ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

รู้หรือไม่ เทคโนโลยี Wi-Fi เกิดขึ้นได้ ส่วนหนึ่งมีผลพวงมาจากทฤษฏีของสตีเฟน ฮอว์กิง

รู้หรือไม่ เทคโนโลยี Wi-Fi เกิดขึ้นได้ ส่วนหนึ่งมีผลพวงมาจากทฤษฏีของสตีเฟน ฮอว์กิง

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 5,268
เขียนโดย :
0 %E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88+%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5+Wi-Fi+%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89+%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8F%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%99+%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%87
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

Wi-Fi กับสตีเฟน ฮอว์กิง

ทุกวันนี้ Wi-Fi เป็นเทคโนโลยีใช้กันอย่างแพร่หลาย และเป็นคำที่แทบจะถูกใช้แทนความหมายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปแล้ว แม้ในความเป็นจริง W-Fi กับอินเทอร์เน็ตจะเป็นคนละเรื่องก็ตาม 

Wi-Fi ย่อมาจากคำว่า Wireless Fidelity คือ เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สายที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ หรือเครือข่าย ทำงานบนมาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งการคิดค้น Wi-Fi มีที่มาที่น่าสนใจทีเดียวครับ

จุดเริ่มต้นจากมาตรฐาน 802.11

ในปี ค.ศ. 1985 ถูกกำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (U.S. Federal Communications Commission) หรือ FCC ที่ประกาศให้ย่านความถี่ 2.4GHz เป็นช่วงความถี่สำหรับใช้ในกิจการด้านอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และการแพทย์ (ISM) ได้โดยที่ไม่ต้องขอใบอนุญาต

ต่อมาในปี ค.ศ. 1991 บริษัท NCR Corporation ภายใต้การนำของ วิค เฮยส์ (Vic Hayes) ชายผู้ถูกเรียกว่าเป็นบิดาแห่ง Wi-Fi ได้ร่วมกันกับ AT&T Corporation หวังพัฒนาระบบเครื่องเก็บเงินแบบไร้สายขึ้นมา มันถูกเรียกว่า WaveLAN ทำงานบนระบบ 802.11 ซึ่งในภายหลังถูกเรียกว่า IEEE 802.11

 IEEE ย่อมาจาก Institute of Electrical and Electronics Engineers (สถาบันวิชาชีพวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์) เป็นสถาบันวิชาชีพระดับนานาชาติที่ไม่หวังผลกำไร ทำหน้าที่ดูแลเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ โดย IEEE เป็นสถาบันวิชาชีพที่มีสมาชิกมากที่สุดในโลก (มากกว่า 360,000 คนใน 175 ประเทศ)

วิค เฮยส์ได้ดำรงตำแหน่งประธานของ IEEE กว่า 10 ปี และได้กำหนดมาตรฐาน IEEE 802.11 ขึ้นในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่

แล้วมันเกี่ยวอะไรกับสตีเฟน ฮอว์กิง?

สตีเฟน ฮอว์กิง เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี นักจักรวาลวิทยา และนักเขียน ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ผู้ยิ่งใหญ่ เขาคิดค้นทฤษฏีสำคัญที่ช่วยให้การศึกษาด้านจักรวาลก้าวหน้าขึ้นอย่างมหาศาล การทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าด้วยหลุมดำมีการปล่อยรังสีออกมา เป็นความรู้ที่ได้รับการยกย่องจนมีการตั้งชื่อรังสีดังกล่าวว่ารังสีฮอว์กิง

อย่างไรก็ตาม ความอัจฉริยะของเขาก็ไม่เคยเข้าไปข้องเกี่ยวกับการสร้างระบบ Wi-Fi ...ในทางตรง

ในปี ค.ศ. 1990 จอห์น โอ ซัลลิแวน (John O’Sullivan) เป็นนักฟิสิกส์ และวิศวกรชาวออสเตรเลียที่ได้รับแรงบันดาลใจจากทฤษฎีการระเหยของหลุมดำ (Evaporating black holes) และคลื่นวิทยุที่หลุมดำกระจายออกมา (Subsequent radio waves) โดยเขาต้องการศึกษาข้อมูลจากทฤษฎีของสตีเฟน ฮอว์กิง 

ปัญหาก็คือ กว่าคลื่นดังกล่าวจะเดินทางมาถึง มันต้องฝ่าระยะทางมาไกลมากหลายล้านปีแสง แล้วยังถูกบิดเบือนซ้ำด้วยฝุ่นละออง และกลุ่มก๊าซระหว่างที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน นั่นทำให้กว่าคลื่นจะเดินทางมาถึงโลกได้ ลักษณะของมันก็แทบไม่คงเหลือสภาพเดิมได้แล้ว 

นั่นทำให้จอห์น โอ ซัลลิแวน และทีมนักวิจัยของเขา พยายามสร้างเครื่องมือสำหรับตรวจจับ และคัดแยกคลื่นความถี่ที่ต้องการออกมาจากก้อนข้อมูลของคลื่นที่ยุ่งเหยิง ซึ่งความพยายามก็ไม่ทรยศพวกเขา เขาคิดค้นเครื่องมือโดยอาศัยสูตรสมการคณิตศาสตร์ในการวิเคราะห์คลื่นได้สำเร็จ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ล้มเหลว คือ สุดท้ายเขาก็ยังไม่ค้นพบคลื่นความถี่จากหลุมดำอยู่ดี ทำให้โครงการนี้ถูกพับเก็บไป

เวลาเดินทางเข้าสู่ ค.ศ. 1992

จอห์น โอ ซัลลิแวน ได้เปลี่ยนงานมาทำที่องค์การเครือจักรภพวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม (Commonwealth Scientific and Industrial Research Organisation (CSIRO)) เขาได้รับมอบหมายให้หาวิธีการที่จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารหากันได้แบบไร้สาย

IEEE 802.11 เป็นของที่มีอยู่แล้วและเหมาะสมกับปัญหานี้ แต่มันมีปัญหาด้านเทคนิคอยู่ เรารู้แล้วว่า Wi-Fi ทำงานผ่านคลื่นความถี่วิทยุ แต่ปัญหาคือ ธรรมชาติของคลื่นมันมีการสะท้อนกลับเมื่อชนกับกำแพง นั่นทำให้สัญญาณถูกบิดเบือนให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม จอห์น โอ ซัลลิแวน ได้เอาชนะทีมนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ ที่หาทางแก้ปัญหานี้อยู่อย่างไม่ยากเย็นนัก ด้วยการเอาสิ่งประดิษฐ์เก่าของเขา ที่เดิมทีสร้างมาเพื่อใช้วิจัยทฤษฎีของสตีเฟน ฮอว์กิง มาใช้แก้ปัญหานี้

สมการที่เคยถูกใช้แก้ปัญหาแยกแยะคลื่นจากหลุมดำกลายมาเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ระบบ Wi-Fi สามารถทำงานได้ในสิ่งแวดล้อมจริงที่เต็มไปด้วยสัญญาณรบกวน


นับเป็นเรื่องบังเอิญที่สนุกทีเดียว จากเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นมาศึกษาทฤษฎีของสตีเฟน ฮอว์กิง ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ Wi-Fi เกิดขึ้นได้

แถมเกร็ดน่าสนใจ

Cees Links เคยอยู่ในทีมพัฒนาระบบเครือข่ายไร้สายที่ NCR Corporation แม้ Wi-Fi จะสร้างสำเร็จแล้ว แต่เชื่อหรือไม่กว่าเขาใช้ความพยายามกว่า 10 ปี ในการพยายามแนะนำเทคโนโลยีนี้สู่ผู้บริโภคแต่ไม่มีใครสนใจ ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าสายแลนที่มีอยู่ก็ดีอยู่แล้ว ใครจะต้องการจ่ายเงินเพิ่มเพื่อ Wi-Fi กัน

จนกระทั่งวันหนึ่งสตีฟ จอบส์ แห่ง Apple ได้ให้ความสนใจ และตัดสินใจนำมันมาใส่ในโน้ตบุ๊คเป็นครั้งใน Apple iBooks เปิดตัวด้วยการใช้ห่วงฮูลาฮูปลอดผ่านเครื่องด้วย เพื่อยืนยันว่าไร้สายจริงๆ


ที่มา : www.thefactsite.com , www.thoughtco.com , th.wikipedia.org , www.cablefree.net , th.wikipedia.org , th.wikipedia.org , en.wikipedia.org , www.nationalgeographic.com.au

 
0 %E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88+%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5+Wi-Fi+%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89+%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8F%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%99+%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%87
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ