เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นกลไกสำคัญที่ขับเคลื่อนธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้องคร์กรพยายามคิดใหม่ ทำใหม่ ในการนำหลายสิ่งหลายอย่างมาปรับใช้ให้ตอบโจทย์กับธุรกิจ แต่ความจริงเราไม่สามารถทำมันทุกอย่างให้สำเร็จได้เพียงคนเดียว ถ้าขาดความเชี่ยวชาญ
เพราะเทคโนโลยีอย่างระบบคลาวด์ (Cloud Computing), หุ่นยนต์ (Robot), ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI), บล็อกเชน (Blockchain) หรือระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) ถึงแม้จะวิเศษแค่ไหน แต่ถ้าองค์กรพยายามใช้ทุกอย่างที่มี โดยไม่หาพันธมิตรที่เชี่ยวชาญ และเพียบพร้อมด้วยความรู้ความสามารถมาให้การสนับสนุน การขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่อนาคต ก็คงเป็นเรื่องยาก
บทความนี้เราจะพามารู้จักแนวคิด "Your Trusted Smart Digital Partner" กันครับ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถูกผลักดันโดยองค์กรใหญ่ 2 เจ้าระหว่าง AIS และ Microsoft ถ้าแปลเอง คือ การหาพันธมิตรทางด้านเทคโนโลยี คือปัจจัยสำคัญในธุรกิจแห่งยุคดิจิทัล โดยประเด็นหลัก ที่น่าสนใจมีอยู่ด้วยกัน 4 เรื่อง ที่เราอยากนำมาแชร์ให้ทุกคน ดังนี้
การเข้าสู่ยุค Digital Tranformation เกิดขึ้นมาสักพักแล้ว และ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ก็ยังถือเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วขึ้นด้วย ดังนั้นหากองค์กรใด เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่นำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ในธุรกิจ ก็มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวกลับมาได้เร็วกว่าคนอื่น
อย่าง AIS เดิมทีก็เป็นผู้ให้บริการด้านงานเครือข่าย (Network) อยู่แล้ว แต่ภายหลังยกระดับมาสู่การให้บริการแพลตฟอร์มคลาวด์ และ บริการด้านดาต้าเซ็นเตอร์แบบครบวงจรสำหรับองค์กรภายใต้ชื่อ AIS Business Cloud ซึ่งเป็นการเปลี่ยนผ่านในช่วง 2-3 ปีเท่านั้น
คำถามคือ AIS ทำได้อย่างไรในเวลาที่รวดเร็ว ?
คำตอบก็ง่ายนิดเดียว แทนที่จะมานั่งสร้างระบบทุกอย่างเอง AIS เพียงแค่จับมือร่วมกับพันธมิตรด้านเทคโนโลยีระดับโลกที่เขามีระบบต่าง ๆ พร้อมอยู่แล้ว และนำระบบเหล่านั้นเข้ามาใส่บนแพลตฟอร์มของตัวเองเสียเลย
เช่น อยากให้บริการด้านเซิร์ฟเวอร์ (Server) อย่างงั้นเหรอ ? ก็จับมือกับ VMWARE นำเทคโนโลยีด้าน Server Virtualization มาใช้ หรือ อยากให้ลูกค้าใช้บริการซอฟต์แวร์ด้านองกรค์ ก็เอา Microsoft Azure และ Microsoft 365 มาเป็นส่วนหนึ่งในบริการของ AIS Business Cloud เสียเลย และยังมีพันธมิตรธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมายที่เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย (Security) รวมถึงการจัดเก็บข้อมูล (Storage) ที่เข้ามามีส่วนร่วมจนทำให้ เกิดการรวมตัวเป็น AIS Business Cloud Ecosystem ที่ให้บริการลูกค้าธุรกิจในประเทศไทย
นี่จึงเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ประกอบด้วยพาร์ทเนอร์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี ทำให้องค์กรอย่าง AIS สร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและสร้างโอกาสได้ก่อนใคร และหากพูดถึงในมุมมองขององค์กรอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Business Use หรือ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ถ้าค้นหาพาร์ทเนอร์ที่ดีได้ ก็สร้างการเติบโตได้เร็วเช่นกัน
ประเด็นต่อไป คือ จากนี้เทรนด์ด้านเทคโนโลยีอะไรที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจของคุณในอนาคต โดยคุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้คาดการณ์ว่า 8 สิ่งนี้คือสิ่งที่องค์กรต่าง ๆ ควรเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยีและรับมือกับมัน
อย่างที่เราที่เราทราบกันดีในยุคหลัง COVID-19 ทำให้เกิด ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) อย่างการ WFH ซึ่งไม่ใช่แค่ทำงานจากที่บ้านได้ แต่ควรทำงานจากที่ไหนก็ได้ และประเด็นไม่ใช่แค่ภายในองค์กรเท่านั้น แต่ลูกค้าเองก็เช่นกัน เราจะทำอย่างไร และนำเทคโนโลยีอะไรมาสร้างโมเดลให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการของเราได้จากที่ไหน หรือ เวลาไหนก็ได้ทั่วโลก
สิ่งที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ เราไม่สามารถแยกธุรกิจ (Business) กับดิจิทัล (Digital) ออกจากกันได้ เพราะลูกค้าทุกคนมีดิจิทัลอยู่ในมือตลอดเวลา พวกเขาอยู่แต่ในแพลตฟอร์มออนไลน์ดังนั้นเราจะทำอย่างไรให้สินค้าที่เราจะทำ หรือ บริการที่เราจะสร้าง ตอบโจทย์ในเรื่องของดิจิทัลไปพร้อมกัน ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น อุตสาหกรรมภาพยนตร์ และ ละครสมัยนี้ การทำหนังไปฉายในโรงภาพยนตร์ หรือ ทำละครไปฉายตามทีวีเคเบิ้ลก็เริ่มไม่ตอบโจทย์ลูกค้ายุคใหม่อีกแล้ว เราจึงเห็นการนำหนังไปฉายในแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง และ แอปพลิเคชัน ต่าง ๆ
หากมองย้อนกลับไป Cloud อาจเป็นเรื่องไกลตัว แต่ทุกวันนี้ Cloud เปรียบเสมือน น้ำ หรือ ไฟ ที่ใครก็เข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของความคล่องตัว ที่จะตอบโจทย์ธุรกิจ และ คิด ทำ ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
สมมติถ้าตอนนี้ เราต้องการสร้างโปรเจ็คสักหนึ่งอย่างที่ต้องใช้เทคโนโลยีแล้วจำเป็นต้องหาซื้อฮาร์ดแวร์ หรือ ซอฟต์แวร์ที่ราคาค่อนข้างสูงมาติดตั้ง มันก็จะดูสิ้นเปลือง แต่หากเราแค่ Subscribe บริการคลาวด์และใช้งานเท่าที่จำเป็น หากรุ่งก็ใช้ต่อ ร่วงก็เลิกใช้ แบบนี้ก็จะง่ายกว่าแบบไม่ต้องสงสัยเลย
เดี๋ยวนี้ถ้าธุรกิจต้องการสร้างเทคโนโลยี หรือ แอปพลิเคชันขึ้นมาใหม่ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมี AI เข้ามาเป็นส่วนประสมเสมอ
ตัวอย่างง่าย ๆ มือถือทุกวันนี้แม้แต่กล้องยังขาด AI ไม่ได้ เพราะลูกค้าต้องการภาพถ่ายหน้าชัดหลังเบลอที่ไม่ต้องใช้เทคนิคอะไรมาก หรือจะเป็น แชทบอท และเทคโนโลยีการออกแบบในโลกเสมือนจริง ทุกอย่างมันเกี่ยวข้องกับ AI เสมอ และเป็นสิ่งที่องค์กรต้องพยายามสร้างมาควบคู่กับผลิตภัณฑ์
ต่อไปเราจะไม่มีคำว่า "It’s me" แล้ว มันจะกลายเป็น "It’s WE!" การสร้าง Partnership ในเชิง Business จะช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันและสร้างประโยชน์ได้สูงสุด อย่างวันนี้ถ้าเราจะทำให้องค์กรฝ่าฟันกับ COVID-19 ไปได้แล้วทำเอง ไม่ร่วมมือกับใครเลย หรือพยายามจะแข่งกับทุกคนแล้วทำเองคนเดียวอาจเป็นเรื่องยาก ที่จะสำเร็จได้
วันนี้เทคโนโลยีไม่ได้หยุดอยู่แค่นักพัฒนา หรือคนที่เรียนด้านคอมพิวเตอร์อย่างเดียวแล้ว แต่ผู้ใช้ทางธุรกิจ (Business users) ก็สามารถเข้ามาเรียนรู้เองและเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีต่างได้เอง อย่าง Microsoft ก็มี 'Power Apps' หรือ 'Power automate' ที่ให้ ผู้ใช้ทางธุรกิจเข้ามาเรียนรู้และสร้างแอปพลิเคชันง่าย ๆ ด้วยตัวเอง
ความเชื่อมั่นเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรจะต้องสร้างให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลบนโลกไซเบอร์ เพราะมีแฮ็กเกอร์ที่จ้องจะโจมตีเราทุกวิถีทาง เราจะทำอย่างไรให้ลูกค้ารู้สึกว่าปลอดภัยหากพวกเขาใช้บริการของเรา หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อย่างวัคซีน ผู้บริโภคก็อยากทราบว่าขวดนี้เป็นยาที่ช่วยเราจริง ๆ ได้หรือไม่
สุดท้ายองค์กรควรจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความยั่งยืน นอกเหนือจากผลประกอบการของบริษัท เพื่อช่วยให้ประเทศมีศักยภาพในการพัฒนามากขึ้น
ถึงตอนนี้เราอาจกำลังคิดว่า จะต้องเริ่มอย่างไร ต้องลงทุนอะไรบ้าง หรือ เทคโนโลยีอะไรที่จะตอบโจทย์ทั้ง 8 เทรนด์นั้น นี่แหล่ะครับประเด็น ความจริงเราไม่ต้องกังวลเลยถ้าเข้าใจสิ่งที่บอกมาตั้งแต่ต้น คือ หากทุกคนเป็นเหมือน AIS ที่ไม่ต้องหาทำเอง แค่หาพันธมิตรที่เชื่อถือได้ ในการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาให้ พันธมิตรที่เขามีพร้อมทุกอย่างที่จะให้การสนับสนุนคุณ ความสำเร็จก็อยู่แค่เอื้อม
อย่าง Microsoft ก็มีทั้งประเภท Intelligent Cloud ที่เป็นระบบประมวลผล และประเภท Intelligent Edge หรืออุปกรณ์ IoT ที่มีเซ็นเซอร์สามารถประมวลผลได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Autonomous Cars, Robotics, Smart City ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการลงทุนเพื่อสร้าง Data center มากกว่า 200 แห่งทั่วโลก ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือ Start up ขนาดเล็ก
การประสบความสำเร็จเดี๋ยวนี้ไม่ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์อีกต่อไปแล้ว เพราะก้าวต่อไปคือ การสร้าง Culture of Innovation หรือ วัฒนธรรมนวัตกรรม ที่เกิดจากการสนับสนุนทั้งด้านบุคลากร (People) กระบวนการทำงาน (Process) เทคโนโลยี (Technology) และข้อมูล (Data) ทำให้เกิดวัฒนธรรมที่สร้างแต่สิ่งใหม่ ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ และ รูปแบบธุรกิจ
และปัจจัยในการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรม เกิดขึ้นจาก Leadership ที่ไม่ได้หมายถึงผู้นำ แต่หมายถึงความสามารถในการนำพาองค์กรให้เกิดวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม โดยมี Key Digital Enablers 5 ส่วนที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ดังนี้
อย่างที่บอกในช่วง Work from Home การทำงานจากทุกที่ทุกเวลา เป็นวัฒนธรรมใหม่ ซึ่งอาจส่งผลต่อ ผลผลิต ความสุข ของพนักงาน ดังนั้นองค์กรควรเตรียมหาแพลตฟอร์มที่สามารถช่วยสร้างวัฒนธรรมที่ตอบโจทย์ทั้ง ผลผลิต, ความสุข และ การเรียนรู้ต่อยอดพัฒนาได้
ตัวอย่าง Microsoft Viva แพลตฟอร์มการทำงานของคนยุคใหม่ที่รวม Microsoft Teams และ Microsoft 365 เข้าด้วยกัน มันเต็มไปด้วยเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร และ อัปเดตความเคลื่อนไหวขององค์กร หรือแม้แต่การวัดระดับความสุขการทำงาน และ ยังมี Viva Learning เป็นแหล่งรวมการเรียนการสอนจากสถาบันเทรนนิ่งออนไลน์ชั้นนำ ที่ช่วยสร้างการพัฒนาบุคคลากรได้
การที่องค์กรจะปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างด้านไอทีขึ้นระบบคลาวด์ (Cloud) องค์กรควรจะต้องเลือก Cloud Partnership ที่น่าเชื่อถือ และมีความสามารถที่จะช่วยดูแลระบบให้องค์กรได้ตลอดการใช้งานพร้อมกับช่วยดูแลในเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล
เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่จับมือกับ Microsoft ในช่วง COVID-19 ระลอกแรก นำ Microsoft Azure มาใช้แทนแพลตฟอร์มเซิร์ฟเวอร์ของธนาคาร เพื่อรองรับเกษตรกรที่คาดการณ์ว่ามีมากกว่า 10 ล้านคนที่จะเข้ามาใช้สิทธิ์รับเงินเยียวยาผ่านระบบออนไลน์ของธนาคารในช่วง COVID-19
และจากผลของการร่วมมือระหว่างฝ่ายไอทีของธนาคาร และ ไมโครซอฟต์ ก็ทำให้เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ร่วมกับ Microsoft Azure สามารถรองรับเหล่าเกษตรกร ที่ถาโถมเข้ามาใช้ระบบได้ราบรื่น
องค์กรควรจะต้องหาวิธีในการนำข้อมูลที่มีอยู่อย่างมหาศาลนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูลมาสร้าง Customer Engagement หรือการนำข้อมูลมาปรับปรุงกระบวนการผลิต เช่น การสร้างแบบจำลองการผลิตโดยใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ ประเมินผล และปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
องค์กรควรให้ความสำคัญกับกระบวนการป้องกันข้อมูลทั้งภายในและข้อมูลของลูกค้า โดย Microsoft ได้แนะนำ แนวคิด Zero Trust Principle Concept นั่นคือการไม่ไว้ใจใครเลย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลภายในหรือภายนอก ซึ่งจำเป็นต้องหาเครื่องมือช่วยตรวจสอบทุกคนหรืออุปกรณ์ทุกเครื่องอย่างเคร่งครัดก่อนที่จะมอบสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล เช่นอาจจะเปลี่ยนจากการใช้ พาสเวิร์ดมาเป็นเทคโนโลยี 'Biometric Authentication' อย่างการสแกนลายนิ้วมือ และ จดจำใบหน้า
ในช่วงนี้ถือเป็นโอกาสที่จะให้ทุกคนสามารถ Upskill หรือ Reskill ในการทำงานได้ เราจะหาแพลตฟอร์มอะไรที่เสริมทักษะด้านเทคโนโลยีให้กับคนในองค์กร
ตัวอย่าง Microsoft เองก็มีการร่วมกับ LinkedIn, GitHub ในการเข้าถึงคอร์สหรือหลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้าน DevOps Engineer, Android/ iOS Developer, Data Scientist เป็นต้น
ฉะนั้น ช่วงนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีในการนำ Digital Technology มาปรับเปลี่ยนให้องค์กรให้ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ข้อสำคัญไม่ได้อยู่ที่เราจะนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างไร แต่ เราจะหาพันธมิตรทางด้านเทคโนโลยีที่ดีได้อย่างไร โดย AIS และ Microsoft ก็ถือเป็นหนึ่งใน Digital Partner ที่เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมอยู่เหมือนกัน
สำหรับธุรกิจองค์กรที่สนใจโซลูชันใดๆ ของ Microsoft ไม่ว่าจะเป็น สิทธิ์การใช้งาน (License) สำหรับการใช้งานแบบ On-Premises หรือบริการ Cloud เช่น Microsoft 365 หรือ Microsoft Azure สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลองค์กรของท่าน
หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ผ่านทาง
- เว็บไซต์ : https://business.ais.co.th/cloud/index.html
- อีเมล : businesscloud@ais.co.th
|
งานเขียนคืออาหาร ปลายปากกา ก็คือปลายตะหลิว |