ปัจจุบันเราเกิดในยุคที่เทคโนโลยีสร้างสรรค์ให้การสื่อสารสามารถเชื่อมถึงกันได้ผ่านสิ่งที่เรียกว่า "อินเทอร์เน็ต" โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่พวกเราใช้กันไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน หรือโปรแกรมต่างๆ ล้วนเอื้อให้เกิดการสื่อสารทางไกลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
ช่วงนี้หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า "Work from Home" หรือการทำงานจากที่บ้าน ซึ่งบางบริษัทมีการปรับวิธีการทำงานให้กับพนักงานตามสถานการณ์ต่างๆ โดยข้อดีของการ Work from Home คือบริษัทจะได้ประหยัดค่าใช้จ่ายต่อพนักงาน 1 คน และในด้านประสิทธิภาพการทำงาน (KPI) จากผลการวิจัยระบุว่า พนักงานหลายคนมีประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นกว่าเดิมเลยทีเดียว แถมพนักงานบางคนยังไม่ต้องเจอกับสภาวะการจราจรที่ติดขัดในเมืองใหญ่ และปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน เช่นอาการป่วย เป็นต้น
การให้พนักงาน Work from Home ส่วนมากพนักงานคนนั้นจะไม่ค่อยมีปัญหาด้านสุขภาพ จนต้องขอลาป่วยบ่อยๆ แต่แน่นอนว่าเมื่อมีการทำงานที่บ้าน พนักงานทุกคนต้องมีการติดต่อสื่อสารกัน หรือประสานงานกันเพื่อให้ผลงานออกมาดี ซึ่งถ้าจะมานั่งคุยกันด้วยโปรแกรมแชททั่วไป ก็คงจะไม่สะดวกสำหรับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีพนักงานเป็นร้อยเป็นพันคน
รีวิววันนี้ทีมงานไทยแวร์ดอทคอมจึงอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับบริการแพลตฟอร์มแชทกลุ่มออนไลน์สำหรับองค์กรกันหรือบางครั้งเรียกอาจเรียกว่าเป็น "Video Conference" อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งวันนี้เรามี 4 แพลตฟอร์มที่อยากแนะนำประกอบไปด้วย Microsoft Teams/ Zoom/ Google Hangouts และ Slack ที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจที่กำลังประสบปัญหากับสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ตอนนี้
ระบบ Video Conference (วิดีโอคอนเฟอเรนซ์) คือ ระบบประชุมทางไกลที่ใช้ติดต่อสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลภาพ และเสียง บนหน้าจอ ซึ่งรวมถึงข้อมูลเอกสารที่ต้องการนำเสนอที่แม้จะอยู่ห่างกันไกลแสนไกล ก็สามารถแสดงภาพให้อีกฝ่ายดูได้ เป็นลักษณะการโต้ตอบซึ่งกันและกันแบบสองทาง
แต่ในส่วนของ Video Conference ทั้ง 4 บริการอย่าง Microsoft Teams, Zoom, Google Hangouts และ Slack คือแพลตฟอร์มที่ให้บริการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์ หรือวิดีโอกลุ่มที่มีความทันสมัยยิ่งกว่า เหมือนแพลตฟอร์มที่ทุกคนคุ้นเคยกันอยู่แล้วอย่าง Skype (For business) โดยแต่ละเจ้าล้วนมีข้อดีที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ นอกจากเราจะได้ทั้งภาพ และเสียงของคนที่เราคุยด้วยแล้ว เรายังสามารถแชร์หน้าจอการทำงานของเราให้อีกฝ่ายดูได้ แทนที่จะต้องมานั่งทำงานกันซึ่งๆ หน้า เพื่อไม่ให้เสียเวลาเราไปทำความรู้จักแต่ละแบบพร้อมกันเลย
Microsoft Teams หรือ MS Teams คือแพลตฟอร์มสื่อกลางในการสื่อสารสำหรับองค์กรและบุคคลทั่วไป ที่ใช้สื่อสารทำงานในด้านต่างๆ เช่นติดต่อนัดหมายการประชุม การประกาศและติดตามข่าวสาร พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ซึ่งตั้งใจให้มาแทนที่ Skype (For business) โดยความตั้งใจนั้นย่อมหมายความว่า Microsoft Team ย่อมดีกว่าในทุกด้าน
คือนอกจากจะมีเวอร์ชันฟรีบน Desktop และ โทรศัพท์มือถือ แล้ว MS Teams ยังมีบริการที่ครบเครื่องโดยไม่จำเป็นต้องซื้อแพ็กเกจเพิ่มด้วยซ้ำ จุดเด่นอีกอย่างคือเชื่อมต่อกับศูนย์กลางในการเข้าถึงบริการต่างๆ ของชุดเครื่องมือ Office 365 เช่น Word, Excel, PowerPoint และอื่นๆ สามารถจัดการสนทนา ไฟล์ และเครื่องมือของคุณทั้งหมดที่ใช้ในการทำงานร่วมกับทีม สร้างหรือแก้ไขเอกสารได้โดยตรงจากแอปฯ
มี UI (User Interface) ใช้งานง่าย สะดวกสบาย มีระบบแชทคอมมูนิตี้ หน้าตาเหมือนฟีดโซเชียลเน็ตเวิร์ก สามารถจัดแบ่งพื้นที่หรือกลุ่มในการทำงานกันอย่างชัดเจน มีห้อง (กลุ่ม) แยกทำงานระหว่างบุคลากร เจ้าหน้าที่ ของแต่ละฝ่าย สามารถสร้างกลุ่มต่างๆ ได้ง่ายไม่มีข้อจำกัดในด้านนี้
หากลูกค้าซื้อแพ็กเกจ ตัวฟีเจอร์ต่างๆ ก็จะเพิ่มให้มากยิ่งขึ้น เช่น
Microsoft Teams มีบริการฟรีที่ครบวงจรอยู่แล้ว แต่ที่อัปเกรดให้สำหรับลูกค้าที่ซื้อแพ็กเกจ ก็น่าจะตอบโจทย์สำหรับองค์กรใหญ่ๆ ที่มีบุคคลากรเป็นร้อยเป็นพัน ไม่เพียงแต่สามารถใช้ร่วมกันในองค์กรธุรกิจเพียงเท่านั้น แต่รวมไปถึงการใช้เพื่อการศึกษา เช่นการเรียนออนไลน์ ที่จะมอบสังคมการเรียนให้กับผู้เรียน และ คณาจารย์ได้
Zoom (Video Conferencing) หรือที่เรียกกันต่างไปแล้วแต่บริการ เพราะ Zoom นอกจากจะเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารทางไกล แล้ว Zoom ยังมีโซลูชันที่มอบให้ผู้ใช้ได้หลากหลาย และเป็นระบบประชุมทางไกลอันดับต้นๆ ที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 100 ล้านคน ใน 180 ประเทศ นอกจากนี้ยังมีแอปพลิเคชันชื่อ Zoom Cloud Meetings ที่ให้ดาวน์โหลดฟรีใช้ได้ผ่านมือถือ iOS และ Android
ที่สำคัญคงเป็น Zoom Meeting หรือ Zoom Meeting and Chat ที่ออกแบบมาเพื่อการประชุมออนไลน์สำหรับองค์กรธุรกิจ หรือเพื่อการศึกษาสำหรับคณาจารย์และผู้เรียนโดยเฉพาะ ใช้ Bandwidth Internet น้อยกว่าผู้อื่นถึง 40% นั่นหมายความว่าสามารถใช้ได้เสถียรแม้มีความเร็วอินเทอร์เน็ตต่ำ
Zoom Meeting จะมีระบบประชุมทางไกลผ่าน Cloud ไว้ใช้เชื่อมต่อกับเพื่อนรวมงานทุกที่ทุกเวลา หรือร่วมประชุมออนไลน์แบบเห็นหน้าเห็นตากับผู้ร่วมงานได้นับร้อยชีวิต นอกจากใช้ในการประชุม ยังใช้ในเรื่องของการ ฝึกสอน (Training) สัมภาษณ์งาน (Recruit) กระจายวิดีโอ Boardcast ได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นบริการระดับรางวัลที่มีคุณภาพการใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม
Zoom จะค่อนข้างเพียบพร้อมและมีบริการที่หลากหลายมากกว่าเจ้าอื่นๆ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปเพื่อการติดตั้ง และการให้บริการที่ต้องชำระแบบรายเดือน ซึ่งก็อยู่ที่ความจำเป็นของแต่ละองค์กร
สำหรับ Google Hangouts คือแอปพลิเคชันแชทตัวหนึ่งของทาง Google ซึ่งเข้ามาแทนที่แอปฯ Google Talk ที่นอกจากจะใช้แชทพูดคุยได้แล้ว ยังมีความสามารถในการวิดีโอคอลกลุ่ม สำหรับใช้ประชุมทางธุรกิจ ซึ่งจะเชื่อมต่อทีมของคุณได้จากทุกที่ บนอุปกรณ์โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรือบนคอมพิวเตอร์
Google Hangouts คือการใช้งานไม่ยุ่งยาก ไม่ได้มีฟีเจอร์ที่ซับซ้อนใดๆ เหมาะกับธุรกิจทุกประเภท แค่ตั้งค่าการประชุมแล้วแชร์ลิงก์ให้เพื่อนร่วมงานที่เรามี Gmail หรือเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ก็สามารถประชุมกับคนอื่นโดยมีผู้เข้าร่วมได้ถึง 10 คน ข้อความต่างๆ หรือไฟล์งานที่ส่งหากันจะถูกจัดเก็บอยู่บนคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ ไม่ทำให้เปลืองพื้นที่ใช้งาน สามารถติดตั้งแอปฯ บนอุปกรณ์ที่ต้องการจากนั้นล็อกอินผ่าน Gmail ซึ่งเราสามารถเลือกปรับคุณภาพของวีดี และเสียงให้เหมาะกับความเร็วเน็ตได้
Google Hangouts เป็น Video Conferencing ที่ค่อนข้างเรียบง่ายไม่ซับซ้อน องค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้งานก็มีครบทุกอย่าง แต่ข้อเสียอาจเป็นเรื่องของฟังก์ชันที่อาจไม่ค่อยมีความหลากหลาย และไม่มีเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการระบบภายในตัว อย่างไรก็ตาม Google ก็ยังพัฒนาอัปเกรดให้เป็น Hangout Meet และ Hangouts Chat ซึ่งเชื่อมต่อกับ G Suite หรือชุดแอปพลิเคชันบนคลาวด์เพื่อการทำงานร่วมกันในองค์กรของ Google ซึ่งในเวอร์ชันของ Hangout Meet ทุกคนสามารถทดลองใช้ฟีเจอร์ขั้นสูงที่รองรับคนได้มากขึ้นสูงถึง 250 คนต่อการประชุม และบริการสตรีมมิงแบบสดรองรับคนดู 100,000 คน สามารถบันทึกวิดีโอการประชุมได้เช่นกัน แต่มีการจำกัดการใช้งานและต้องจ่ายเงินซื้อแพ็กเกจเพื่อใช้ต่อแบบเต็ม
Slack เป็นแพลตฟอร์มสื่อสารในการทำงานในรูปแบบการใช้งานพูดคุยกัน ส่งภาพถ่าย วิดีโอ ลิงก์โคด มีลักษณะเหมือน Social Media ซึ่งสามารถสร้างห้องขึ้นมาสำหรับพูดคุยกันในกลุ่มองค์กร รวมไปถึงสามารถวัดคุณภาพ KPI ได้ในแพลตฟอร์มอย่างชัดเจน ได้รับความนิยมมากในกลุ่มของธุรกิจ Startup และ Guru
Slack คือ รูปลักษณ์การใช้งานมีการพัฒนามาจากแอปพลิเคชันสร้างเกม ทำให้ผู้ใช้รู้สึกเพลิดเพลินไม่น่าเบื่อ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ อิโมจิ และ ฟอนต์ รวมถึงลูกเล่นต่างๆ ที่มีมากหลากหลาย ไม่ดูจริงจังแบบองค์กรมากเกินไป ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่นที่ใช้งานลักษณะเดียวกัน ทำให้ผู้ใช้ชื่นชอบและใช้งานอย่างแพร่หลาย
นอกจากฟรีแล้ว Slack ยังมีแพ็กเกจค่าใช้จ่ายที่ให้คุณสมบัติเพิ่มขึ้นเช่น
Slack มีลักษณะการใช้งานไม่เหมือนเจ้าอื่นตรงที่มีลูกเล่นมากมาย ทำให้รู้สึกเพลิดเพลินไม่ดูเป็นองค์กรมากจนเกินไป จึงไม่แปลกที่ได้รับความนิยมในกลุ่มธุรกิจ Startup ซึ่งก็ยังมีบริการสำหรับธุรกิจใหญ่ที่ต้องการเครื่องมือในการสร้างความเติบโตให้กับบริษัท
ทั้งหมดทั้งมวลเป็นภาพรวมความแตกต่างของบริการแพลตฟอร์มการทำงานทั้ง 4 แพลตฟอร์มที่เราได้นำเสนอให้ผู้ใช้สามารถลองนำไปอ่านเป็นแนวทางปรับใช้รับมือกับสถานการณ์ช่วงนี้ ที่หลายบริษัทมีการปรับให้พนักงาน Work from Home ซึ่งทุกแพลตฟอร์มล้วนมีข้อดีของตัวเอง สามารถเปรียบเทียบกันได้อย่างชัดเจน ตามความสามารถ และลูกเล่นของแต่ละแพลตฟอร์ม ซึ่ง Microsoft Teams, Zoom, Google Hangouts และ Slack ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นมา แต่มีมานานมากแล้ว เพียงแต่บางคนอาจยังไม่ทราบเท่านั้นเอง
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |