หลังจากที่มีข่าวเรื่องการระบาดของ เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ จากประเทศจีนที่คาดว่ามี ต้นกำเนิดมาจากตลาดสด Huanan ที่ขายอาหารทะเล (และสัตว์แปลก) ในจังหวัด Wuhan ประเทศจีนเมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทางกระทรวงสาธารณสุขประจำจังหวัด Wuhan ก็ได้ออกมายอมรับว่ามีผู้ป่วยราว 27 รายที่มาด้วย อาการคล้ายปอดอักเสบและเกิดการติดเชื้อผิดปกติ เข้ารักษาภายในโรงพยาบาล เมื่อซักอาการก็พบว่าผู้ป่วยทั้งหมดนี้เคยไปที่ตลาด Huanan ด้วยกันทั้งสิ้น จึงสงสัยว่าอาจติดเชื้อมาจากพื้นที่เดียวกัน จึงได้ทำการ ปิดตลาด Huanan และค้นหาสาเหตุ ของการเกิดโรคในครั้งนี้ แต่ก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ ที่บ่งชี้ถึงไวรัสชนิดนี้
ภาพรายการสัตว์ที่วางจำหน่ายในตลาด Huanan จะเห็นได้ว่ามีทั้งบีเวอร์, กวาง, อูฐ, นกยูง, ลา, หมาป่า หรือแม้กระทั่งโคอาลา
ภาพจาก : https://www.dimsumdaily.hk/huanan-seafood-market-in-wuhan-sells-camels-koalas-crocodiles-peacocks-and-peacocks-etc-before-closure/
ต่อมาทางองค์การอนามัยโลก (WHO - World Health Organization) ก็ได้ออกมาประกาศว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้น่าจะเป็น ไวรัสกลุ่มโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (2019 n-CoV) ในตระกูลเดียวกับโรค SARS ที่เป็นเชื้อไวรัสจากค้างคาวที่เคยระบาดจากประเทศจีนในปี 2002 และโรค MERS ที่เป็นเชื้อไวรัสจากอูฐที่เคยระบาดในแถบตะวันออกกลางช่วงปี 2012 ซึ่งหลังจากนำเอาเชื้อของผู้ป่วยไปตรวจอย่างละเอียดก็พบว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้น่าจะเป็นเชื้อที่เกิดจากการผสมกันของสารพันธุกรรมระหว่าง ไวรัสโคโรนาของค้างคาวและงูเห่า ก่อนจะเกิดการกลายพันธุ์มาติดต่อสู่มนุษย์ได้
โดย เชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus) นี้ เป็นเชื้อไวรัสที่มีสารพันธุกรรมเป็น RNA มีโปรตีนเป็นเปลือกหุ้มด้านนอกและคลุมด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นปุ่มๆ (Spikes) ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ทำให้เมื่อส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจะมีลักษณะคล้ายมงกุฎ (Crown หรือ Corona ในภาษาละติน) ล้อมรอบ ซึ่งไวรัสชนิดนี้ มักพบในสัตว์ เช่น สัตว์ปีก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์เลื้อยคลาน แต่ไวรัสโคโรนาบางชนิดก็เกิดการ กลายพันธุ์และแพร่กระจายมาสู่มนุษย์ และก่อให้เกิดโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonotic Infection) ได้เช่นกัน โดยทั่วไปแล้วไวรัสโคโรนาที่พบจะเป็นชนิดที่ ติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
ภาพของ Coronavirus ผ่านกล้องจุลทรรศน์
ภาพจาก : https://www.dw.com/en/new-strain-of-coronavirus-behind-lung-infections-in-china/a-51942489
ซึ่งเมื่อมีรายงานเรื่องการ เสียชีวิต ของผู้ป่วยรายแรกในประเทศจีน (วันเสาร์ที่ 11 มกราคม 2020) และมีการ ตรวจพบผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีน เป็นครั้งแรกในประเทศไทย (วันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2020) กรมการควมคุมโรค หรือ CDC (The Centers for Disease Control and Prevention) ของจีนก็ได้ออกมาประกาศข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไวรัสชนิดนี้เพื่อให้ประเทศอื่นๆ ได้ทำการ คัดกรองผู้ป่วย และเพิ่มมาตรการความปลอดภัยของการตรวจคนเข้าเมืองที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัด Wuhan หรือเดินทางมาจากประเทศจีนจะได้รับการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ
ภาพจาก : https://www.thejakartapost.com/news/2020/01/24/china-shuts-down-13-cities-as-virus-toll-climbs.html
สถานการณ์เรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสชนิดนี้เริ่มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และจำนวนยอดผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ สอดคล้องกับที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมาประกาศว่าเชื้อไวรัสชนิดนี้เกิดการ “กลายพันธุ์” จนสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ (20 มกราคม 2020)
จากนั้นกรมการควมคุมโรค (CDC) ก็ได้ออกมาประกาศ เตือนภัยระดับ 3 ว่าให้หลีกเลี่ยงการเดินทางยังประเทศจีน โดยเฉพาะจังหวัด Wuhan (23 มกราคม 2020) ซึ่งภายในวันเดียวกันนั้นเอง ทางรัฐบาลจีนได้ออกมา ประกาศปิด (Shutdown) จังหวัด Wuhan, Huanggang และ Ezhou ลงแต่ยังไม่มีรายงานเรื่องการอพยพผู้คนภายในเมืองแต่อย่างใด
ภาพจาก : https://www.businessinsider.com/china-wuhan-coronavirus-quarantine-extended-cities-cut-off-2020-1
องค์การอนามัยโลก (WHO - World Health Organization) ได้ออกมาให้ความเห็นว่าการประกาศสั่งปิดเมืองอย่างกะทันหันของรัฐบาลจีนนี้เป็นสิ่งที่ เหนือความคาดหมาย ทำให้ผู้คนเกือบ 20 ล้านคนถูกทิ้งร้างไว้ในเมือง รวมทั้งชาวต่างชาติที่เดินทางไปเที่ยวและนักศึกษาแลกเปลี่ยนของประเทศอื่นๆ เองก็ไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเองได้ด้วยเช่นกัน
“การสั่งปิดเมืองที่มีจำนวนคนมากขนาดนี้เพื่อกักการแพร่กระจายของเชื้อโรคนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และไม่สามารถกล่าวได้ว่าการตัดสินใจในครั้งนี้จะได้ผลหรือไม่ แต่ทาง WHO ไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้เท่าไรนัก” Gauden Gakea ผู้แทน WHO ของประเทศจีนกล่าว
นอกจากการสั่งปิดเมืองแล้ว ทางรัฐบาลจีนก็มีคำสั่งให้ เร่งสร้างโรงพยาบาล ขนาด 1300 เตียงเพื่อมารองรับผู้ป่วยเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ โดยกำหนดการณ์การสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ในครั้งนี้อยู่ที่ราววันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2020
สำหรับความคืบหน้าเรื่อง ระยะเวลาในการสั่งปิดเมือง นั้นทางรัฐบาลไม่ได้ออกมารายงานเพิ่มเติม แต่สถานการณ์ของผู้ที่อาศัยอยู่ภายใน 3 จังหวัดดังกล่าวนี้เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะทรัพยากรต่างๆ ภายในเมืองมีอยู่อย่างจำกัดและไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชากรในเมืองจนทำให้ราคาของน้ำ, อาหาร และเชื้อเพลิงนั้นพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ สถานการณ์ภายในเมืองค่อนข้างน่าเป็นห่วง และคาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อภายในประเทศจีน (โดยเฉพาะภายในจังหวัดที่รัฐบาลสั่งปิด) น่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสามารถติดตามสถานการณ์เรื่องการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ได้ทาง Online Dashboard
ทางกรมการควบคุมโรค (CDC) ได้ออกมาประกาศว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้จะมี ระยะฟักตัวราว 2 - 14 วัน และลักษณะการดำเนินโรคจะคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่และการติดเชื้อจากไวรัสทั่วไป คือ มีไข้, ไอ/จาม, ช่วงการหายใจสั้นทำให้รู้สึกหายใจลำบาก ซึ่งต้องผ่านกระบวนการคัดกรองโรคอย่างละเอียดจึงจะทราบว่าเชื้อไวรัสที่ได้รับนั้นเป็นไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จริงหรือไม่ โดยหากมีประวัติการเดินทางไปยังประเทศจีนในช่วงระยะเวลา 14 วันที่ผ่านมาและมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์พร้อมทั้งแจ้งอาการและประวัติการเดินทางตามจริง
ภาพจาก : https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/images/infographic-symptoms.jpg
เนื่องจากเป็นโรคที่ค่อนข้างใหม่จึงยังไม่มีตัวยา, วัคซีน หรือวิธีการรักษารองรับ แต่ในเบื้องต้นทีมแพทย์จะทำการ รักษาตามอาการ เพื่อฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายของผู้ป่วยให้ทำการต่อสู้กับไวรัสจนสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ ทางทีมแพทย์และนักวิจัยก็กำลังเร่งศึกษาทดลองเกี่ยวกับตัวยาที่สามารถฆ่าไวรัสชนิดนี้ได้อย่างถาวร
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้สามารถ แพร่กระจายในอากาศได้ คล้ายกับเชื้อไวรัสที่ติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจทั่วไป ซึ่งเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม เชื้อไวรัสก็จะกระจายออกสู่อากาศ และอนุภาคของเชื้อไวรัสที่เกาะมากับน้ำลายของผู้ป่วยก็จะไปเกาะติดกับอวัยวะหรือสิ่งของต่างๆ รอบตัวผู้ป่วย นอกจากนี้ เชื้อไวรัสส่วนหนึ่งที่มีอนุภาคเล็กก็จะกระจายอยู่ในอากาศและแพร่เชื้อสู่บุคคลทั่วไปได้เช่นกัน
ภาพจาก : https://reflectionsipc.com/2015/12/16/surface-contamination-and-respiratory-viruses-with-pandemic-potential-sars-mers-and-influenza-an-underestimated-reservoir/
ทางกรมการควมคุมโรค (CDC) จึงแนะนำให้ ดูแลตัวเองคล้ายการป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ ได้แก่
และถ้าหากสงสัยว่าป่วยควรปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
ภาพจาก : https://www.bridgeportct.gov/images/health%20dept/Fight%20the%20Flu%20851%20x%20315%20MONITOR%20Jan%202018.jpg
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ การ สวมใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี ทั้งผู้ป่วยและบุคคลทั่วไป ซึ่ง Dr. William Schaffner ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันโรคติดต่อจากมหาวิทยาลัย Vanderbilt และหัวหน้าหน่วยแพทย์ขององค์กรดูแลและป้องกันโรคติดต่อนานาชาติได้ ให้สัมภาษณ์ ในประเด็นนี้เอาไว้ว่า
“หน้ากากอนามัยที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาส่วนใหญ่นั้นมักเป็น หน้ากากอนามัยแบบทั่วไป หรือหน้ากากที่นิยมใช้ในห้องผ่าตัดที่ ไม่สามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมันยังมีช่องว่างเล็กๆ ระหว่างใบหน้าและตัวหน้ากากอยู่ ทำให้ลมกระจายออกในตอนที่ไอหรือจาม นั่นแสดงว่าเชื้อโรคอาจแพร่กระจายออกไปภายนอกได้เช่นกัน ทางที่ดีควรสวมหน้ากากแบบ N95 จะปลอดภัยกว่า หรือหากไม่สามารถหาหน้ากาก N95 ได้ การสวมหน้ากากแบบใดๆ ก็ตามอย่างถูกวิธีก็ยังดีกว่าการไม่ป้องกันอะไรเลย เพราะสิ่งสำคัญของการป้องกันโรคนี้คือ ไม่นำเอามือที่สกปรกมาจับตามส่วนต่างๆ ของใบหน้า”
ทั้งนี้ หน้ากากแบบ N95 ไม่เหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน เท่าไรนักเนื่องจากหน้ากากชนิดนี้ไม่เหมาะกับการสวมใส่ติดต่อกันเป็นเวลานาน ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้ บุคคลธรรมดาสวมหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป ที่หาซื้อได้ง่าย และใช้งานได้สะดวกกว่า (ไม่แนะนำให้สวมหน้ากากป้องกันละอองเกสรดอกไม้) แต่ก็เน้นย้ำให้สวมหน้ากากแบบถูกวิธีด้วยเช่นกัน
โดยหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป หรือหน้ากากอนามัยที่ใช้ในห้องผ่าตัดนั้น ควรหันด้านที่มีสี (เช่น ฟ้า หรือเขียว) ออกด้านนอก แต่หากเป็นหน้ากากอนามัยสีขาวทั้งแผ่นก็ควรสวมใส่ด้านที่มี รอยพับลงด้านล่าง เพราะหากรอยพับขึ้นด้านบนเมื่อมีเชื้อโรคหรือไวรัสมาติดที่บริเวณหน้ากากจะกักเชื้อไว้อยู่กับตัวหน้ากาก ซึ่งเมื่อผู้สวมใส่ไอหรือจามอาจกระจายออกและแทรกตัวผ่านช่องว่างระหว่างตัวหน้ากากอนามัยและใบหน้าเข้าสู่ร่างกายได้ จากนั้นดึงหน้ากากอนามัยให้คลุมถึงบริเวณคางและกดแถบลวดแนบไปกับใบหน้า
หรือหากสวมหน้ากากแบบ N95 เพื่อการป้องกันเชื้อโรคก็ควร ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่เหมือนกับการใช้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองภายในอากาศที่สามารถนำเอากลับมาใช้ซ้ำได้ เพราะเมื่อผ่านใช้งานแล้วอาจเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคและเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มากกว่าการไม่สวมหน้ากากอนามัยเสียอีก
และหากหน้ากากมีการ ฉีกขาดหรือไม่กระชับใบหน้าก็ควรเปลี่ยน โดยการถอดหน้ากากอนามัยออกทางสายคล้อง ไม่ควรนำเอามือไปจับตัวหน้ากากที่ใช้แล้ว และนำเอาหน้ากากเดิมใส่ถุงพลาสติกก่อนทิ้งถังขยะ (หากเป็นไปได้ควรทิ้งลงในถังขยะอันตราย) และ ล้างมือ ทุกครั้งหลังการจับหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |