โปรแกรมแอนดรอยด์อีมูเลเตอร์สำหรับใช้งานแอปฯ หรือเล่นเกมส์แอนดรอยด์บนเครื่อง PC ในตลาดตอนนี้บอกเลยว่ามีเยอะมาก ซึ่งทีมงานไทยแวร์ก็พยายามเอาพวกมัน โดยเฉพาะตัวที่คิดว่ามันเจ๋งๆ มารีวิวอย่าง Bluestack2 และ Nox APP Player มาถึงคราวนี้ก็เป็นตาเจ้า MEmu โปรแกรมที่มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างหนาหูว่า มันเด็ด มันดี ทีมงานเลยไม่รอช้าจัดการรีวิวเจ้าอีมูเลเตอร์ตัวนี้ซะเลย
สำหรับเจ้า MEmu อีมูเลเตอร์สัญชาติจีนตัวนี้ มีความพิเศษกว่าตัวอื่นๆ ตรงที่มันรองรับการจำลองแอนดรอยด์ได้ทั้งเวอร์ชัน 4.2 และ 5.1 ซึ่งอีมูเลเตอร์ส่วนใหญ่ในตลาดตอนนี้จะรองรับแค่เวอร์ชัน 4.4 เท่านั้น นอกจากนี้มันยังมีความน่าสนใจอื่นๆ ที่น่าจะทำให้คุณชอบมันได้ไม่ยาก
คุณสามารถคลิกปุ่มด้านล่าง เพื่อดาวน์โหลดไฟล์สำหรับติดตั้งโปรแกรม MEmu เวอร์ชันล่าสุด
สามารถทำตามขั้นตอนด้านล่างนี้ เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรมได้เลยครับ
การใช้งานโปรแกรมมีลักษณะการใช้งานเหมือนการเริ่มต้นใช้งานสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์เครื่องใหม่ ซึ่งมันมีวิธีการคล้ายกันกับอีมูเลเตอร์แอนดรอยด์ตัวอื่นๆ ที่จำเป็นต้องลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชี Google (อันเดียวกันกับ Gmail) เพื่อที่จะสามารถใช้งานแอป Play Store ในการดาวน์โหลด และติดตั้งแอปพลิเคชัน ซึ่งสามารถทำตามวิธีการด้านล่างได้เลยครับ
อินเตอร์เฟสของโปรแกรมที่ทำงานบนแอนดรอยด์เวอร์ชัน 4.4 Kitkat
อินเตอร์เฟสของโปรแกรมที่ทำงานบนแอนดรอยด์เวอร์ชัน 5.1 Lollipop
ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
ส่วนที่ 1 ส่วนพื้นที่เก็บแอปฯ - หากเราโหลดแอปพลิเคชัน และติดตั้งเรียบร้อยแล้ว เราจะเห็นแอปฯ เหล่านั้นอยู่ในพื้นที่ตรงนี้ ซึ่งเราสามารถคลิกเลื่อนปัดไปทางขวา ไปอีกหน้าหนึ่งได้กรณีที่แอปฯ ในหน้านี้เต็ม
ส่วนที่ 2 ส่วนแสดงการแจ้งเตือน - เป็นแถบที่เมื่อคลิก และลากลงมา (สไลด์ลงมา) ก็จะมีรายการแสดงการแจ้งเตือนของแอปพลิเคชันต่างๆ นอกจากนี้ในเวอร์ชัน 5.1 เราสามารถเข้าไปตั้งค่า เปิด-ปิด Wi-Fi จากส่วนนี้ได้อีกด้วย
ส่วนที่ 3 ส่วนควบคุมหน้าต่างของโปรแกรม - สำหรับการย่อหน้าต่างโปรแกรม ขยายหน้าต่างโปรแกรม และปิดโปรแกรม (ตามลำดับ จากซ้าย ไปขวา) นอกจากนี้ยังสามารถใช้ซ่อนหรือแสดงแถบเครื่องมือในส่วนที่ 4 ได้ด้วยการคลิกที่ไอคอน Hide Toolbar นอกจากนี้ยังสามารถใช้ดูสเปคของเครื่องคอมฯ รวมไปถึงดูคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมได้ด้วยการคลิกที่ไอคอน
ส่วนที่ 4 แถบเครื่องมือ - เป็นส่วนที่รวมเครื่องมือที่ไว้ใช้ปรับแต่ง และตั้งค่าโปรแกรม โดยแต่ละเครื่องมือมีลักษณะหน้าตา และวิธีการใช้งานดังนี้
- General Settings เป็นการตั้งค่าทั่วไป ได้แก่ การตั้งค่าจำนวน CPU และ RAM ที่ใช้งานของโปรแกรม, ตั้งค่าการแสดงผลหน้าจอของโปรแกรม ด้วยการปรับขนาดหน้าจอของอุปกรณ์แอนดรอยด์ที่เราจะทำการจำลอง, ตั้งค่าตำแหน่งของแถบเนวิเกชั่น (แถบในส่วนที่ 5) รวมไปถึงการตั้งค่าการแสดงภาษาของเมนูในโปรแกรม ซึ่งรองรับภาษาไทยด้วย
- Advanced Settings เป็นการตั้งค่าในขั้นสูง ได้แก่ การตั้งค่าโมเดลของเครื่อง, หมายเลข IMEI, ผู้ให้บริการเครือข่าย, เบอร์โทรศัพท์, และอื่นๆ เช่น การตั้งค่าเซ็นเซอร์, การแสดงคีย์บอร์ดแบบจำลอง, การแจ้งเตือนของโปรแกรมบนเครื่อง PC, การซิงค์เวลาให้เครื่องกับโปรแกรมตรงกัน และการรูทเครื่อง เป็นต้น
- Shared Settings เป็นการตั้งค่าโฟล์เดอร์ที่ใช้ร่วมกันระหว่างโปรแกรมกับเครื่อง
- Location Settings เป็นตั้งค่าให้โปรแกรมจำลองตำแหน่ง GPS ซึ่งเราสามารถเลือกให้โปรแกรมจำลองได้ว่าเรากำลังอยู่ในตำแหน่งไหน ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อแอปฯ ที่ต้องใช้งานตำแหน่ง GPS
- Shortcut Settings เป็นการตั้งค่าทางลัดในการเปิดเมนูต่างๆ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการแมพปิ้ง
ส่วนที่ 5 แถบเนวิเกชั่น - เป็นแถบที่มีคำสั่งเนวิเกชั่น ซึ่งเราสามารถตั้งค่าให้มันมาอยู่ด้านล่างหน้าจอเหมือนในสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ได้ในหัวข้อการตั้งค่าแบบทั่วไป (General Settings) ในส่วนที่ 4 ประกอบด้วยปุ่มต่างๆดังนี้ (ไล่จากซ้ายไปขวา)
ส่วนที่ 6 แถบแสดงแอปฯ แบบคงที่ - เป็นแถบที่เราสามารถนำแอปฯ อะไรก็ได้ มาวางไว้ได้สูงสุด 4 แอปฯ โดยแอปฯ ที่อยู่ในแถบนี้จะวางตำแหน่งคงที่ในทุกหน้าของโปรแกรม
ส่วนที่ 7 การแสดงแอปพลิเคชันแนะนำ - โปรแกรมจะแสดงแอปฯ แนะนำ อารมณ์ประมาณโฆษณาที่จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ซึ่งถ้าเราคลิกไปแล้วโปรแกรมจะเชื่อมโยงเข้าสู่หน้า Play Store ของแอปฯ นั้นๆ
ซึ่งในส่วนของอินเตอร์เฟสของโปรแกรม ทั้งในแอนดรอยด์ 5.1 และ 4.4 ความแตกต่างหลักๆ ที่เห็นได้ชัดระหว่างทั้งสองเวอร์ชัน คือไอคอน และอินเตอร์เฟสภายใน เช่นในส่วนการแสดงการแจ้งเตือนในส่วนที่ 2, อินเตอร์เฟซการตั้งค่า, อินเตอร์เฟสการเข้าสู่ระบบของบัญชี Google เป็นต้น
1. ถ้าลองใช้แอปฯ ในโปรแกรม MEmu แล้วติดใจ ก็สามารถติดตั้งแอปฯ พร้อมซิงค์ข้อมูลภายในของแอปฯ ที่กำลังเปิดอยู่ในขณะนั้นลงบนสมาร์ทโฟนของคุณได้ทันที ด้วยฟีเจอร์ Install Apps to Phone
ความสามารถของฟีเจอร์ดังกล่าวคือ ทำให้ติดตั้งแอปฯ และถ่ายโอนข้อมูลในแอปฯ ที่เล่นค้างไว้ในโปรแกรม MEmu มาลงบนสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ได้อย่างทันที ไม่ต้องเสียเวลาไปโหลดแอปฯ ใหม่ โดยข้อจำกัดในการใช้งานฟีเจอร์นี้คุณจำเป็นต้องเปิด USB Debugging ในโหมดนักพัฒนา (Developer Option) บนสมาร์ทโฟนของคุณก่อน
2. อีมูเลเตอร์แอนดรอยด์ตัวไหนก็ใช้ได้แค่เวอร์ชัน 4.4 แต่ไม่ใช่สำหรับ MEmu ที่มีเวอร์ชัน 5.1 ให้ไปใช้กันแบบไร้กังวล
สามารถดูวิธีการตั้งค่าโปรแกรมให้ใช้งานแอนดรอยด์เวอร์ชัน 5.1 ได้ที่หัวข้อถัดไป
อย่างที่บอกว่าโปรแกรม MEmu มีฟีเจอร์ที่สามารถทำให้คุณใช้งานแอนดรอยด์เวอร์ชัน 5.1 Lollipop ได้ เพียงแต่ตอนนี้มันยังเป็นเวอร์ชัน Beta ที่มีบัคมากมาย (ถ้ายังไม่จำเป็นก็ยังแนะนำให้ใช้เวอร์ชัน 4.4 ที่เสถียรกว่าก่อน) เช่น ปัญหาการสลับแอปฯ ยังทำได้ไม่ดี พบว่าบางครั้งแอปฯ ที่เปิดไว้ต้องเริ่มการทำงานใหม่, ปัญหาไม่สามารถใช้งานกล้องถ่ายรูปได้, ปัญหาแอปฯ เด้ง แอปฯ ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ เช่นแอป Antutu Benchmark และไม่สามารถใช้กับ CPU ของ AMD ได้
สำหรับการเปิดใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าวคุณจำเป็นต้องติดตั้งบางสิ่งเพิ่มเติมก่อน ซึ่งวิธีทำมีดังนี้
ขั้นแรกให้ดาวน์โหลดไฟล์นี้ Memu-Lollipop-rc1.exe มาก่อน และดับเบิ้ลคลิกเพื่อทำการติดตั้ง ซึ่งมันจะทำการติดตั้งแบบอัตโนมัติโดยไม่ต้องกดอะไรเพิ่มเติม
โดยหากติดตั้งสำเร็จแล้ว จะมีข้อความแสดงดังรูปด้านบน
หลังจากนั้นโปรแกรมจะแสดงหน้าต่าง "Multi-MEmu" ดังรูปด้านบน ซึ่งใช้สำหรับตั้งค่าโปรแกรมให้สามารถใช้งาน แอนดรอยด์ 5.1 ครับ และสำหรับการเปิดใช้งานแอนดรอยด์เวอร์ชัน 5.1 จากหน้าต่างดังกล่าว ให้คลิกที่ + Create emulator แล้วเลือกคำสั่ง "Create Android 5.1 emulator" โปรแกรมจะทำการสร้างอีมูเลเตอร์ของแอนดรอยด์ 5.1 ขึ้นมา จากนั้นกด Start ด้านหลังรายการอีมูเลเตอร์ที่เราเพิ่งสร้างใหม่ เพียงแค่นี้โปรแกรม MEmu ก็เริ่มต้นอีมูเลเตอร์ด้วยแอนดรอยด์เวอร์ชัน 5.1 ได้แล้วครับ
สำหรับสเปคของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการทดสอบ และการปรับตั้งค่าโปรแกรมเป็นดังนี้
Intel® Core™ i5-6400 2.70GHz up to 3.30GHz, RAM 8GB DDR3, Nvidia Geforce GT 705 RAM 2 GB บน Windows 10 Pro 64-bit
รายชื่อแอปพลิเคชัน และเกมส์ที่ใช้ทดสอบประสิทธิภาพครั้งนี้ได้แก่
จากผลการทดสอบพบว่าการแสดงผล 3 มิติของโปรแกรมทำได้ดี แต่มันก็ไม่ได้ต่างกับโปรแกรมอื่นเท่าไรนัก (อาจจะเป็นผลมาจากการที่การ์ดกราฟิกของเครื่องคอมฯ ที่ใช้ทดสอบมีสเปคค่อนข้างต่ำ) และเรื่องความเสถียรในการใช้งานเช่น การสลับแอปพลิเคชันที่บางครั้งก็ไม่ต่อเนื่องยังต้องเริ่มต้นแอปใหม่ รวมไปถึงการเล่นเกมส์บางเกมส์จำเป็นต้องโหลดแอป Google Play Games และต้องอัพเดตแอป Google Framework ก่อนด้วยครับ แต่สิ่งที่สะกิดใจทีมงานสุดๆ คือการที่มันไม่สามารถใช้งานแอปฯ สามัญประจำชาติอย่าง Facebook และ Messenger ในเวอร์ชันล่าสุดได้ซะงั้น จัดเป็นความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่เลยก็ว่าได้ แต่ถ้าใครอยากใช้ก็สามารถใช้แอป Facebook Lite ที่ติดมาอยู่แล้วในโปรแกรม หรือเปิดในเว็บเบราว์เซอร์แก้ขัดไปพลางๆ ก่อนได้ครับ
คุณสามารถรับชมการใช้งานโปรแกรม MEmu ร่วมกับแอปฯ ต่างๆ ได้ในวิดีโอรีวิวของเราได้เลยครับ
ข้อดี
| ข้อสังเกต
|
ภาพรวมด้านการทำงานของโปรแกรม MEmu ที่หลายๆ คนเคลมว่ามันแสดงผลสามมิติได้ดีนักดีหนา ส่วนตัวคิดว่ามันก็ทำได้ดีแค่ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ถึงขั้นทำให้ประทับใจอะไรขนาดนั้น เพราะว่าปัญหาที่พบไม่ว่าจะเป็นปัญหาใหญ่ๆ อย่างการที่มันไม่สามารถพิมพ์ภาษาไทยได้โดยตรงผ่านคีย์บอร์ด, การที่มันไม่สามารถใช้แอป Facebook หรือ Messenger ได้ และปัญหายิบย่อยเล็กน้อยอย่างเช่น การที่แอปฯ ไม่ตอบสนองและทำการปิดตัวลง, การกระตุกของภาพในบางช่วงของแอปฯ ซึ่งทั้งหมดปัญหาเหล่านี้คาดว่ามีสาเหตุมาจากสเปคของคอมพิวเตอร์ด้านการแสดงผลกราฟิกค่อนข้างต่ำ, ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และการที่แอปพลิเคชันไม่รองรับการทำงานบนอีมูเลเตอร์ ซึ่งพบได้กับอีมูเลเตอร์แทบทุกตัว ทำให้รู้สึกว่าในบางมุมอีมูเลเตอร์แอนดรอยด์ตัวอื่นสามารถทำได้ดีกว่าครับ
แต่อย่างที่เคยกล่าวไว้ในทุกการรีวิวว่า ณ ขณะนี้ยังไม่มีโปรแกรมแอนดรอยด์อีมูเลเตอร์ตัวใดในท้องตลาดที่จะสามารถทำงานได้สมบูรณ์แบบไร้ข้อผิดพลาด เพราะขนาดสมาร์ทโฟนเองยังเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้เลย ซึ่งสำหรับโปรแกรม MEmu ถ้าหักลบปัญหากับข้อดีของมัน ก็แสดงได้ถึงการพิสูจน์ตัวมันเองแล้วว่า มันก็มีดีไม่ได้ด้อยไปกว่าอีมูเลเตอร์ตัวอื่นเลยครับ
|
ไม่ได้เชี่ยวชาญ แค่ชื่นชอบเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นมือใหม่หัดเขียนข่าวไอที ถ้ามีอะไรผิดพลาดสามารถแนะนำได้นะครับ |
ความคิดเห็นที่ 3
7 พฤษภาคม 2564 23:54:27
|
||
ลงเสร็จ จอดำ เล่นก็ไม่ได้ โหลด ละลบใน 5 นาที -..-
|
||
ความคิดเห็นที่ 2
30 กรกฎาคม 2563 02:47:59
|
||
ลืนก็จริง แต่เด้งบ่อยสัดๆ เด้งจนหน้าลำคาญอะ แก้ตรงนี้จะดีมาก
|
||
ความคิดเห็นที่ 1
24 เมษายน 2563 20:54:54
|
||
GUEST |
เหมา
พี่มี Kine Master ในมือถือ ที่เสียเงินรายปี แล้วต้องการเอาเข้าไป Memu ใน PC ได้ไหมครับ และ Kinemaster ใน Memu จะใช้ file ใน PC ได้อย่างไร |
|