เมื่อเราพูดถึงเตาอบ เราก็จะคิดถึงบรรดาขนมอบ และอาหารที่ต้องใช้การอบทั้งหลายเป็นอย่างแรก เช่น คุกกี้, บราวนี่, ขนมไข่, ครัวซองต์ เป็นต้น โดยปกติแล้ว ถ้าคุณคุ้นชินกับเตาอบรุ่นเก่า ก็มักจะคิดว่า อาหารที่ทำด้วยเตาอบ มักจะเป็นแบบแห้ง ๆ แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทำให้เตาอบแบบธรรมดา กลายเป็นเตาอบไอน้ำไฟฟ้า ที่สามารถใช้งานในรูปแบบอื่นได้ด้วย เช่น ละลายอาหารแช่แข็งโดยไม่ทำให้เสียรสชาติ
แน่นอนว่าเตาอบไอน้ำไฟฟ้า SMARTHOME Beyond รุ่น SM-OV1300 ที่เรากำลังจะนำมารีวิวกัน ก็สามารถทำได้ทุกอย่างที่ว่ามาข้างต้น ในราคาที่คุณเข้าถึงได้ง่าย แต่มีฟีเจอร์ครบครัน พร้อมทั้งนำมาเปรียบเทียบกับเตาอบพรีเมียมสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง BALMUDA ที่มักถูกนำมาเป็นต้นแบบเปรียบเทียบกับเตาอบรุ่นอื่น ๆ ซึ่งเตาอบที่ว่าจะประกอบอาหารอะไรได้บ้าง และมีดีแค่ไหน ไปอ่านต่อกันได้เลย
แวะทำความรู้จักกันสั้น ๆ ก่อนเล็กน้อยสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่า เตาอบไอน้ำไฟฟ้า ต่างกับ เตาอบไฟฟ้าทั่วไปอย่างไร อย่างที่คุณเห็นจากชื่อเลย นั่นก็คือ เตาอบไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป จะไม่มีส่วนที่เป็นช่องใส่น้ำ เพื่อให้เกิดความชื้นในเตา ทำให้เวลาประกอบอาหารที่ต้องคงความชื้นไว้ ต้องใช้การห่ออาหารด้วยฟอยล์ หรือใส่ถ้วยน้ำตามเข้าไปในเตาขณะใช้งานเตาอบ ทำให้ต้องเผื่อเนื้อที่เพิ่ม แต่เตาอบไอน้ำไฟฟ้า มีช่องใส่น้ำสำหรับทำไอน้ำโดยเฉพาะ ทำให้คุณสามารถประกอบอาหารที่ต้องการความชื้นได้ไม่ยาก
SMARTHOME Beyond คือไลน์สินค้าของ SMARTHOME ที่เป็นสินค้าคุณภาพสูง ที่เน้นดีไซน์มินิมอลเข้ากับบ้านยุคใหม่ ในราคาที่คุณสามารถจับต้องได้ มีความทัดเทียมกับสินค้าแบรนด์อื่นที่แพงกว่าแต่คุณภาพใกล้เคียงกัน และเตาอบไอน้ำไฟฟ้า รุ่น SM-OV1300 คือหนึ่งในสินค้าไลน์นี้
Credit: https://www.smart-home.co.th/ov1300
การออกแบบเตาอบไอน้ำไฟฟ้า SMARTHOME มาในโทนสีครีม - สีกาแฟ เป็นสีของตัวเครื่องภายนอก ที่คนชอบเอิร์ธโทน (Earth Tone) น่าจะถูกใจสิ่งนี้กัน บริเวณด้านหน้าของเตาอบ มีลิ้นสำหรับดึงปิด - เปิด ฝาเตาอบ, มีช่องกระจกสำหรับส่องดูระดับความสุกของอาหาร, และมีปุ่มหมุนสองปุ่มอยู่ด้านหน้า ไว้สำหรับหมุนปรับอุณหภูมิ และปรับตั้งเวลาใช้งาน
ด้านบนของเตา จะมีจุดที่เป็นปุ่มนูนขึ้นมา เป็นจุดที่มีไว้สำหรับเติมน้ำลงไป เพื่อใช้งานไอน้ำในการประกอบอาหาร โดยการใส่น้ำลงไปนั้น ผู้เขียนแนะนำให้ ดึงจุกน้ำออกมา แล้วนำถ้วยจุกน้ำไปตวงน้ำมาใส่ โดยจะสามารถใส่ได้ครั้งละไม่เกิน 2 ถ้วยเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำล้นออกมาเวลาปิดจุกคืนลงไปตามเดิม
ด้านข้างของเตาอบจะมีพื้นผิวเรียบเป็นส่วนใหญ่ และจะมีพื้นผิวนูนขึ้นมา 2 จุดในบริเวณด้านข้างทั้งสองข้าง
ด้านหลังของเตาอบจะมีฉลากสินค้าติดอยู่ รวมทั้งตรา มอก. ที่การันตีด้านความปลอดภัยในการใช้งาน และมีรูระบายความร้อนในขณะทำงานด้วย ดังนั้น เวลาติดตั้งอย่าลืมเหลือพื้นที่รอบ ๆ เตาอบไว้เสมอ อย่าตั้งติดผนัง เพราะจะทำให้เตาอบเสื่อมคุณภาพเร็ว
ด้านใต้ของเตาอบ มีถาดอลูมิเนียมรองไว้ สำหรับรองเศษขนมหรือเศษอาหารที่อาจตกลงมาระหว่างใช้งาน ทำให้สามารถถอดล้างทำความสะอาดได้ง่าย
ด้านในเตาอบจะมีตะแกรงไว้สำหรับวางถาดอบ (มีถาดอบแถมให้ภายในกล่อง) ที่สามารถถอดล้างได้ง่าย โดยมีจุดยึดเหนี่ยวเพียงไม่กี่จุดเท่านั้น ได้แก่ จุดนอกที่เป็นขาเกี่ยวด้านใต้ตะแกรงติดกับฝาเตาอบ และด้านในที่เกี่ยวไว้กับสปริงกลไกสำหรับเลื่อนตะแกรงเข้า - ออก เวลาถอดล้างให้ทำการถอดจากด้านที่ติดกับฝาเตาอบออกก่อน แล้วจึงค่อยนำออกจากขาเกี่ยวด้านใน ส่วนเวลาใส่กลับคืน ก็ให้เริ่มจากการเกี่ยวขาเกี่ยวด้านใน แล้วจึงนำมาเกี่ยวกับขาเกี่ยวด้านที่ติดกับฝาเตาอบตามลำดับ
ความจุด้านในเตาอบ เมื่อวัดจากตะแกรงถึงเหล็กครอบหลอดไฟด้านบน จะขนาดโดยรวมอยู่ที่ 27 x 17 x 7 เซนติเมตร (กว้าง x ลึก x สูง) ขนมปังที่จะมาใช้งานกับเตาอบเครื่องนี้ ก็ต้องไม่สูงจนเกินไป (อย่างเช่น ครัวซองชิ้นใหญ่) หรือต้องตัดแบ่งก่อน สำหรับขนมที่จะมาอบ อย่างเค้กขนาดเป็นปอนด์ก็คงไม่ไหว แต่ขนมชิ้นเล็ก ๆ ก็พอได้อยู่บ้าง
ระบบการให้ความร้อนของเตาอบ เป็นรูปแบบไฟบน-ล่าง เหมือนกับเตาปิ้งขนมปังทั่ว ๆ ไป (หรือที่เรียกว่า 'เตาติ๊ง' นั่นแหละ) แต่ที่แตกต่างก็คือด้านหน้าของตู้อบจะมีรางน้ำยาวๆ ที่ไหลลงมาจากด้านบนด้วย ทำให้การอบขนมปังหรืออบขนมต่าง ๆ จะมีไอน้ำ มาช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับอาหารแบบกรอบนอกนุ่มใน
เรื่องเล็ก ๆ แต่น่าปลื้มใจ คือเมื่อเป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำหน่ายในไทย ชนิดปลั๊กจึงเหมาะกับครัวเรือนบ้านเรา เป็นปลั๊กกลม 2 ขาและมีกราวด์กันไฟรั่วด้วย ไม่ต้องไปต่อพ่วงกับอะแดปเตอร์ใด ๆ เพิ่มเติม
สำหรับ การใช้งานเตาอบไอน้ำไฟฟ้า SMARTHOME สามารถใช้งานได้เหมือนเตาอบไฟฟ้าทั่วไป พ่วงด้วยการนึ่งอาหาร และการละลายน้ำแข็งเข้ามา เพราะตัวเตาอบมีไอน้ำ ทำให้สามารถประกอบอาหารได้โดยไม่สูญเสียความชื้นในอาหาร
จากปุ่มหมุนอุณหภูมิด้านหน้าเครื่อง จะเห็นได้ว่ามีรูปอาหารสี่ชนิดอยู่ทางด้านซ้าย ก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นตัวเลขอุณหภูมิในการอบอาหาร ได้แก่
ในส่วนการควบคุมอุณหภูมิ นอกเหนือจากจะมีประเภทอุณหภูมิเฉพาะสำหรับอาหารแล้ว ถัดจากรูปครัวซองต์ ก็จะเป็นตัวเลขอุณหภูมิ ที่จะเริ่มต้นที่
อีกปุ่มที่อยู่คู่กันคือปุ่มตั้งเวลาในการอบเหมือนกับเตาติ้งทั่ว ๆ ไป สามารถตั้งได้ตั้งแต่ 1 - 15 นาที แต่ต่างกันตรงที่ เตาจะมีความดิจิทัล การหมุนเลือกเวลาก็จะมีไฟติดตามระยะเวลาที่เราเลือก ปุ่มไม่ได้ค่อย ๆ หมุนดีดกลับเหมือนเตาปิ้งโบราณทั้งหลาย หากเราต้องการอบขนม 1 ชิ้นที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที ก็ให้จัดการหมุนปุ่มขวาหรือปุ่มอุณหภูมิก่อน แล้วค่อยหมุนปุ่มตั้งเวลา เพื่อเปิดการทำงานของเตาอบ
เมนูที่เราได้ทดลองนำมาใช้กับเตาอบตัวนี้ คือขนมไทยโบราณที่ทุกคนต้องเคยผ่านหูแน่ ๆ นั่นคือขนมหม้อแกงนั่นเองค่ะ โดยเราจะมาทำขนมหม้อแกงไข่ สูตรไร้แป้ง รสชาติกลมกล่อม นุ่มเนียน มาทานกัน โดยมีส่วนผสมและขั้นตอนการทำดังต่อไปนี้
ส่วนผสมในรูป ผ่านการเจียวหอมเสร็จแล้ว และแยกน้ำมันกับหอมเจียวพักไว้
เคล็ด (ไม่) ลับ เช็คความสุกของขนมหม้อแกง
เพราะในแต่ละบ้าน อาจใช้ภาชนะพิมพ์ขนมที่มีขนาดไม่เท่ากัน ซึ่งการใช้ภาชนะใบใหญ่ หรือเนื้อหนา อาจทำให้ขนมสุกไม่ทั่ว หากคุณไม่แน่ใจ สามารถเช็คความสุขของเนื้อข้างในได้โดยการนำไม้แหลม หรือไม้จิ้มฟัน จิ้มลงไปแล้วดึงขึ้นมา หากมีเนื้อขนมติดมาด้วย แปลว่ายังไม่สุก แต่ถ้าหากสามารถจิ้มและดึงได้สะดวก แปลว่าขนมสุกดีแล้ว
สามารถทำได้ง่าย เพราะถอดอุปกรณ์ออกมาทำความสะอาดเพียงไม่กี่ส่วนเท่านั้น ได้แก่ ถาดอบ (ถ้าใช้) ตะแกรงรองอบ ฝาครอบร่องไอน้ำ และถาดรองเศษขนมที่อยู่ใต้เตา ส่วนวิธีถอดก็สามารถถอดได้ง่าย และมีวิธีถอดอยู่ในคู่มือที่ให้มาด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อถอดตะแกรง และฝาครอบร่องไอน้ำแล้ว ก็สามารถเช็ดทำความสะอาดได้ง่ายด้วยผ้าชุบน้ำ หรือถ้าต้องการขจัดคราบไขมัน ก็สามารถชุบน้ำผสมน้ำยาล้างจานร่วมด้วยได้
เตาอบไอน้ำไฟฟ้า แบรนด์ที่มีคนพูดถึงมากรุ่นหนึ่งคือ Balmuda ซึ่งเป็นแบรนด์สัญชาติญี่ปุ่นที่มีราคาสูงในระดับพรีเมียม โดยเตาอบ Balmuda มักเป็นรุ่นเตาอบที่ถูกหยิบยกมาเปรียบเทียบกับเตาอบรุ่นอื่นอยู่เนือง ๆ ฉะนั้น เราก็จะนำเจ้า BALMUDA มาเปรียบเทียบ ทั้งในแง่ของการใช้งานและการดีไซน์ด้วย ว่าเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
ในด้านของการออกแบบ ตัวเครื่องจะมีลักษณะทางกายภาพไม่แตกต่างกันมากนัก โดยส่วนของ SMARTHOME จะมีรูไอน้ำด้านบน และมีจุกปิดไอน้ำยื่นสูงขึ้นไปในแนวตั้ง แต่ของ BALMUDA ฝาปิดช่องเติมน้ำ จะติดอยู่กับฝาเตาอบโดยตรง
ความละเอียดในการควบคุมอุณหภูมิ และควบคุมเวลาในการทำงานของทั้งสองแบรนด์ มีให้เท่ากันทั้งคู่ คือสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ 7 ระดับ (BALMUDA มีอุณหภูมิสูงสุดที่ 250 องศาเซลเซียส) และสามารถควบคุมเวลาได้สูงสุด 15 นาที แตกต่างกันเล็กน้อยที่ BALMUDA ในนาทีที่ 1 - 5 จะมีครึ่งนาทีให้เลือกด้วย และ ช่วงหลังจะตั้งเป็น 11 - 14 นาทีไม่ได้ ต้องเลือกระหว่าง 10 หรือ 15 นาที และไฟแสดงผลเวลา โดยเตาอบของ SMARTHOME จะแสดงเวลาเป็นจุดไฟสว่างเรียงกันในแนวนอน แต่ของ BALMUDA จะเป็นดวงไฟติดรอบตัวหมุนปรับอุณหภูมิ
พื้นที่ภายในส่วนของเตาอบทั้ง 2 แบรนด์มีขนาดพอ ๆ กัน ทั้งความกว้างและความสูง ส่วนความลึก BALMUDA จะสั้นกว่า ไม่ถึงครึ่งเซนติเมตร จุดประสงค์ในการใช้งานด้านขนาดของอาหารที่จะอบหรือปิ้ง จึงพอ ๆ กัน
ความแตกต่างอื่น ๆ ก็คือในส่วนของระบบไอน้ำ รางน้ำของทางฝั่งเตาอบไอน้ำ SMARTHOME จะมีรางที่ยาวกว่ารวมทั้งท่อส่งน้ำจากด้านบนจะถูกซ่อนเป็นที่เรียบร้อย ในขณะที่เตาอบ BALMUDA เผยท่อให้เห็นชัดเจน และรางน้ำมีขนาดสั้นกว่า โดยที่ทั้งสองแบรนด์ มีฝาครอบรางน้ำที่สามารถถอดทำความสะอาดได้เช่นเดียวกัน
ในส่วนของการใช้งาน เราได้ลองอบครัวซองต์ด้วยโหมดสำเร็จรูป (ซึ่งเป็นครัวซองต์สดจากช่องฟรีซในตู้เย็น) ผลปรากฏว่า ตัวเตาอบ SMARTHOME Beyond รุ่น SM-OV1300 สามารถทำความร้อนได้ดีกว่า ใช้เวลา 6 นาที ผิวนอกครัวซองต์ก็เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลกรอบ ในส่วนของเตาอบ BALMUDA เหมือนจะทำความร้อนได้น้อยกว่าจึงใช้เวลาในการอบครัวซองต์มากกว่าถึงเท่าตัว
ในส่วนของเนื้อครัวซองต์ที่ได้ ตัวครัวซองต์มีความฟูขึ้นมาพอ ๆ กัน แม้ว่าจะเป็นไฟบน-ล่างเหมือนกัน แต่ในส่วนของครัวซองต์ที่ได้จากเตาอบ SMARTHOME เนื้อตรงขอบบน-ล่างจะมีสีที่ต่างจากตรงกลางพอสมควร ส่วนฝั่ง BALMUDA สีค่อนข้างใกล้เคียงกัน (แต่จริง ๆ เนื้อด้านหน้าครัวซองต์ค่อนข้างขาว) ด้านในมีความสุกเหมือนกัน น่าจะเพราะมีไอน้ำช่วยทำความร้อน ทั้งคู่มีความกรอบนอกนุ่มในใกล้เคียงกัน ถ้าได้แรงไฟและเวลาที่เหมาะสมจากการทดลองทำหลาย ๆ รอบ เตาอบทั้ง 2 รุ่น ก็อบขนมปังได้ไม่น่าจะต่างกันมาก
|
เราได้ลองเอาเตาอบทั้งสองมาลองอบขนมหม้อแกงไข่ อาหารตัวอย่างของเรา ซึ่งทั้งสองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกลิ่นหอมและรสชาติดีได้ ทว่า สิ่งที่แตกต่างกันคือ การอบที่เวลาเท่ากัน อุณหภูมิเท่ากัน และการใช้ไอน้ำในปริมาณที่เท่ากัน เตาอบ SMARTHOME สามารถอบให้สุกพร้อมทานได้ทันที เพราะการทดสอบด้วยไม้จิ้มนั้น ไม่มีเนื้อขนมติดออกมาแล้ว แต่เตาอบ BALMUDA จะต้องใช้เวลาอบเพิ่มอีก 5 นาที จึงจะสุก
เตาอบไอน้ำไฟฟ้า SMARTHOME Beyond รุ่น SM-OV1300 ที่มีราคาหลักพัน สามารถนำมาประกอบอาหารได้ดีไม่แพ้เตาอบ BALMUDA ที่มีสนนราคาหลักหมื่นเลยทีเดียว เพราะสามารถอบขนมให้มีคุณภาพใกล้เคียงกันได้โดยไม่รู้สึกว่าแตกต่างมากนัก นอกจากนี้ เตาอบไอน้ำไฟฟ้า SMARTHOME ยังสามารถถอดล้างทำความสะอาดได้ง่าย โดยใช้การถอดเพียงไม่กี่ขั้นตอน แต่เตาอบ BALMUDA จะมีส่วนประกอบในการถอดล้างมากกว่า
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการรับประกัน ซึ่งเตาอบ SMARTHOME Beyond รุ่น SM-OV1300 มีการรับประกันจากทางบริษัทให้ถึง 3 ปี ซึ่งน่าจะช่วยในการตัดสินใจซื้อไปได้เยอะเลย ไม่ต้องกลัวว่าหากซื้อสินค้ามามีปัญหาแล้วจะไม่มีบริการหลังการขาย รวมทั้งยังมีตรา มอก. ที่รองรับความปลอดภัยในการใช้งาน ต่างจาก BALMUDA ที่เป็นเครื่องนอกอีกด้วย
|
เกมเมอร์หญิงทาสแมว ถ้าอยู่กับแมวแล้วจะน้วยแมวทั้งวัน |