เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ เทคโนโลยีสีเขียว (Green Technology) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยยึดหลักการเพื่อใช้สอยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น วัสดุที่สร้างจะต้องนำกลับมาใช้ใหม่ได้ หรือ เทคโนโลยีนั้น ๆ ต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัด และ คุ้มค่าที่สุด และยังหมายถึงเทคโนโลยีที่ผลิตพลังงานสะอาดมาใช้ทดแทน อย่าง แผงโซลาร์เซล หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังน้ำ
ในปี พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) มีผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่านี่เป็นปีทองของการประยุกต์ใช้พลังงานสีเขียว (Green Energy) เพราะหลายหน่วยงานส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และ ลดการปล่อยมลพิษในอุตสาหกรรมมากขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือบทบาทหน้าที่ของเทคโนโลยีสีเขียวจะเริ่มชัดเจน ตัวอย่างที่เราเห็นและน่าจับตามองตอนนี้ ก็คือ รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle) นั่นเอง
และในวันนี้เราจะมาพูดถึง 5 ตัวอย่างของ เทคโนโลยีในองค์กรที่เราพบเห็นกันได้ในปัจจุบัน และคุณอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่า มันก็มีบทบาทในเรื่องของการเซฟโลกเช่นกัน และหากองค์กรกำลังมองหาวิธีประหยัดต้นทุนระยะยาว เทคโนโลยีเหล่านี้ก็สามารถช่วยได้เหมือนกัน ...
ระบบบริหารควบคุมอาคารอัตโนมัติ หรือ Building Automation System (BAS) ซึ่งถ้าเห็นชื่อ ก็คงทำให้นึกถึง พวกระบบ IoT (Internet of things) ใช่ไหมล่ะครับ ? ซึ่งมันก็อาจจะคล้าย ๆ กัน เพราะนี่เป็นระบบอัตโนมัติที่นำเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์มาควบคุมอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ภายในอาคาร หรือ ควบคุมระบบทั้งหมด เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำ ระบบรักษาความปลอดภัย (Surveillance) และ ระบบระบายอากาศ (HVAC) เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อลดความยุ่งยากในการดูแล และช่วยให้มั่นใจว่าระบบต่าง ๆ จะทำงานอย่างถูกต้องและได้ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องของการใช้พลังงาน
โดยระบบต่าง ๆ จะเชื่อมถึงกันผ่านเครือข่าย และ ส่งผ่านไปยังห้องควบคุม (Control Room) ส่วนกลาง ที่ใช้เพื่อสังเกตการณ์และควบคุมด้วยผู้ดูแลอีกที
ภาพตัวอย่างระบบ Building Automation System (BAS) ของ Delta ที่ให้บริการในประเทศไทย
ตัวอย่างการทำงานของ Building Automation System เช่น การควบคุมระบบปรับอากาศ ควบคุมแรงลม อุณหภูมิ และ การระบายอากาศ หรือ ระยะเวลาการเปิด-ปิดใช้งานภายในท่อลม เป็นต้น โดยมันจะมีโปรแกรมที่สามารถใช้มอนิเตอร์ระบบได้ ซึ่งหากมีความทันสมัยหน่อย ก็จะมีแอปพลิเคชันให้สามารถมอนิเตอร์ผ่านมือถือ ได้อีกด้วยเช่นกัน
ภาพจาก : https://www.smkautomation.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539684636
และนอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน เช่น ห้องเซิร์ฟเวอร์ที่มักจะมีความร้อนสูง เมื่อเกิดปัญหากับเครื่องปรับอากาศ ผู้ดูแลก็จะได้รับการแจ้งเตือนทันทีจากในห้องควบคุม เป็นต้น
สรุปง่าย ๆ Building Automation System (BAS) ไม่ใช่เรื่องของเทคโนโลยีเพียงชิ้นเดียว และในปัจจุบันมีหลายองค์กรที่ให้บริการติดตั้ง Building Automation System (BAS) ภายในอาคารอยู่เยอะมาก บางรายก็ครอบคลุมทั้งโปรแกรม อุปกรณ์ และ ระบบทั้งหมดภายในตึกเลยทีเดียว
ศูนย์ข้อมูลเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Green Data Center เป็นชื่อที่ใช้เรียกระบบศูนย์ข้อมูล (Data Center) ที่พยายามประยุกต์เทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยทำให้สิ้นเปลืองพลังงานน้อยลงแต่ยังคงเสถียรภาพของการทำงานได้ เพราะ Data Center เป็นระบบที่ต้องใช้ทรัพยากรมาก จะต้องมีการระบายความร้อนและทำความเย็นอย่างเหมาะสมให้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือ อุปกรณ์อะไรก็ตามแต่ที่อยู่ในห้องนั้น อีกทั้งยังต้องจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบต่าง ๆ อย่างเพียงพอ จึงเป็นเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ตามมา
ภาพจาก https://hmsifmipauntan.com/indonesia-berpotensi-besar-untuk-pembangunan-data-center/
มีข้อมูลระบุว่า Data Center เป็นระบบที่ขึ้นชื่อเรื่องการใช้ทรัพยากรไฟฟ้ามากคิดเป็น 3 - 5 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการใช้พลังงานบนโลกกันเลยทีเดียว และยิ่งถ้ามีการใช้อินเทอร์เน็ต มีการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้นเท่าไหร่ อัตราการเติบโตของการสร้าง Data Center ก็จะโตขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วยเช่นกัน
ศูนย์ข้อมูล (Data Center) คืออะไร ?
Data Center คือ ห้องที่ออกแบบไว้เป็นศูนย์รวมของอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (Server Computer) รวมถึงอุปกรณ์ระบบเครือข่าย (Network) และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage) ที่ธุรกิจต่าง ๆ ทำเป็นต้องใช้เพื่อความสะดวกในการสื่อสาร และ เก็บข้อมูลอันมหาศาลของบริษัท และถ้าย่อขนาด Data Center ลงมาหน่อยก็คือ ตู้แร็ค หรือบางทีตู้แร็คก็จะถูกวางใน Data Center เป็นต้น
และตัวอย่างเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อลดการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูล และ เปลี่ยนธุรกิจให้เป็นสีเขียว เช่น อุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์พลังงานต่ำ (Low Power Servers) ที่ใช้พลังงานน้อย ปล่อยความร้อนไม่มาก และ ยังคงประสิทธิภาพของการทำงาน
Low Power Servers
ภาพจาก : https://i.dell.com/sites/doccontent/shared-content/data-sheets/en/Documents/power-efficiency-how-to-13g-servers_030216.pdf
หรืออีกตัวอย่าง เช่น ระบบกักเก็บลมร้อนภายในศูนย์ข้อมูล (Hot Aisle Containment) หรือตู้เก็บลมร้อน ที่ใช้ครอบตู้แร็คอีกที ซึ่งจะช่วยควบคุมการกระจายตัวของความร้อนก่อนส่งความร้อนผ่านปล่องออกมานอกศูนย์ Data Center ลดภาระของเครื่องปรับอากาศ
ตู้เก็บลมร้อน ภาพจาก : https://www.colocationamerica.com/blog/hot-vs-cold-aisle-containment
นอกจากนี้ก็ยังมีระบบกักเก็บความเย็น (Hot Aisle Containment) หรือ ตู้เก็บความเย็น ที่แตกต่างจากตู้เก็บความร้อน คือ ช่วยแยกลมร้อนที่ปล่อยออกมาจากตู้แร็ค และ ทำความเย็นเฉพาะส่วน เพื่อลดภาระของเครื่องปรับอากาศภายในห้อง Data Center ได้เช่นกัน
ตู้เก็บลมเย็น
ภาพจาก : https://sitem.co.th/cold-aisle-containment-2/#.YKNT2agzaUk
หรือทันสมัยหน่อยอย่าง ศูนย์ข้อมูลสมัยใหม่ (Modular Data Center) ก็กำลังได้รับความนิยมในหมู่ผู้ประกอบการและองค์กรต่าง ๆ เพราะลงทุนง่ายโดยมันมีพร้อมทั้ง เซิร์ฟเวอร์ (Server), อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage Device) และอุปกรณ์ด้านงานเครือข่าย (Network Device) พร้อมด้วยอุปกรณ์สนับสนุนอื่นๆ ที่ครบถ้วนพร้อมระบบการจ่ายไฟ (Power Supply System) และ ระบบการทำความเย็น (Cooling System) ในตัว ซึ่งจะวางจำหน่ายโดยผู้ให้บริการที่เชี่ยวชาญในการออกแบบ จากหลายแบรนด์ตัวอย่างเช่น ศูนย์ข้อมูล Microsoft Azure Modular เป็นต้น
ระบบพลังงานทดแทน (Use Renewable Energy) ถ้าพูดถึงการใช้พลังงานสิ่งทดแทน เรามักเคยได้ยินเรื่องเทคโนโลยีแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell Panel) และ พวกระบบพลังงานไฮโดรเจน (Hydrogen Energy) แต่ถ้าพูดถึงการใช้ในธุรกิจ ที่เหมาะสมสุดก็น่าจะเป็น แผงโซลาร์เซลล์ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการรายย่อย ก็ยังคงกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง เรื่องเวลาที่จะถึงจุดคุ้มทุน และยังมีเรื่องของ พื้นที่ที่เหมาะอีกด้วย
ภาพจาก : https://www.eco-business.com/news/australian-and-thai-firms-team-up-to-launch-renewable-energy-credit-marketplace-spanning-southeast-asia/
แต่แผงโซลาร์เซลล์ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจที่จะช่วยลดผลกระทบจากค่าใช้จ่ายระยะยาวอย่างค่าไฟและมันยังสามารถช่วยลดผลกระทบของระบบนิเวศน์ได้ด้วย เจ้าของธุรกิจขนาดกลางบางรายสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากถึง 80 % ด้วยการติดตั้งแผนโซลาร์เซลล์เลยทีเดียว ดังนั้นอย่าปล่อยให้งบประมาณมาขัดขวางแนวทางการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของคุณครับ
เครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) จัดเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ขึ้นรูปวัตถุต่าง ๆ ซึ่งออกแบบมาจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำพวก โปรแกรมออกแบบโมเดล CAD (Computer-Aided Design Software) ในอุตสาหกรรมออกแบบ หรืออุตสาหกรรมผลิตโมเดล 3 มิติ แบบจำลอง และพวกของเล่น เป็นต้น โดยจะผลิตออกมาเป็นชิ้น ๆ ไป
ภาพจาก : https://www.3dnatives.com/en/low-cost-3d-printer290320174/
การทำงานของ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ จะใช้การเติมเนื้อวัสดุลงไปขึ้นรูปโมเดลจากฐานขึ้นมาทีละส่วนตามไฟล์ที่ออกแบบมาทำให้ไม่มีชิ้นส่วนวัสดุเหลือทิ้ง แถมยังจัดเก็บง่าย ได้ชิ้นงานเร็ว ซึ่งจะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ในด้านของการผลิต แตกต่างกับการใช้เครื่องจักรผลิตทั่วไปที่ตัดชิ้นส่วนวัสดุทีละชิ้น เพื่อประกอบเป็นรูปร่างวัตถุซึ่งจะมีขยะที่หลงจากวัสดุที่ใช้ทำจำพวก พลาสติก ไทเทเนียม อลูมิเนียม โคบอลต์โครเมี่ยม และ วัสดุอื่น ๆ ที่สิ้นเปลือง
ภาพจาก : https://www.flam3d.org/environmental-list-2020-provides-a-nice-incentive-for-am-in-the-netherlands/
นอกจากนี้เครื่องพิมพ์ 3 มิติส่วนมากยังใช้วัสดุที่เป็น PLA Filament หรือเส้นพลาสติกเกรดพรีเมี่ยมที่ย่อยสลายได้ง่าย ซึ่งนับเป็นการช่วยโลกร้อนได้อีกด้วย
การประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) ที่หลายคนรู้จักกันจากชื่อบริการยอดนิยม เช่น Google Workspace (ชื่อเดิม G Suite) และ Microsoft 365 ก็เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีในห้วงกระแส Green Technology ที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นบริการที่ครอบคลุมทั้ง เรื่องของการติดต่อสื่อสาร ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม Microsoft Teams, Google Meet, Zoom Meeting, LINE ฯลฯ
และนอกจากนี้ยังรวมไปถึง บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลออนไลน์บนคลาวด์ (Cloud Storage) อย่าง Google Drive, Onedrive, Dropbox หรือให้บริการแอปพลิเคชันบนระบบออนไลน์ต่าง ๆ อีกด้วยเช่นกัน
ข้อดีของคลาวด์ ทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนการติดตั้ง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) สำหรับระบบเครือข่าย และการจัดเก็บข้อมูลได้นั่นเองไม่ต้องเสียค่าบำรุงระบบ เพียงแค่จ่ายเงินค่าบริการ Cloud Computing ก็ใช้ได้แล้ว และยังได้ใช้ของใหม่ ๆ ตลอดเวลา แถมยังสามารถเข้าถึงระบบต่าง ๆ ได้จาก มือถือ และ แท็บเล็ต อีกด้วย
และสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ คือการพัฒนาระบบติดต่อสื่อสารอย่างโปรแกรมประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอ (Video Conference Software) มีความก้าวหน้าขึ้นมาก ทำให้เราไม่จำเป็นต้องติดต่อคุยงานกับลูกค้ากันแบบตัวต่อตัวอีกแล้ว เพราะสามารถใช้เปิดกล้องคุยกันผ่านโปรแกรม Video Conference ได้เลยทันที และภาพแรกที่เราพอจะนึกกันออกว่ามันสามารถช่วยโลกได้อย่างไร คือ การที่คุณไม่ปล่อยก๊าซ CO2 จากท่อไอเสีย เพียงเพื่อไปพบป่ะลูกค้านั่นเองครับ
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |
ความคิดเห็นที่ 1
8 มกราคม 2566 18:14:39
|
||
GUEST |
ArthurIngex
สั่งซื้อฟาร์มพร็อกซี่มือถือ
|
|