ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

ทำไมบางคนถึงหลงเชื่อใน Pseudoscience ทั้งๆ ที่บางครั้งดูเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อถือ?

ทำไมบางคนถึงหลงเชื่อใน Pseudoscience ทั้งๆ ที่บางครั้งดูเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อถือ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 6,147
เขียนโดย :
0 %E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%99+Pseudoscience+%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%86+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยได้ยินเรื่องของ Pseudoscience (วิทยาศาสตร์มายา) กันมาบ้าง ถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะไม่ทราบว่าสิ่งที่เราได้ยินหรือได้เห็นผ่านตามาเป็น Pseudoscience ก็ตามที เพราะบางครั้งมันก็ดูเหมือนเป็นแค่คำพูดลอยๆ หรือความเชื่อส่วนบุคคลของคนบางกลุ่มเพียงเท่านั้น

Pseudoscience หรือวิทยาศาสตร์มายา นี้เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่มีพื้นฐานมาจากความคิดและความเชื่อของบุคคลนั้นๆ และเป็นศาสตร์ที่ได้รับความนิยมสูงในคนบางกลุ่มแม้ว่าจะไม่มีมูลความจริงที่เชื่อถือได้ หรือมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์เพื่อยืนยันความจริงเลยก็ตาม โดย Pseudoscience นี้เป็นการรวมกันของคำว่า Pseudo ที่แปลว่า หลอก หรือปลอม เข้ากับคำว่า Science ที่หมายถึงวิทยาศาสตร์ ดังนั้นถึงแม้ว่ามันจะมีคำว่า “วิทยาศาสตร์” ประกอบร่วมด้วยก็ไม่ได้ทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นมาแต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงแค่วิทยาศาสตร์แบบปลอมๆ หรือวิทยาศาสตร์มายานั่นเอง

เนื่องด้วยวิทยาศาสตร์นั้นเป็นศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริงที่จะต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้งการตั้งข้อสังเกต, ถามคำถาม, วางสมมติฐาน, ทดสอบ, วิเคราะห์ และสรุปออกมาเพื่อยืนยันทฤษฎีหรือสมมติฐานที่เราตั้งเอาไว้ในตอนต้น และยังต้องสามารถที่จะสำรวจ, ตรวจสอบ, พิสูจน์, ทดลอง และกระทำซ้ำได้โดยผู้อื่นได้ในสภาพแวดล้อมเดิม และผลลัพธ์ของมันจะออกมาเหมือนหรือคล้ายเดิมในทุกครั้ง

ทำไมบางคนถึงหลงเชื่อใน Pseudoscience ทั้งๆ ที่บางครั้งดูเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อถือ?

ภาพจาก : https://newmr.org/blog/what-is-the-scientific-method-and-how-does-it-relate-to-insights-and-market-research/

แต่หลักการของ Pseudoscience นั้นไม่สามารถที่จะพิสูจน์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ และมักจะยกทฤษฎีหรือคำพูดของบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือน่าเชื่อถือในด้านนั้นๆ มาบิดเบือนความจริงประกอบกับข้อความชวนเชื่อต่างๆ เพื่อชักจูงให้ผู้คนหลงเชื่อ โดยอาจมีจุดประสงค์เพื่อขายสินค้าและบริการ หรือเพื่อกระจายคิดและความเชื่อแบบผิดๆ ไปในวงกว้าง ซึ่ง Pseudoscience นี้ไม่เพียงแต่จะเป็นความเชื่อในเชิงวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือทางการแพทย์เพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเรื่องของจิตวิทยา, สิ่งแวดล้อม และวิทยาศาสตร์ในรูปแบบอื่นๆ ด้วย

โดยคำว่า Pseudoscience นั้นได้เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1796 โดยนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อว่า James Pettit Andrew โดยเขาได้กล่าวถึงศาสตร์การเล่นแร่แปรธาตุว่าเป็น “วิทยาศาสตร์มายาที่เพ้อฝัน (Fantastical Pseudo-science)” และคำๆ นี้ก็ได้รับคำนิยมสูงมากขึ้นในช่วงปี 1880 เป็นต้นมา

ทำไมคนเราจึงหลงเชื่อ Pseudoscience? 

แม้ว่า Pseudoscience บางอย่างจะดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่มีความน่าเชื่อถือเลยแม้แต่น้อย แต่เราก็ยังคงเห็นผู้คนมากมายที่หลงเชื่อในศาสตร์แขนงนี้ โดยนักวิทยาศาสตร์และนักจิตวิทยาได้ร่วมกันอธิบายว่าการที่ผู้คนส่วนหนึ่งหลงเชื่อใน Pseudoscience น่าจะมาจากเหตุผลดังต่อไปนี้

  1. บุคคลที่เชื่อนั้นไม่เข้าใจถึงหลักวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ซึ่งก็ไม่แปลกอะไรสำหรับผู้คนทั่วไปในสังคมที่ไม่ได้คลุกคลีกับวิทยาศาสตร์เป็นประจำ ดังนั้นเมื่อมีการยกนำเอาคำพูดของบุคคลที่มีชื่อเสียง หรือการโฆษณาชวนเชื่อโดยใช้ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่มีการยกทฤษฎีหรือการทดลองแบบหลอกๆ ขึ้นมาประกอบทำให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้นก็ทำให้ใครหลายคนหลงเชื่ออย่างง่ายดาย
  2. Pseudoscience เป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ดูน่าตื่นเต้น ถึงแม้บางครั้งจะดูไม่น่าเชื่อถือแต่ข้อความนั้นก็จูงใจให้สนใจและอยากที่จะอ่านข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อเข้าไปอ่านรายละเอียดแล้วพบเจอกับบรรดารายชื่อของนักวิทยาศาสตร์ที่ยกมาอ้างอิง หรือเห็นถึงกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ที่ดูเหมือนจะน่าเชื่อถือก็ทำให้ความเชื่อโน้มเอียงไปได้
  3. บุคคลเหล่านั้นถูกชักจูงด้วยคำพูดและการแสดงข้อเท็จจริงแบบปลอมๆ โดยที่ไม่ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนเลือกที่จะเชื่อ เช่น เป็นคำพูดหรือคำเตือนจากบุคคลที่รู้จัก หรืออาจเป็นสิ่งที่เราเห็นบ่อยๆ จนชินตา และเราก็เลือกที่จะเชื่ออย่างนั้น แม้จะมีงานวิจัยหรือการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์ออกมาแย้งแล้วก็ตาม แต่เราก็ยังคงมีอคติและต้องการเลือกที่จะเชื่อในสิ่งเดิมอยู่

ซึ่งข้อเท็จจริงบางอย่างทางวิทยาศาสตร์ก็อาจเปลี่ยนเป็นความเชื่อในแบบ Pseudoscience ได้ หากมีการค้นพบหรือมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมา เช่น ในสมัยก่อนอาจเชื่อว่าโรคมะเร็งเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ได้มีการค้นพบว่าหากตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ในระยะแรกๆ ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ หรือในระยะท้ายๆ ก็มีการค้นพบหนทางในการรักษาและประคับประคองอาการไว้ได้ (สำหรับความเชื่อที่ว่ากัญชาสามารถรักษามะเร็งได้นั้นก็ยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัดว่ามันจะสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งในมนุษย์ได้จริงหรือไม่ จึงทำให้ความเชื่อเรื่องนี้ยังคงเป็น Pseudoscience อยู่)

ทำไมบางคนถึงหลงเชื่อใน Pseudoscience ทั้งๆ ที่บางครั้งดูเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อถือ?

ภาพจาก : https://www.thedailystar.net/health/cancer-now-leading-cause-of-death-1797058

แน่นอนว่าเราก็ไม่มีทางที่จะบังคับให้ทุกคนยึดถือในหลักวิทยาศาสตร์ได้ และเรื่องของความเชื่อส่วนบุคคลก็เป็นสิ่งที่ห้ามกันได้ยาก แต่เราแค่ต้องการที่จะอธิบายถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้จากการหลงเชื่อในศาสตร์ของ Pseudoscience เพียงเท่านั้น เพราะส่วนมากแล้วมันมักจะมาพร้อมกับการขายสินค้าหรือบริการชวนเชื่อที่จะดูดเงินมหาศาลของคุณไปโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการหลอกขายสินค้าอย่าง “กำไลข้อมือแม่เหล็กที่ช่วยเสริมทักษะด้านกีฬา” หรือการหลอกให้ซื้อบริการอย่าง “การเจาะเลือดวัดความสามารถพิเศษของเด็ก” เพราะในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่เรื่องที่สามารถพิสูจน์ได้อย่างง่ายดายขนาดนั้น หรืออาจเป็นสิ่งที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่าง “ยาชุด” ที่เชื่อกันว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดต่างๆ ได้จริง เพราะส่วนมากแล้วยาชุดที่ขายกันโดยทั่วไปนั้นมักจะเป็นยาที่มีการผสมสารสเตรียรอยด์ที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าหายจากอาการเจ็บป่วยนั้นจริง แต่ในระยะยาวนั้นจะส่งผลเสียกับร่างกาย ส่วนยาตัวอื่นภายในชุดเดียวกันนั้นอาจเป็น “ยาแป้ง” ที่ไม่ได้มีตัวยาใดๆ ผสมอยู่เลยก็เป็นได้ และการหลงเชื่อในศาสตร์ของ Pseudoscience บางอย่างก็อาจสร้างความเดือดร้อนให้กับบุคคลรอบข้างได้ เช่น ความเชื่อของชาวอเมริกันกลุ่ม Anti-Vaxxer ที่มองว่า “การฉีดวัคซีนเป็นเพียงแค่การหลอกเอาเงินของแพทย์ที่สิ้นเปลืองเงินโดยเปล่าประโยชน์” และไม่พาลูกของพวกเขาไปฉีดวัคซีน ซึ่งความเชื่อเช่นนี้นอกจากจะเป็นอันตรายต่อตัวเด็กแล้ว ยังอาจสร้างความเดือดร้อนให้กับบุคคลอื่นๆ รอบข้างได้อีกด้วย

ทำไมบางคนถึงหลงเชื่อใน Pseudoscience ทั้งๆ ที่บางครั้งดูเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อถือ?

ภาพจาก : https://www.nytimes.com/2019/01/19/opinion/vaccines-public-health.html

นอกจากนี้แล้ว มันไม่ได้มีเพียงแค่ Pseudoscience หรือวิทยาศาสตร์มายา เพียงเท่านั้น แต่ยังมีศาสตร์ Pseudo ในแขนงอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็น Pseudohistory (ประวัติศาสตร์มายา), Pseudophilosophy (ปรัชญามายา) หรือแม้กระทั่ง Pseudomathematics (คณิตศาสตร์มายา) อีกด้วย โดยหลักการของมันก็เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ หลักการของ Pseudo นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถที่จะพิสูจน์ความจริงในเชิงประจักษ์ได้ แต่การที่มันได้รับความนิยมสูงในปัจจุบันเป็นเพราะว่า

มนุษย์เรามักเลือกเชื่อในสิ่งที่เราต้องการจะเชื่อให้มันเป็นความจริงนั่นเอง”


ที่มา : en.wikipedia.org , gizmodo.com , plato.stanford.edu

 

0 %E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%83%E0%B8%99+Pseudoscience+%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%86+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่..
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ