ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

Antibodies ของตัวลามะ อาจมีส่วนช่วยในการรับมือกับ COVID-19 ได้

Antibodies ของตัวลามะ อาจมีส่วนช่วยในการรับมือกับ COVID-19 ได้

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 6,614
เขียนโดย :
0 Antibodies+%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B0+%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A+COVID-19+%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

Antibodies ของตัวลามะ อาจมีส่วนช่วยในการรับมือกับ COVID-19 ได้ ?

มีการค้นพบเกี่ยวกับความสามารถในการต้านเชื้อไวรัสของ Antibodies ในสัตว์ต่อการรักษาโรคในมนุษย์มาตั้งแต่ช่วงยุค 90 แล้ว ซึ่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ได้ทำการศึกษากันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงในปัจจุบันนี้ และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยจากหลายสำนักได้ทดลองนำเอา Antibodies ของสัตว์ต่างๆ มาศึกษาเพื่อค้นหาแนวทางในการป้องกันและรักษาโรคนี้ด้วยเช่นกัน

ซึ่งจากผลการศึกษาที่ได้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Cell ของนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ Ghent’s VIB-UGent ประเทศเบลเยียมที่ได้ร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัย Texas ประเทศสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัย Göttingen ประเทศเยอรมนีนั้นก็พบว่า Antibodies ของลามะอาจเป็นหนึ่งในทางออกของสถานการณ์ COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดออกไปทั่วโลก ณ ขณะนี้ได้

Winter the llama ทางออกของ COVID-19

โดยลามะที่นำเอามาศึกษาในครั้งนี้เป็นลามะในห้องทดลองอายุ 4 ปี ที่มีชื่อว่า Winter ที่ทางศูนย์วิจัยได้รับเลี้ยงเอาไว้เมื่อหลายปีก่อนเพื่อทำการศึกษาทดลองเกี่ยวกับความสามารถในการต้านเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ ของมัน และทางนักวิจัยได้ทำการทดลองฉีดวัคซีนกับ Winter จากนั้นก็เฝ้าสังเกตการณ์และศึกษาอย่างใกล้ชิดเป็นเวลากว่า 2 เดือนจนพบว่า Antibodies ของลามะตัวนี้นั้นมีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้จริง

Antibodies ของตัวลามะ อาจมีส่วนช่วยในการรับมือกับ COVID-19 ได้
Winter ลามะที่เป็นตัวหลักในการศึกษาครั้งนี้
ภาพจาก : https://newseu.cgtn.com/news/2020-05-13/How-llamas-could-help-fight-COVID-19-QpHQB6PRnO/index.html

สำหรับ Antibodies ของ Winter ก็เคยได้ผ่านการศึกษาทดลองกับเชื้อไวรัสโคโรนาตัวอื่นๆ อย่าง SARS และ MERS มาแล้ว ซึ่งผลการศึกษาก็พบว่า Antibodies ของ Winter นั้นสามารถ ต้านเชื้อไวรัสโคโรนา ทั้ง 2 ชนิดนี้ได้ ดังนั้นนักวิจัยจึงนำเอามันมาทดลองกับเชื้อ COVID-19 ต่อไป และคาดหวังว่าด้วย Antibodies ของลามะนี้ก็น่าจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในมนุษย์ที่ร่างกายยังไม่ได้รับเชื้อเข้าไปได้

นี่เป็นหนึ่งใน Antibodies ชนิดแรกๆ ที่เราค้นพบว่ามันสามารถต่อต้านเชื้อ SARS-CoV-2 (COVID-19) ได้ แต่สำหรับการรักษาด้วย Antibodies นั้นจะต้องทำการให้ Antibodies กับผู้ที่ไม่มีเชื้ออยู่ภายในตัวหรือผู้ป่วยที่รักษาจนหายดีแล้ว และรอเวลาให้มันปรับตัวเข้ากับร่างกายอีกทีหนึ่ง ซึ่งมันก็กินเวลานานพอสมควรกว่าจะสามารถป้องกันเชื้อได้ / Jason McLellan นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Texas กล่าว

ทำไมต้องใช้ Antibodies ของลามะ ?

เหตุผลที่ทางผู้วิจัยตัดสินใจใช้ Antibodies ของลามะมาทำการศึกษาก็เป็นเพราะว่า Antibodies ของสัตว์ในตระกูล Camelids จำพวกอูฐ ลามะ หรืออัลปากานั้นมีลักษณะเป็น Nanobodies ที่มีขนาดเล็กกว่า Antibodies ของมนุษย์จนสามารถเข้าไปแทรกตัวระหว่างช่องว่างสายใยโปรตีนของไวรัสไม่ให้มันเข้าไปจับตัวเข้ากับเซลล์ภายในร่างกายของมนุษย์ได้นั่นเอง รวมทั้งก่อนหน้านี้เองก็เคยได้มีการทดลองใช้ Antibodies ของลามะในการป้องกันเชื้อ HIV และไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ในมนุษย์มาแล้วอีกด้วย

Antibodies ของตัวลามะ อาจมีส่วนช่วยในการรับมือกับ COVID-19 ได้
สัตว์ในตระกูล Camelids
ภาพจาก : https://inkajungletour.com/fr/les-differences-majeures-entre-les-lamas-alpacas-vigognes-et-guanacos/

เราจะสามารถนำเอา Antibodies ของลามะมาใช้งานได้เมื่อไรกันนะ ?

นอกจาก Winter แล้ว นักวิจัยก็ยังได้ทำการศึกษากับลามะและอัลปากาตัวอื่นๆ อีกราว 130 ตัวเพื่อทำการยืนยันถึงประสิทธิภาพของ Antibodies ของสัตว์ตระกูล Camelids ในการต้านเชื้อไวรัสโคโรนาชนิดนี้ ซึ่งผลการทดลองครั้งนี้ก็ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาทางคลินิกก่อนที่จะทำการสรุปผลและตีพิมพ์ออกมาสู่สาธารณะ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผลการศึกษาจะออกมายืนยันว่า Antibodies ของสัตว์ตระกูล Camelids นั้นจะสามารถต้านเชื้อ COVID-19 ได้จริง แต่การนำเอา Antibodies ของสัตว์มาใช้ในมนุษย์นั้นยังต้องผ่านขั้นตอนการศึกษาทดลองและวิจัยทางคลินิกอีกหลายขั้นตอนกว่าจะสามารถนำเอามาปรับใช้กับมนุษย์จริงๆ ได้ ซึ่งทางผู้วิจัยก็ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าอย่างเร็วที่สุดก็น่าจะสามารถพัฒนาจนสำเร็จได้ในช่วง ปลายปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) นี้


ที่มา : www.theguardian.com , newseu.cgtn.com , www.wbur.org , www.cell.com , www.aa.com.tr

 

0 Antibodies+%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B0+%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A+COVID-19+%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่..
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น