ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

สุนัขเข้าใจสิ่งที่เราพูดด้วยจริงๆ หรือเข้าใจเฉพาะโทนเสียงที่เราใช้เท่านั้น?

สุนัขเข้าใจสิ่งที่เราพูดด้วยจริงๆ หรือเข้าใจเฉพาะโทนเสียงที่เราใช้เท่านั้น?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 5,884
เขียนโดย :
0 %E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%82%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%86+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

เชื่อว่าเจ้าของสุนัขหลายๆ คนน่าจะเคยพูดคุยกับสัตว์เลี้ยงของตัวเอง และพบว่ามันดูเหมือนจะเข้าใจในหลายๆ สิ่งที่คุณพูดด้วย ไม่ว่าจะเป็นคำชมต่างๆ , คำสั่งอย่างการขอมือหรือการวิ่งไปคาบของเล่น หรือแม้กระทั่งในตอนที่คุณดุมันก็ดูหงอยลงอย่างเห็นได้ชัด และน่าจะเกิดความรู้สึกสงสัยว่าสุนัขเข้าใจเนื้อหาของสิ่งที่เราพูดกับมันจริงๆ หรือพวกมันเข้าใจคำพูดต่างๆ ของเราจากโทนเสียงที่ใช้พูดคุยกับมันเท่านั้น?

จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Oxford ที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของสมองสุนัขระบุเอาไว้ว่า ไม่เพียงแต่สุนัขของคุณจะสามารถแยกแยะน้ำเสียงที่เราใช้ได้เพียงเท่านั้น แต่มันยังสามารถเรียนรู้และจดจำเนื้อความของสิ่งที่เราพูดคุยกับมันได้อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว สมองของสุนัขยังมีแนวโน้มว่าจะชื่นชอบและมีการตอบสนองทางบวกต่อคำชมของเจ้าของมากกว่าการได้รับอาหารเสียอีก

สุนัขเข้าใจสิ่งที่เราพูดด้วยจริงๆ หรือเข้าใจเฉพาะโทนเสียงที่เราใช้เท่านั้น?

ภาพจาก : https://journeydogtraining.com/hand-shy-dog/

โดยภายในสมองของสุนัขนั้นมีส่วนที่เรียกว่า Reward Centre ที่จะหลั่งสารแห่งความสุขออกมาเมื่อเจ้าของให้อาหาร หรือคำชมในโทนเสียงที่แสดงออกถึงการชื่นชมพวกมันอย่างชัดเจน และหากเราใช้คำพูดแบบเดิมแต่เปลี่ยนโทนเสียงที่ใช้ในการชมเชยก็พบว่ามันไม่ได้แสดงอาการดีใจเหมือนกับการได้รับคำชมในโทนเสียงเดิมที่คุ้นเคย นี่อาจแปลได้ว่าสุนัขนั้นสามารถเรียนรู้และจดจำภาษามนุษย์ได้จริงๆ แต่ก็เฉพาะกับคำพูดและโทนเสียงที่ใช้บ่อยๆ เท่านั้น ตัวอย่างเช่น หากคุณเล่นกับสุนัขของคุณบ่อยๆ โดยการปาลูกบอลและสั่งให้มัน “คาบบอลกลับมา” ซ้ำๆ เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้ถือลูกบอลไว้ในมือแล้วปาลูกบอลไปไกลๆ ให้มันคาบกลับมา แต่คุณเพียงแค่บอกกับมันว่า “บอลอยู่ไหน คาบบอลมาให้หน่อย” สุนัขของคุณก็สามารถที่จะตามหาลูกบอลจนเจอและคาบบอลมาให้คุณได้เช่นกัน นั่นเพราะสมองของมันเกิดการเรียนรู้และจดจำคำว่า “บอล” ที่คุณพูดถึง ว่าคือลูกกลมๆ ที่มันคาบมาให้คุณบ่อยๆ นั่นเอง (ใช้หลักการเรียนรู้เดียวกับการสั่นกระดิ่งของ Pavlov)

การเรียนรู้แบบคลาสสิคของ Pavlov (Pavlov's Classical Conditioning) 
 

สุนัขเข้าใจสิ่งที่เราพูดด้วยจริงๆ หรือใช้การจดจำเฉพาะโทนเสียงที่เราใช้เท่านั้น?

นักวิจัยจากสถาบันวิจัยบูดาเปสต์ ประเทศฮังการีได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของสมองสุนัขเพิ่มเติม โดยได้ทำการฝึกสุนัขจำนวน 13 ตัวให้นอนนิ่งๆ และรับคำสั่งจากครูฝึก (หรือเจ้านาย) ก่อนที่จะให้พวกมันเข้ารับการสแกนสมองจากเครื่อง MRI ซึ่งการทดลองนี้ถือได้ว่าเป็นก้าวสำคัญในการศึกษาและทำความเข้าใจถึงกระบวนการทำงานต่างๆ ของสมองสุนัขในการตอบสนองต่อคำพูดของมนุษย์

“หลายคนอาจคิดว่าสุนัขจะแสดงอาการตอบสนองและตีความสิ่งต่างๆ ที่เราพูดจากการใช้โทนเสียงสูง-ต่ำ ส่วนเนื้อความที่เราพูดอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับพวกมัน แต่พวกเรา (นักวิจัย) ตั้งใจว่าจะศึกษาลึกลงไปเพื่อทำความเข้าใจถึงกระบวนการทำงานของสมองสุนัข โดยพวกเราได้ทดลองทำการฝึกสุนัขให้มันนอนนิ่งๆ ในเครื่อง MRI และสแกนสมองของสุนัขขณะฟังเสียงคำพูดต่างๆ จากครูฝึก (หรือเจ้านาย) โดยคำพูดพวกมันที่ได้ยินจะมีทั้งคำชมและคำพูดที่ไม่มีความหมายอะไรเป็นพิเศษกับสุนัขในโทนเสียงรูปแบบที่ต่างกันออกไปทั้งน้ำเสียงที่แสดงความชื่นชม, เสียงพูดคุยแบบปกติ และน้ำเสียงที่ใช้ดุ เป็นต้น” Anna Gábor หนึ่งในผู้วิจัยกล่าว

สุนัขเข้าใจสิ่งที่เราพูดด้วยจริงๆ หรือเข้าใจเฉพาะโทนเสียงที่เราใช้เท่านั้น?

ภาพจาก : https://www.nytimes.com/2017/09/08/science/gregory-berns-dogs-brains.html

การสแกนสมองแสดงให้เห็นถึงรูปแบบกิจกรรมสมองของสุนัขในขณะที่ฟังเทปเสียงของครูฝึก (หรือเจ้านาย) พบว่าสุนัขใช้สมองซีกซ้ายในการประมวลผลคำที่มีความหมาย และใช้สมองซีกขวาในการประมวลผลถึงลักษณะของโทนเสียงที่มันได้ยิน

“ผลการทดลองนั้นน่าสนใจมาก เพราะสุนัขนั้นให้ความสนใจทั้งสิ่งที่เราพูดและน้ำเสียงที่เราใช้ โดยการทำงานของสมองสุนัขนั้นมีความคล้ายคลึงกับสมองของมนุษย์เลยทีเดียว ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ก็แสดงให้เห็นว่าสุนัขสามารถแยกแยะทั้งน้ำเสียงและข้อความที่เราพูดด้วยได้”

สุนัขเข้าใจสิ่งที่เราพูดด้วยจริงๆ หรือเข้าใจเฉพาะโทนเสียงที่เราใช้เท่านั้น?

ภาพจาก : https://newatlas.com/fmri-dogs-vocabulary-intonation/45159/

และทีมนักวิจัยยังพบอีกว่าการได้รับคำชมมีผลต่อ Reward Centre ของสุนัขที่จะมีการตื่นตัวเมื่อสุนัขได้รับสิ่งที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ (เช่น การได้รับอาหาร หรือการลูบหัว) และผลการสแกนสมองแสดงให้เห็นว่าสมองในส่วนนี้จะมีการตื่นตัวเฉพาะเมื่อสุนัขได้รับคำชมด้วยโทนเสียงที่แสดงความชื่นชมเพียงเท่านั้น ในขณะที่เมื่อมันได้ยินคำชมในโทนเสียงปกติหรือคำพูดไร้ความหมายในโทนเสียงที่แสดงความชื่นชมนั้นจะไม่มีการตื่นตัวของสมองในส่วนนี้แต่อย่างใด

สุนัขเข้าใจสิ่งที่เราพูดด้วยจริงๆ หรือเข้าใจเฉพาะโทนเสียงที่เราใช้เท่านั้น?

ภาพจาก : https://academic.oup.com/scan/article/11/12/1853/2544448

“สุนัขไม่เพียงแค่บอกความแตกต่างของโทนเสียงที่เราใช้ได้เท่านั้น แต่มันยังสามารถแยกแยะเนื้อหาของสิ่งที่เราพูดคุยกับมันได้อีกด้วย และถึงแม้ว่าภาษาพูดจะเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในการสื่อสารกันเอง แต่งานวิจัยชิ้นนี้ก็ชี้ให้เห็นว่าไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่มีความเข้าใจภาษาพูด แต่สัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขเองก็สามารถเรียนรู้และตอบสนองต่อคำพูดในรูปแบบต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน”

ผลการศึกษาของงานวิจัยชิ้นนี้น่าจะเป็นเหตุผลว่าทำไมการที่คุณพยายามเปลี่ยนน้ำเสียงและพูดหลอกล่อพวกมันด้วยรอยยิ้มว่าจะพาไปหาหมอถึงไม่ได้ผลและจบด้วยการที่มันวิ่งหนีคุณทุกครั้งไป นั่นเป็นเพราะว่าสุนัขของคุณเชื่อมโยงคำว่า “หมอ” กับ “ห้องตรวจ” ไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย ถึงแม้ว่าคุณจะเปลี่ยนน้ำเสียงการพูดให้ดูน่าสนใจยังไงก็ไม่ได้ทำให้มันรู้สึกดีกับคำว่าหมอขึ้นมาเลยสักนิดเดียว

สุนัขเข้าใจสิ่งที่เราพูดด้วยจริงๆ หรือเข้าใจเฉพาะโทนเสียงที่เราใช้เท่านั้น?

ภาพจาก : https://www.pethealthnetwork.com/dog-health/dog-diseases-conditions-a-z/new-study-looks-dog-anxiety-and-veterinary-visits


ที่มา : gregoryberns.com , www.telegraph.co.uk , academic.oup.com , science.sciencemag.org , massivesci.com

 

0 %E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%82%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%86+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่..
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ