สุดเทคโนโลยีนี้ ที่เดิมอยู่แค่ในคอมพิวเตอร์ของ IBM ได้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ที่ทุกค่ายเลือกใช้งาน

จากคอมพิวเตอร์เมมเฟรม สู่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

เริ่มแรก เทคโนโลยีแผ่น Floppy Disk สร้างขึ้นมาใช้งานในคอมพิวเตอร์เมมเฟรม (Mainframe Computer) แต่ในช่วงเวลาถัดมาเทคโนโลยีนี้ได้กลายเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) ในช่วงยุค ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) เป็นอย่างมาก

ในช่วงเริ่มต้น แผ่น Diskette มีขนาด 8 นิ้ว และราคาค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะใช้ Paper Tape หรือ Cassette Drives ในการเก็บข้อมูลอยู่มากกว่า

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
ภาพ Cassette drives
ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/เครื่องแถบแม่เหล็ก

จนกระทั่งปี ค.ศ. 1976 (พ.ศ. 2519) Shugart Associates ผู้ผลิตอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ได้คิดค้นแผ่น Floppy Drive รุ่นใหม่ ชื่อว่า Minifloppy มีขนาด 5.25 นิ้ว มันมีขนาดเล็กลง และราคาของแผ่น และไดร์ฟอ่านที่ราคาถูกลงอีกกว่าเดิมอีกด้วย

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
ภาพจาก : https://deramp.com/swtpc.com/SA400/SA400_Index.htm

ในที่สุด เมื่อเข้าสู่ยุค '80 (พ.ศ. 2523 เป็นต้นไป) เทคโนโลยี Floppy Disk ก็กลายเป็นมาตรฐานหลักของสื่อเก็บข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย

มาตรฐานของแผ่น Floppy Disk

เทคโนโลยี Floppy Disk ยืนอายุนานกว่าหลายทศวรรธ จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ผลิตจะมีการสรรสร้างแผ่น Floppy Disk ออกมาหลายรูปแบบ หลากมาตรฐาน จะมีรุ่นไหนที่น่าจดจำกันบ้าง มาลองดูกันสักหน่อยดีกว่า

Magnetic Disk Cartridge (ปี ค.ศ. 1971 หรือ พ.ศ. 2514)

มีขนาด 8 นิ้ว เปิดตัวเป็นครั้งแรกโดย IBM เก็บข้อมูลได้ 80 KB. ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลในแผ่นได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลลงในแผ่นได้

IBM Diskette (ปี ค.ศ. 1973 หรือ พ.ศ. 2516)

ยังคงมีขนาด 8 นิ้ว เช่นกัน ทาง IBM พัฒนาสืบทอดต่อจาก Magnetic Disk Cartridge รุ่นแรกที่เปิดตัวสามารถบันทึกข้อมูลได้ 250 KB. แต่ในภายหลังสามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 1.2 MB.

Minifloppy (ปี ค.ศ. 1976 หรือ พ.ศ. 2519)

มีขนาด 5.25 นิ้ว พัฒนาขึ้นมาโดย Shugart Associates แผ่นในยุคแรกเก็บข้อมูลได้เพียง 88 KB. แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1982 (พ.ศ. 2525) ได้ออกรุ่นใหม่ เก็บข้อมูลได้มากถึง 1.2 MB.

Compact Floppy (ปี ค.ศ. 1982 หรือ พ.ศ. 2525)

เป็นผลกงานที่เกิดจากความร่วมมือของบริษัทยักษ์ใหญ่สามแห่ง ประกอบไปด้วย Maxell, Hitachi, และ Matsushita บันทึกข้อมูลได้ 125 KB. แต่ภายหลังได้เพิ่มเป็น 720 KB. แผ่น Floppy Disk ชนิดนี้ มีให้ใช้งานในเครื่อง Word Processors และ Amstrad Computers

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
ภาพจาก : https://www.cpcwiki.eu/index.php/File:BLANK8.JPG

Apple FileWare (ปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526))

แผ่น Floppy Disk ขนาด 5.25 นิ้ว ที่มีให้ใช้แค่ในคอมพิวเตอร์รุ่น Apple Lisa เท่านั้น เก็บข้อมูลได้ 871 KB. (หรือ 0.871 MB.)

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
ภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Apple_FileWare

Micro Diskette, Micro Disk , หรือ Micro floppy (ปี ค.ศ. 1983 หรือ พ.ศ. 2526)

เป็นแผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แผ่น Floppy Disk ชนิดนี้ น่าจะแผ่นที่ทุกคนคุ้นเคยมากที่สุด และหากใครเคยใช้ ส่วนใหญ่ก็น่าจะได้ใช้งานกับแผ่นรุ่นนี้นี่แหละ โดยบริษัท Sony เป็นผู้ผลิตรายแรกที่ออกแบบแผ่นดีไซน์นี้ขึ้นมา และภายหลังบริษัทอื่น ๆ ก็หันมาใช้งานมาตรฐานนี้ด้วยเช่นกัน ในเวอร์ชันแรก แผ่นเก็บข้อมูลได้ 360 KB. ต่อมาได้พัฒนาให้อ่านข้อมูลได้สองด้าน ทำให้พื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 720 KB. และเวอร์ชันสุดท้ายที่เปิดตัวในภายหลังได้เพิ่มความจุในการเก็บข้อมูลเป็น 1.44 MB. และ 2 MB.

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
ภาพจาก : https://www.mirror.co.uk/tech/remember-floppy-Disk s-heres-what-7961687

Video Floppy ​​​​​(ปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532))

เป็นแผ่นดิสก์ขนาดเล็กเพียง 2 นิ้ว ที่ Sony และ Panasonic ร่วมกันพัฒนาขึ้นมา สำหรับใช้ในเครื่อง Word Processors และกล้องวิดีโอ แผ่นของ Sony จะเก็บข้อมูลได้ 812 KB. ส่วน Panasonic จะเก็บข้อมูลได้ 720 KB.

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
ภาพจาก : https://www.worthpoint.com/worthopedia/lt-floppy-Disk s-panasonic-fuji-qty-1792495260

Floptical (ปี ค.ศ. 1991 หรือ พ.ศ. 2534)

แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ที่มีความจุสูงมาก พัฒนาโดย Insite Peripherals มาพร้อมกับความจุที่มากถึง 21 MB. ภายหลังมีบริษัทอื่นให้ความสนใจ พัฒนาเวอร์ชันของตนเองบ้าง อย่าง Sony สร้างขึ้นมาในชื่อ Sony HiFD สามารถบันทึกข้อมูลได้ถึง 250 MB. กันเลยทีเดียว แต่น่าเสียดายที่เทคโนโลยีนี้มาช้าไป เพราะโลกได้เข้าสู่ยุคของ CD-ROM แทนแล้ว

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
ภาพจาก : https://www.fileformat.info/media/floptical/zoom-photo.htm

Zip Disk  (ปี ค.ศ. 1995 หรือ พ.ศ. 2538)

เป็นดิสก์จากบริษัท Lomega เคยได้รับความนิยมในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่ปี โดยรุ่นสุดท้ายเก็บข้อมูลได้มากถึง 750 MB. กันเลยทีเดียว

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
ภาพจาก : https://lowendmac.com/2015/low-end-macs-compleat-guide-to-zip-drive-and-Disk s/

SuperDisk  (ปี ค.ศ. 1996 หรือ พ.ศ. 2539)

มาตรฐานสุดท้ายของแผ่นดิสก์แบบ 3.5 นิ้ว พัฒนาโดย Imation ถูกพัฒนาให้พื้นที่เก็บข้อมูลมีความหนาแน่นมากขึ้น สามารถบรรจุข้อมูลได้มากถึง 120 MB. และภายหลังเมื่อมีการนำเทคนิค Laser-Tracking มาใช้ด้วย ก็เพิ่มความจุเป็น 240 MB. ข้อดีอีกอย่างของมัน คือ ตัวไดร์ฟสามารถอ่านแผ่นดิสก์ 3.5 นิ้ว แบบเดิมได้ด้วย

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)
ภาพจาก : https://applerescueofdenver.com/products-page/g3/imation-superDisk -drive/

ไอคอนบันทึกงาน มรดกสุดท้ายที่ Floppy Disk ทิ้งไว้

ด้วยความที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้งาน แผ่น Floppy Disk ในการบันทึกงานในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์เริ่มออกแบบหน้าจอผู้ใช้งานแบบกราฟิก หรือ GUI (Graphical User Interface) ซึ่ง "ปุ่มบันทึกงาน" ก็เลยนิยมออกแบบเป็นรูปแผ่น Floppy Disk ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังนิยมใช้งานกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติความเป็นมาของ แผ่นฟลอปปีดิสก์ (Floppy Disk) หรือ แผ่นดิสเกตต์ (Diskette)

จุดจบของ Floppy Disk

หลังจากที่ไดร์ฟ CD-ROM ได้เปิดตัวในช่วงปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) และได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเมื่อเข้าสู่ยุค ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533) แล้วก็ยังมีคู่แข่งเป็น Zip Disk s, CD-R และ USB Drive เปิดตัวออกมาอีก ทำให้ในช่วงของยุค 90 ทำให้ความนิยมของแผ่น Floppy Disk เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ แต่สุดท้ายมันก็ยังยื้อมาได้เรื่อย ๆ จนถึงช่วงปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543)

ทาง Apple จัดว่าเป็นผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์รายแรก ที่ได้ตัดสินใจตัดไดร์ฟ Floppy Disk ออกจาก iMac ที่เปิดตัวในปี ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) และคอมพิวเตอร์ในยุคหลัง ๆ ก็เลยตัดออกตามไปบ้าง

ในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) บริษัท Sony เป็นผู้ผลิตรายสุดท้ายที่ยุติการผลิตแผ่น Floppy Disk อย่างเป็นทางการ เนื่องจากความต้องการมีความลดลงเป็นอย่างมาก

แม้ทุกวันนี้จะไม่มีใครใช้แผ่น Floppy Disk แล้วก็ตาม แต่ก็มีเรื่องน่าสนใจอยู่นะ อย่างในปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) มีข่าวว่าระบบอาวุธนิวเคลียร์ ยังคงใช้แผ่นดิสก์แบบ 8 นิ้ว ในการสั่งงานอยู่เลย หรือในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) เครื่องบิน Boeing 747 พบข้อผิดพลาด (Bug) ร้ายแรงที่ต้องอัปเดตซอฟต์แวร์ ที่น่าทึ่งคือ การอัปเดตนั้นต้องโหลดข้อมูลผ่านแผ่น Floppy Disk 3.5 นิ้ว 


ที่มา : en.wikipedia.org , www.ibm.com , www.hpe.com , www.backblaze.com , www.howtogeek.com , en.wikipedia.org , history-computer.com , th.wikipedia.org , retrocomputing.stackexchange.com , swiftheadline.com , en.wikipedia.org

 
0 %E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87+%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B9%8C+%28Floppy+Disk%29+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD+%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B9%8C+%28Diskette%29
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ