ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

รีวิว HP ZBook Studio G3 Mobile Workstation คอมฯ สุดแรง ที่ซ่อนตัวอยู่ในขนาดที่บางเฉียบ

HP ZBook Studio G3 Mobile Workstation คอมฯ สุดแรง ที่ซ่อนตัวอยู่ในขนาดที่บางเฉียบ

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 16,051
เขียนโดย :
0 %E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7+HP+ZBook+Studio+G3+Mobile+Workstation+%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AF+%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

คำว่าเครื่อง Workstation อาจจะไม่คุ้นหูกับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไปมากนัก ที่จริงมันก็ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรารู้จักกันนี่แหละ เพียงแต่ว่ามีสเปคที่สูงมาก และออกแบบมาเพื่อทำงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นพิเศษ หากถามว่าแรงขนาดไหน เอาง่ายๆ ก็ คอมพิวเตอร์ระดับไฮเอนด์ที่เราคิดว่าแรงแล้ว หากเอาไปเทียบกับเครื่องระดับ Workstation ก็จะอยู่แค่ในระดับ New Entry เท่านั้น

ทั้งนี้ด้วยความสเปคที่มันแรงขนาดนี้ ทำให้ในอดีตเครื่องระดับ Workstation จะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่โต แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้การออกแบบเครื่อง Workstation ในตอนนี้มีขนาดที่เล็กกว่าในอดีตเยอะครับ อย่างเช่น เครื่อง Workstation ที่เราหยิบมารีวิวในรอบนี้ HP ZBook Studio G3 ที่มีขนาดไม่ต่างจาก Notebook ปกติสักเท่าไหร่ แต่ฮาร์ดแวร์ข้างในนี่ต้องบอกว่า แรงขั้นเทพ

บทความเกี่ยวกับ HP อื่นๆ

c04866794_1750x1285

HP ZBook Studio G3 มีอยู่ 3 สเปคให้เลือกตามความต้องการในการใช้งาน แต่รุ่นที่เราจะมารีวิวในครั้งนี้ จะเป็นตัวที่แรงสุด ใช้ซีพียู Intel® Xeon® E3-1505M ทำงานร่วมกับการ์ดจอตัวแรง NVIDIA® Quadro® M1000M แถมยังอัดแรมมาให้มากถึง 32GB และฮาร์ดดิสก์แบบ SSD ความจุสูงถึง 512GB สามารถทำงานด้านวิทยาศาสตร์หรือกราฟฟิคตัดต่อวิดีโอหนักๆ ได้สบายๆ เริ่มสนใจกันขึ้นมาบ้างแล้วล่ะสิ ว่าในการใช้งานจริงมันจะโหดขนาดไหน :)

คุณสมบัติโดยละเอียดของ HP ZBook Studio G3

คลิกที่นี่เพื่อดูคุณสมบัติอย่างละเอียด
 

จะเห็นว่านอกจากจะมีสเปคที่แรงแบบสุด แล้ว ยังใส่ระบบรักษาความปลอดภัยมาอย่างเข้มงวดสุดๆ อีกด้วย


วิดีโอรีวิว HP ZBook Studio G3

มาชมความงามของตัวเครื่องและประสิทธิภาพในการใช้งานจริงของเครื่องรุ่นนี้กันครับ


ดีไซน์ตัวเครื่อง HP ZBook Studio G3

การออกแบบของ Workstation ตัวนี้มีภาพลักษณ์ที่ค่อนข้างมีสไตล์ แม้จะเรียบแต่ก็หรูหรา งานประกอบดีงาม หมดจรดทุกมุมมอง แม้ขนาดเครื่องค่อนข้างใหญ่แต่ก็มีความบาง โดยบางเพียง 18 มม. เท่านั้น น้ำหนักอยู่ที่ 2 กิโลกรัม ก็ไม่ได้หนักจนลำบากอะไรมาก (บางและเบามากสำหรับเครื่องระดับ Workstation)

IMG_2390_resize

ตัวเครื่องทำจากอลูมิเนียมและแมกนีเซียมผสมผสานกันอย่างลงตัว ขอบของตัวเครื่องมีการเจียรขอบ Diamond-cut edge หากนึกภาพไม่ออกลองคิดถึงขอบของ iPhone 5 พื้นผิวด้านหลังหน้าจอมี Geometric เบาๆ ทำให้เครื่องไม่ดูจืดจนเกินไป แต่ก็ไม่เยอะจนดูเกลื้อน แถมช่วยให้การถือเครื่องจับง่ายกว่าเดิม ไม่ลื่นเกินไปด้วย

IMG_2476_resize

หน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว จัดเต็มความละเอียดมามากถึง 3840 x 2160 แต่ใช้จริงไม่ค่อยเวิร์คเท่าไหร่ ความละเอียดระดับนี้บนจอ 15.6 นิ้ว นั้น ไอคอนและเมนูต่างๆ จะแสดงผลเล็กมากเลยล่ะครับ แต่มีประโยชน์เวลาทำกราฟฟิค ด้านบนของจอมีกล้องเว็บแคม 720p ให้มาด้วย สำหรับใช้ในการวิดีโอคอล

ลำโพงใช้ของ Bang & Olufsen แบบสเตอริโอ และมีไมโครโฟนมาถึงสองตัว มีปุ่ม Mute ปิดเสียงโดยเฉพาะ เพื่อความรวดเร็วในการปิดเสียงด้วย

ในด้านเสียงของลำโพงนั้นเราไม่ประทับใจสักเท่าไหร่ อยู่ในระดับพอใช้ได้เท่านั้น มิติเสียงค่อนข้างแบน ส่วนเบสแทบไม่มี

IMG_2449_resize

ด้านข้างจัดวางพอร์ทให้มาเพียบ จัดเต็มมาแบบกลัวใช้ไม่หมด มาดูกันที่ฝั่งซ้ายกันก่อน มีพอร์ทให้มา คือ 1 RJ-45, 1 USB 3.0 และ 1 USB 3.0 (charging) มีสลอตอ่านการ์ด SD ให้ในตัว

IMG_2404_resize

ฝั่งขวานี่จัดหนักพอร์ทเพียบ ให้มาครบทุกความต้องการ 1 Power connector, 2 Thunderbolt 3, 1 HDMI 1.4, 1 USB 3.0; 1 stereo microphone-in/headphone-out combo ซึ่งพอร์ทที่จำเป็นต่องานด้านมัลติมีเดียให้มาครบถ้วนครับ

IMG_2401_resize

แต่น่าเศร้าที่ไม่มีดิสเพลย์พอร์ทมาให้ในตัว แปลว่าเราไม่สามารถแสดงผลภาพแบบ 4K ออกจากเครื่องได้โดยตรงนะครับ จำเป็นต้องใช้ใช้อุปกรณ์เสริมอย่าง Zbook Dock (ราคาประมาณ 8,100 บาท) 

i_s01_zbookdock_hero_tcm245_2190838_tcm245_2190702_tcm245-2190838

แน่นอนว่าโน้ตบุ๊คระดับนี้ย่อมมาพร้อมคีย์บอร์ดแบบมีไฟ Backlit ส่วน Touchpad ก็รองรับ Multi-touch gestures และ TouchGuard palm rejection

IMG_2461_resize

ตะแกรงระบายความร้อนด้านล่าง หมดปัญหาลมร้านเป่ามือจากด้านข้างของตัวเครื่อง แต่ถ้าเอามาวางตักนี่เข่าร้อนเลยครับ

IMG_2419_resize

ใครที่เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย รุ่นนี้เขาให้ที่สแกนนิ้วมาด้วย เรื่องนี้จึงมั่นใจได้เลยครับ ว่าข้อมูลของเราจะไม่ถูกขโมยไปได้ง่ายๆ แน่ๆ หากว่าทำเครื่องหาย

IMG_2469_resize


ประสิทธิภาพของ HP ZBook Studio G3

รุ่นที่เราเลือกมาทดสอบนั้นใช้ Intel® Xeon® E3-1505M ซึ่งเป็นซีพียูระดับสูง ที่อินเทลออกแบบขึ้นมาใช้งานสำหรับโน้ตบุ้คระดับ Workstation เป็นส่วนหนึ่งของซีรีย์ Skylake Xeon ที่เปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

คำถามที่ตามมา คือ แล้วมันต่างจาก Core i7 ยังไงล่ะ?

Xeon นั้น มีหลักการทำงานและลูกเล่นที่แตกต่างจาก Core i7 อยู่หลายส่วน ประการแรก Xeon นั้น ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อ "ทำงานเป็นหลัก" ในขณะที่ Core i7 นั้นถูกออกแบบเพื่อให้ใช้ "งานทั่วไป" ได้ทุกด้าน หลักๆ ที่สำคัญเลย คือ Xeon รองรับการทำงานแบบ Dual-CPU, รองรับแรมได้สูงสุดถึง 768 GB และใช้งานร่วมกับแรมแบบ ECC (Error Checking Code) ได้อีกด้วย, ในส่วนของ L3 cache ตัว Xeon ก็ทำได้ถึง 15-30MB สูงกว่า i7 ถึงสองเท่า 

ทั้งนี้ถ้าคิดว่าเอา Xeon มาเล่นเกมมันจะต้องแรงแน่เลย ก็ต้องตอบว่า เล่นได้ แต่เป็นการลงทุนที่ไม่ค่อยจะคุ้มค่าและไม่แนะนำให้ทำสักเท่าไหร่ครับ

ผลการ Benchmark เทียบประสิทธิภาพของ Xeon E3-1505M v5 เทียบกับ Core i7 6700HQ
(Credit : https://cpuboss.com/cpus/Intel-Xeon-E3-1505M-v5-vs-Intel-Core-i7-6700HQ)

2016-06-06_151728

ในส่วนของการ์ดจอ เครื่องนี้ใช้ NVIDIA Quadro M1000M ซึ่งการ์ดตระกูล Quadro นั้นเป็นกราฟฟิคการ์ดที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับงานออกแบบโดยเฉพาะ ในขณะที่การ์ดตระกูล Geforce จะถูกออกแบบมาเพื่อการเล่นเกมเป็นหลัก โดยตัว Quadro จะมีไดร์เวอร์ที่ปรับแต่งมาให้เหมาะสมกับการใช้งานโปรแกรมอย่าง CAD, DCC, medicine หรือพวก Visualisation areas ทั้งนี้ตัวการ์ดจะรองรับการทำงานทั้งกาประมวลผลแบบ DirectX 11, OpenGL 4.1 (Graphic rendering และ DirectCompute), OpenCL, AXE และ CUDA แถมด้วย Fermi core ตัวใหม่ที่จะแก้ปัญหาคอขวดในการประมวลผลให้ดียิ่งกว่าเดิม เราจึงมั่นใจในเรื่องความเร็วของการเรนเดอร์ข้อมูลต่างๆ ได้เลย ทั้งนี้การ์ดจอตัวนี้ไม่ใช่เล่นเกมไม่ได้นะครับ แต่มันเล่นได้ไม่ดีเท่าการ์ดตระกูล Geforce ที่ออกแบบมาสำหรับการเล่นเกมโดยเฉพาะเท่านั้นเอง

ด้วยพลังของ Intel® Xeon® E3-1505M และ NVIDIA Quadro M1000M รวมกับแรมที่ให้มา 32GB และฮาร์ดดิสก์แบบ SSD ผมมั่นใจว่าเจ้า Workstation ที่ขนาดดูเล็กๆ เครื่องนี้ สามารถตอบโจทย์การทำงานได้ดีไม่แพ้เครื่องขนาดใหญ่ๆ เลยทีเดียว

ผล Benchmarks ของ HP ZBook Studio G3 
Credit : https://www.techradar.com/reviews/pc-mac/laptops-portable-pcs/laptops-and-netbooks/hp-zbook-studio-g3-1308737/review/2

  • 3DMark 8: Skydiver: 11151; Cloud Gate: 16055; Fire Strike: 3388
  • PCMark 8 Home: 2857
  • PCMark 8 Work: 2852
  • PCMark 8 Creative: 3194
  • PCMark 8 Battery Life: 2 hrs 21 mins
  • Cinebench: CPU: 593; GPU: 92
  • Geekbench: Single-Core: 3863; Multi-Core: 12678

ความเห็นจากไทยแวร์

จุดเด่น

  • เครื่องออกแบบมาอย่างหรูหรา ดีไซน์สวย
  • ตัวเครื่องบางมาก (เทียบกับเครื่องระดับ Workstation)
  • เครื่องมีประสิทธิภาพที่สูงมาก
  • พอร์ทให้มาเพียบ ครบเกือบทุกความต้องการ

จุดด้อย

  • แบตเตอรรี่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ และแบตเตอรี่หมดเร็ว
  • ไม่สามารถดึงภาพ 4k มาแสดงผลผ่านจอภายนอกได้โดยตรง

HP ZBook Studio G3 เป็นเครื่องระดับ Workstation ที่มีขนาดบางจนน่าประทับใจ ตัวเครื่องหรูหราและมีประสิทธิภาพสูงมาก ข้อเสียเพียงอย่างเดียวที่เราพบคือ แบตเตอรี่มันหมดเร็วไปหน่อยเท่านั้นเอง


 

0 %E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7+HP+ZBook+Studio+G3+Mobile+Workstation+%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%AF+%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87+%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ