ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

สีชมพู (เคย) เป็นสีของเด็กผู้ชาย และสีฟ้าเองก็ (เคย) เป็นสีของเด็กผู้หญิง!?

สีชมพู (เคย) เป็นสีของเด็กผู้ชาย และสีฟ้าเองก็ (เคย) เป็นสีของเด็กผู้หญิง!?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 5,849
เขียนโดย :
0 %E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9+%28%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2%29+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%87+%28%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2%29+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%21%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าสีชมพูจะเป็นสีที่ดูอ่อนโยนและแสดงถึงความเป็นผู้หญิง และสีฟ้าเป็นสีของเด็กผู้ชาย เพราะเราจะเห็นข้าวของเครื่องใช้ของเด็กมากมายที่เป็น 2 โทนสีนี้ และมักจะมีการกำหนดเพศให้กับสิ่งของสีนั้นๆ ตามไปด้วย ทำให้เราเข้าใจกันไปว่าสีชมพูเป็นสีที่ดูอ่อนหวานและเหมาะกับผู้หญิง แต่รู้รึเปล่าว่าในอดีตนั้นสีชมพูเคยเป็นสีที่สื่อถึงความเข้มแข็งและเคยเป็นสีของเด็กผู้ชายมาก่อน!

สีชมพู (เคย) เป็นสีของเด็กผู้ชาย และสีฟ้าเองก็ (เคย) เป็นสีของเด็กผู้หญิง!?

ภาพจาก : https://sg.carousell.com/p/custom-message-bubble-crystal-balloon-130728317/

ในอดีตมักนิยมให้เด็กทารกสวมชุดสีขาวที่กลมกลืนไปกับสีของผ้าอ้อม และเริ่มให้เด็กๆ สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีสันเมื่ออายุราว 6 - 7 ปี แต่ก็ไม่ได้มีการแบ่งแยกสีสันเหมือนอย่างในปัจจุบันนี้ แต่ในช่วงปลายของศตวรรษที่ 19 ก็เริ่มความเชื่อที่ว่าหากคุณอยากให้ลูกชายเติบโตมาเป็นผู้ชายให้แต่งตัวลูกชายด้วยชุดสีชมพู และถ้าอยากให้ลูกสาวเติบโตเป็นสาวให้แต่งตัวลูกสาวด้วยชุดสีฟ้า 

สีชมพูของเด็กผู้ชาย สีฟ้าของเด็กผู้หญิง

การเริ่มต้นกำหนดสีให้กับเสื้อผ้าของเด็กนั้นเริ่มขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยในเบื้องต้นนั้นได้กำหนดให้สีของเด็กผู้ชายเป็นสีชมพูที่มาจากสีแดงที่สื่อถึงความแข็งแรงและความกล้าหาญ แต่ลดความสดของโทนสีลงมา ส่วนสีของเด็กผู้หญิงเป็นสีฟ้าที่สื่อถึงความอ่อนโยนและสดใสเหมือนสีของท้องฟ้า (นอกจากนี้แล้ว ยังมีความเชื่อที่ว่าสีฟ้าเป็นสีสำหรับเด็กที่มีผมสีทอง ส่วนสีชมพูเป็นสีสำหรับเด็กที่มีผมสีน้ำตาล หรือ สีฟ้าเหมาะสำหรับเด็กที่มีดวงตาสีฟ้า ส่วนสีชมพูนั้นเหมาะกับเด็กที่มีดวงตาสีน้ำตาลอีกด้วย แต่ความเชื่อเหล่านี้ไม่ได้รับความนิยมเท่ากับการแบ่งสีของเด็กตามเพศต่างๆ )

สีชมพู (เคย) เป็นสีของเด็กผู้ชาย และสีฟ้าเองก็ (เคย) เป็นสีของเด็กผู้หญิง!?

ภาพจาก : https://www.thevintagenews.com/2019/05/01/pink-blue/

และในปี 1927 นิตยสาร Time ก็ได้ตีพิมพ์เกี่ยวกับเรื่องสีสันต่างๆ และการแบ่งเพศระหว่างเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชาย ซึ่งในช่วงนั้น ร้านค้าต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาก็พากันลงโฆษณาว่าเสื้อผ้าของเด็กผู้ชายควรจะเป็นสีชมพู เพราะว่าสีชมพูนั้นสื่อถึงสีแดงอ่อนๆ ที่เป็นสีของเครื่องแบบของทหาร (โดยเฉพาะในยุโรป) ในขณะนั้น ส่วนสีฟ้านั้นเป็นสีของชุดที่พระแม่มารีย์สวมใส่เป็นประจำจึงกลายมาเป็นสีที่สื่อถึงเด็กผู้หญิง แต่ความจริงแล้วการกำหนดสีเสื้อผ้าให้กับเด็กนั้นเป็นแผนการตลาดของแบรนด์เสื้อผ้าต่างๆ ที่ต้องการกระตุ้นยอดขายเสียมากกว่า เพราะมันไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องกำหนดสีสันให้กับเสื้อผ้าของเด็กเลย (เช่นเดียวกับการกำหนดให้เด็กผู้ชายสวมกางเกงและเด็กผู้หญิงสวมกระโปรง เพราะในช่วงก่อนหน้านี้ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายก็สามารถใส่ชุดของกันและกันได้โดยไม่ได้มีการแบ่งแยกเพศ ซึ่งในจุดนี้ก็ช่วยประหยัดเงินให้พ่อแม่ได้อย่างมากเลยทีเดียว)

จุดเปลี่ยนที่ทำให้สีชมพูกลายมาเป็นสีของเด็กผู้หญิง และสีฟ้ากลายเป็นสีของเด็กผู้ชาย

อ้างอิงจากหนังสือเรื่อง Pink and Blue : Telling the Boys from Girls in America ของ Jo B. Paoletti ได้ระบุเอาไว้ว่าราวช่วงปี 1960 - 1970 กระแสเฟมินิสต์เริ่มได้รับความสนใจในวงกว้างมากขึ้น ทำให้เริ่มมีการเรียกร้องถึงสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ และเริ่มมีการส่งเสริมให้เด็กสวมใส่ชุดที่มีสีสันที่สื่อออกไปทาง Unisex (สีที่ใส่ได้ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายโดยที่ไม่มีการแบ่งแยกเพศ) มากขึ้น นอกจากนี้แล้วในช่วงนั้นก็ยังไม่มีการทดสอบที่สามารถระบุเพศของเด็กในขณะตั้งครรภ์ได้ ทำให้หลายครอบครัวจำต้องโยนข้าวของเครื่องใช้และเสื้อผ้าที่ซื้อมาตามเพศของลูกที่คาดหวังไว้ทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย ด้วยเหตุนี้เองทำให้กระแสการเลือกซื้อเสื้อผ้าเด็กที่มีสีสันแบบ Unisex ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงมากในช่วงนั้น

แต่กระแสของสีฟ้าและสีชมพูก็เริ่มกลับมาอีกครั้งในช่วงปี 1980 ที่เริ่มมีความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการทดสอบเพศของเด็กทารกในครรภ์ ทำให้บรรดาพ่อแม่สามารถคาดการณ์เพศของลูกได้และซื้อข้าวของเครื่องใช้และเสื้อผ้าให้กับลูกได้ถูกต้องตามเพศของเด็กมากขึ้น ซึ่งในคราวนี้ แบรนด์เสื้อผ้าต่างพากันผลักดันให้สีชมพูเป็นสีของเด็กผู้หญิงเพราะดูเป็นสีที่แสดงถึงความอ่อนหวานและอ่อนโยนแทน ส่วนสีฟ้าก็ดูเหมือนว่าจะเป็นสีที่สื่อถึงความสุขุมและกลับกลายเป็นสีของเด็กผู้ชายไปในที่สุด

สีชมพู (เคย) เป็นสีของเด็กผู้ชาย และสีฟ้าเองก็ (เคย) เป็นสีของเด็กผู้หญิง!?

ภาพจาก : https://www.dailybreak.com/break/cabinet-of-curiosities-blue-for-boys-pink-for-girls

และถึงแม้ว่าทางบริษัทต่างๆ จะผลักดันแผนการตลาดในการแบ่งแยกสีจากเพศของเด็กเพื่อกระตุ้นยอดขายให้กับเสื้อผ้าและของเล่นต่างๆ แต่ความจริงแล้วสีไม่มีเพศ มนุษย์ต่างหากที่เป็นคนกำหนดเพศให้กับสีนั้นๆ และเราเชื่อว่าในตอนนี้น่าจะหมดยุคของการเลือกซื้อข้าวของเครื่องใช้หรือเสื้อผ้าให้กับเด็กตามเพศกำเนิดแล้ว เพราะสีทุกสีเป็นของคนทุกเพศบนโลกใบนี้ นอกจากนี้แล้ว สีสันต่างๆ ของเสื้อผ้าก็ไม่ได้บ่งบอกถึงเพศของเด็กคนนั้นๆ เพราะในท้ายที่สุดแล้วเราก็ยังไม่ทราบเพศที่แน่ชัดของเด็กคนนั้นจนกว่าจะเริ่มโตขึ้นอีกอยู่ดี


ที่มา : www.rd.com , www.businessinsider.com , jezebel.com , www.smithsonianmag.com , www.thevintagenews.com , www.dailybreak.com

 

0 %E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9+%28%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2%29+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%87+%28%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A2%29+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%21%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่..
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ