ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

การค้นพบสีม่วงสังเคราะห์ครั้งแรกเกิดจากความบังเอิญ แล้วย้อมโลกนี้ให้เปลี่ยนไปตลอดกาล

การค้นพบสีม่วงสังเคราะห์ครั้งแรกเกิดจากความบังเอิญ แล้วย้อมโลกนี้ให้เปลี่ยนไปตลอดกาล

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 9,674
เขียนโดย :
0 %E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%8D+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

การค้นพบสีม่วงที่เกิดจากความบังเอิญ

ในปี ค.ศ. 1856 William Henry Perkin (วิลเลียม เฮนรี เพอร์กิน) นักศึกษาสาขาเคมี พยายามทดลองหาวิธีผลิตยาควินิน ขณะนั้นโรคมาลาเรียกำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก ใครที่คิดค้นกรรมวิธีผลิตยาควินินที่ดีกว่าเดิมได้ นั่นหมายถึงโอกาสที่จะไขว่คว้าทั้งชื่อเสียง และเงินทอง แต่การทดลองของเขากลับล้มเหลวไม่เป็นท่า อย่างไรก็ตาม แม้สารเคมีที่เขาทดลองจะไม่สามารถกลายเป็นยาควินินได้อย่างใจหวัง แต่ในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้น ได้นำไปสู่การค้นพบใหม่ที่โลกไม่เคยรู้จักมาก่อน มันเป็นของเหลวที่ทำให้ทุกสิ่งที่ถูกสัมผัสกลายเป็น "สีม่วง" นั่นเอง คือ การกำเนิดของสีย้อมสังเคราะห์ครั้งแรกของโลก

การค้นพบที่สุดแสนจะบังเอิญ

William Henry Perkin ในวัย 18 ปี อาศัยเวลาในช่วงวันหยุดของเทศกาลอีสเตอร์กลับมาทำการทดลองทางที่บ้าน โครงการทดลองของเขาเป็นงานส่วนหนึ่งของศาสตราจารย์ Wilhelm Hofmann ที่กำลังหากรรมวิธีในการผลิตยาควินินแบบใหม่จาก Coal tar (น้ำมันดินที่สกัดจากถ่านหิน หรือซากพืช) แทน

การค้นพบสีม่วงสังเคราะห์ครั้งแรกเกิดจากความบังเอิญ แล้วย้อมโลกนี้ให้เปลี่ยนไปตลอดกาล
ภาพ William Henry Perkin ในวัย 14 ปี

ขณะนั้น ยาควินินจะถูกสกัดจากเปลือกของต้นซิงโคนา ซึ่งมีต้นทุนการผลิตสูงมาก Perkin มีความคิดที่จะใช้ Coal tar ที่เป็นซากตะกอนจากการเผาไหม้ในน้ำมันตะเกียงมาใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาควินินสังเคราะห์ เนื่องจากมันมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายคลึงกับสารสกัดจากต้นซิงโคนา ขั้นตอนการทดลองนี้ค่อนข้างมีความอันตราย ก่อนหน้านี้มีลูกศิษย์ของ Hofmann คนหนึ่งได้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ไฟลุกไหม้ระหว่างทดลองมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองเคมีที่เขานั่งทำอยู่นาน ไม่ออกมาเป็นของเหลวสีใสที่เป็นสีธรรมชาติของควินินตามที่เขาหวัง ที่ปรากฏอยู่ในหลอดทดลองเป็นของเหลวสีดำที่บ่งบอกว่าการทดลองของเขานั้น...ล้มเหลว

แต่ Perkin พบว่าเจ้าของเหลวสีดำที่กระเซ็นมาโดนเสื้อผ้าของเขา ในระหว่างที่ตอนที่เขากำลังล้างหลอดทดลองด้วยแอลกอฮอล์นั้น เจ้าของเหลวสีดำได้แปรสภาพกลายเป็นสีม่วงสุดสดใสแทน

ถูกสี และถูกเวลา

ในยุค ค.ศ. 1856 เฉดสีที่มาแรงที่สุดของแฟชั่นในฤดูใบไม้ผลิ จะมาในโทนสีชมพู, แดง และม่วง กรรมวิธีย้อมสีผ้าในยุคนั้นจะใช้สีที่สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่เหตุผลจากการรักธรรมชาติ แต่เป็นเพราะโลกในเวลานั้น ยังไม่มีใครคิดค้นสีย้อมสังเคราะห์ขึ้นมาสำเร็จ ความรู้ทางเคมีถูกใช้แค่ในอุตสาหกรรมเป็นหลัก โลกแฟชั่นนั้นมีความเกี่ยวข้องที่ห่างไกลจากเคมีแบบสุดๆ

สีม่วงในเวลานั้น ถือเป็นสีไฮโซ ต้องเป็นผู้ดีมีเงินเท่านั้น ถึงจะมีโอกาสครอบครองเสื้อผ้าสีม่วงได้ เพราะตอนนั้นสีม่วงที่ใช้ย้อมผ้าได้มาจากเปลือกหอยทะเลชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่แค่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเท่านั้น ซึ่งขั้นตอนการสกัดเอาสีม่วงจากเปลือกหอยนั้นก็มีความซับซ้อน และยากลำบาก

Perkin มองเห็นโอกาสของสีม่วงที่เขาสังเคราะห์ขึ้นมาได้ในทันที หลังจากที่จดลิขสิทธิ์สีย้อมสังเคราะห์สีม่วงนี้สำเร็จแล้ว เขาเริ่มมองหาโอกาสที่จะนำมันเข้าสู่ระดับอุตสาหกรรม เขากับพ่อได้ตัดสินใจเปิดโรงงานย้อมสีของตนเองในปี 1857 และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สีม่วงที่เคยเป็นสีไฮโซ มีต้นทุนการผลิตที่ถูกลง และคนธรรมดามีโอกาสได้จับต้องมากขึ้น

ความได้เปรียบของสีม่วงสังเคราะห์ที่ Perkin สร้างขึ้น นอกจากจะมีราคาถูกว่าแล้ว มันยังทนกว่าด้วย สามารถซักแล้วนำไปตากแดดได้ โดยที่สีไม่ซีดลงเหมือนกับสีย้อมจากธรรมชาติ 

ในตอนแรกสีม่วงของเขาถูกตั้งชื่อว่า "Tyrian purple" ต่อมาในปี 1859 Perkin ได้ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อมันเป็น "Mauve" (ออกเสียงคล้ายกับคำว่า "ม่วง" ในภาษาไทย ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า เราเรียกชื่อสีนี้ตามชาวต่างชาติหรือไม่) 

การค้นพบสีม่วงสังเคราะห์ครั้งแรกเกิดจากความบังเอิญ แล้วย้อมโลกนี้ให้เปลี่ยนไปตลอดกาล
ตัวอย่างผ้าที่ย้อมด้วยสีย้อมสังเคราะห์ของ Perkin เมื่อปี 1860

ความสำเร็จที่เปลี่ยนโลก

แม้การคิดค้นสีย้อมสังเคราะห์ได้เป็นคนแรกจะมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ แต่มันก็ดูน่าสงสัยที่จะกล่าวว่ามันเปลี่ยนโลกนี้ได้ หลังจากสี Mauve ถูกคิดค้น หลายปีผ่านไป Fuchine magenta (สีชมพู) ได้กลายเป็นกระแสหลักแทน ซึ่งคนคิดค้นก็ไม่ใช่ใคร Perkin อีกนั่นเอง หรือสีม่วงอีกเฉดสีอย่าง Hofmann violet ก็ถูกคิดค้นขึ้น ดูจากชื่อก็เดาได้ไม่ยากว่าผู้คิดค้นคืออาจารย์ของ Perkin นั่นเอง

การค้นพบสีม่วงสังเคราะห์ครั้งแรกเกิดจากความบังเอิญ แล้วย้อมโลกนี้ให้เปลี่ยนไปตลอดกาล

ที่บอกว่าการค้นพบของ Perkin นั้นเปลี่ยนโลก ก็เพราะหลังจากนั้นสินค้าต่างๆ ที่ถูกผลิตขึ้น เริ่มมีสีสันที่หลากหลาย มีความสวยงามมากขึ้น ความนิยมนี้ยังเป็นประตูบานแรกที่เปิดให้การพัฒนาการทางเคมีสาขาใหม่ๆ เกิดขึ้น สีทาบ้าน, สีน้ำมัน, สีย้อมผ้า ก็มีรากฐานจากการค้นพบของ Perking นี่แหละ รวมไปถึงนำไปสู่การคิดค้นวัสดุทางเคมีอย่างเช่น ยางสังเคราะห์, เส้นใยไนลอน หรือยาเพนนิซิลิน ฯลฯ

ยังไม่หยุดที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ

แม้การค้นพบสีย้อมสังเคราะห์จะทำให้เขามีทั้งชื่อเสียง และเงินทองแล้ว แต่ William Henry Perkin ยังคงทำการทดลองทางด้านเคมีเพื่อคิดค้นสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เขาสร้างสีย้อมสังเคราะห์สีใหม่อย่าง Britannia Violet และ Perkin's Green

Perkin ยังเป็นค้นพบวิธีสังเคราะห์ Coumarin ได้เป็นคนแรก ซึ่งเป็นสารเคมีที่สำคัญสำหรับใช้ในการทำน้ำหอม และกรดซินนามิก (Cinnamic acid) ในภายหลังขั้นตอนการสังเคราะห์กรดชนิดนี้ได้ถูกตั้งชื่อเรียกว่าปฏิกิริยาเพอร์กิน (Perkin reaction
)

การค้นพบสีม่วงสังเคราะห์ครั้งแรกเกิดจากความบังเอิญ แล้วย้อมโลกนี้ให้เปลี่ยนไปตลอดกาล
การสังเคราะห์กรดซินนามิกผ่านปฏิกิริยาเพอร์กิน


ตลอดชีวิตของ William Perkin ได้รับรางวัลมากมาย ทั้ง Royal Medal, Davy medal และได้รับแต่งตั้งยศอัศวิน ในปี 1906 มีการแต่งตั้งรางวัล Perkin Medal ขึ้นมาเพื่อระลึกถึงโอกาสที่สี Mauve ถูกคิดค้นครบรอบ 50 ปี ซึ่งทุกวันนี้เหรียญ Perkin เป็นรางวัลที่ได้รับจาก Society of Chemical Industry เป็นประจำทุกปี โดยนักวิทยาศาสตร์ที่อาศัยอยู่ในอเมริกา โดยจะมอบให้แก่ผู้ที่คิดค้น "นวัตกรรมทางด้านเคมีประยุกต์ที่นำไปสู่การพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่โดดเด่น" ถือว่าเป็นเกียรติสูงสุดในอุตสาหกรรมเคมีของสหรัฐอเมริกา

"คนอยู่ไม่นาน ผลงานอยู่นิรันดร์" น่าจะเป็นวลีที่เราสามารถใช้กับ William Henry Perkin ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ

การค้นพบสีม่วงสังเคราะห์ครั้งแรกเกิดจากความบังเอิญ แล้วย้อมโลกนี้ให้เปลี่ยนไปตลอดกาล

 


ที่มา : edition.cnn.com , www.rsc.org , en.wikipedia.org , www.simongarfield.com , www.sciencehistory.org , canongate.co.uk , www.wired.com , webarchive.nationalarchives.gov.uk , www.library.wisc.edu

 

0 %E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%8D+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ