ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

นวัตกรรมดี ๆ แต่ไม่มีวันแจ้งเกิด คืออะไร ? มา 3 ดูตัวอย่างของนวัตกรรมเหล่านี้กัน

นวัตกรรมดี ๆ แต่ไม่มีวันแจ้งเกิด คืออะไร ? มา 3 ดูตัวอย่างของนวัตกรรมเหล่านี้กัน

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 8,583
เขียนโดย :
0 %E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B5+%E0%B9%86+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%A1%E0%B8%B2+3+%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

นวัตกรรมดี แต่ไม่มีวันแจ้งเกิด

Eric S. Raymond นักพัฒนาซอฟต์แวร์ชาวอเมริกัน เคยกล่าวไว้ว่า 

“The most dangerous enemy of a better solution is an existing codebase that is just good enough.”

คำกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนานวัตกรรม (Innovation Development) อะไรสักอย่าง ถ้าเป้าหมายคือสิ่งที่ดีกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายที่ทะเยอทะยานปานใด ถ้าของเดิมมัน “พอใช้ได้” ของใหม่ก็ไม่อาจจะไม่ได้แจ้งเกิด

อย่างคุณ Raymond เองก็เป็นนักพัฒนา ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (Open-Source Software) เคยพูดถึงระบบปฏิบัติการที่ชื่อ Plan 9 ซึ่งผู้พัฒนาวางไว้ว่าจะเป็นทายาทของ ระบบปฏิบัติการ Unix และมันก็ดีกว่าในหลาย ๆ ด้าน แต่ระบบปฏิบัติการ Unix เองถึงแม้จะหลุดบ้าง รั่วบ้าง มันก็ถูไถทำงานไปได้ ซึ่งแค่นั้นก็เพียงพอแล้วที่จะรักษาตำแหน่งไว้

นี่คือความยากที่นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ซึ่งแม้จะ “ดีกว่า” แต่แพ้ “ดีพอ”

หนึ่งในเทคโนโลยีที่ “ดีพอ” และอยู่ยืนยงมาข้ามยุคของมันก็คือ "แป้นพิมพ์แบบ QWERTY" ที่ถึงแม้จะมีแป้นพิมพ์ Dvorak ที่ตั้งใจออกแบบมาให้ดีกว่า แต่ก็ไม่ได้แจ้งเกิดเป็นแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์กระแสหลัง

ข้อมูลเพิ่มเติม : Dvorak แป้นพิมพ์ที่ตั้งใจออกแบบมาให้ดีกว่า QWERTY แต่สุดท้ายก็ไม่มีใครใช้

นอกจากแป้นพิมพ์ Dvorak แล้ว สุดยอดนวัตกรรมที่มาก่อนกาลอีกหลายชิ้นที่น่าสนใจ ลองมาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง ...

เนื้อหาภายในบทความ

1. PicturePhone - นวัตกรรมแพงแต่ดี
(PicturePhone is an Expensive Innovation but Good)

ช่วงต้นทศวรรษ 90s ที่โทรศัพท์ยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ และกลุ่มบริษัท Bell System ครองตลาดอยู่นั้นจนถึงกลางทศวรรษที่เริ่มมีการพัฒนาเทคโนโลยีโทรศัพท์ด้วยระบบดิจิทัล มีอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่เกือบจะพลิกโลกของการสื่อสารไปอีกขั้นนึงเลย นั่นคือ PicturePhone จาก AT&T’s Bell Labs

PicturePhone นวัตกรรมแพงแต่ดี
ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=WzdCKBZP4Jo

จะว่าไปแล้ว มันคือปู่ทวดของ กล้องเว็บแคม (Webcam) ในยุคนี้ ที่ส่งสัญญาณภาพขาวดำบนจอกว้าง 5 ตารางนิ้วผ่านเทคโนโลยีสายทองแดง ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นเทคโนโลยีที่ล้ำมาก ๆ ในยุคนั้น ลองคิดดูว่าเทคโนโลยีเสียงของโทรศัพท์ยังไม่ได้แพร่หลายไปเป็นกระแสหลักเลย แต่ Bell สามารถสร้างโทรศัพท์ส่งภาพได้ แถมยังสามารถแสดงเอกสารผ่านหน้าจอได้ด้วย

ในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) ทางบริษัทเริ่มโปรโมท PicturePhone ด้วยการติดตั้ง PictureBoots ในเมืองใหญ่ทั่วประเทศ ทั้งนิวยอร์ก ชิคาโก และวอชิงตัน ดีซี เพื่อให้คนได้ทดลองใช้ ด้วยราคาประมาณ 20 ดอลล่าร์ (ประมาณ 150 ดอลล่าร์ในปัจจุบัน) และฝันไว้ว่าจะสามารถขาย PicturePhone ได้ถึง 1 ล้านเครื่องภายในปี ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) และเพิ่มเป็น 12 ล้านคนในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) แต่ด้วยราคาที่แพงเว่อร์ขนาดนั้น ในช่วง 6 เดือนแรกที่เริ่มใช้งาน มีคนทดลองใช้เพียงแค่ 71 คน แม้จะยังพยายามฝืนไป แต่สุดท้ายก็ต้องพับโครงการหลังจากลากยาวมาถึง 14 ปี ทุ่มงบไปกว่าห้าร้อยล้านดอลล่าร์

ถ้ามองในบริบทของช่วงทศวรรษ 1960s นั้น มีการคาดการณ์กันว่าสื่อชนิดใหม่ ๆ กำลังจะเกิดขึ้นด้วยความพร้อมของเทคโนโลยี และโลกทั้งโลกก็จะเชื่อมกันมากขึ้น นั่นหมายความว่าข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ ก็จะต้องใช้อุปกรณ์สื่อสารและสายสัญญาณแบบใหม่ด้วย ถ้า PicturePhone เป็นผู้นำกระแสนี้ได้ ผู้บริโภคก็น่าจะยอมจ่ายเงินมากขึ้นเพื่ออัปเกรดอุปกรณ์และสายสัญญาณต่าง ๆ และสุดท้าย เงินที่ได้มาก็จะทำให้ Bell ต่อยอดพัฒนาเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้อีก 

ลองนึกเล่น ๆ ว่ากระแสมันจุดติดหลังจาก Bell นำ PicturePhone เข้าสู่ตลาดตั้งแต่ตอนนั้น บริษัทก็สามารถผลิตสินค้าได้ในราคาที่ถูกลงและขยายไปสู่ตลาดใหญ่ขึ้น อาจจะขยายไปทั่วโลก ทำให้บริษัทมีทุนพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารดิจิทัลใหม่ ๆ อีกหลายแบบ ซึ่งมันจะกลายเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ หรือที่เราเรียกว่า “อินเทอร์เน็ต” นั่นละครับ 

น่าเสียดาย PicturePhone ตกม้าตายไม่สามารถกระโดดข้ามเหวมรณะที่กลืนกินนวัตกรรมก่อนจะเข้าสู่ mainstream ได้เพราะหลายปัจจัย มัน “แพงไป” สำหรับผู้บริโภค ไม่ดีพอสำหรับการใช้งานในธุรกิจ (ใครจะอยากดูเอกสารผ่านจอ 5 นิ้ว) แถมจะให้รัฐฯ ช่วยเงินอุดหนุนก็ไม่ได้เพราะผิดกฎหมายผูกขาดการค้า ไม่งั้นโลกเราอาจได้รู้จักอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์กันตั้งแต่ก่อนปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ไปแล้ว

2. Betamax - นวัตกรรมที่ดีเกินไป
(Betamax is too Good Innovation)

นี่คือมหากาพย์เทคโนโลยีวิดีโออนาล็อกอันโด่งดังในยุคปลายศตวรรษที่ 20 ของ Betamax ของ Sony และ VHS (Video Home System) ของ JVC

Betamax นวัตกรรมที่ดีเกินไป
ภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Videotape_format_war#/media/File:VHS_vs_Betamax_size.jpg

ในช่วงปลายทศวรรษ 70s มีเครื่องเล่นวิดีโออยู่หลายเจ้าในตลาด ทั้งจาก Phillips, Sanyo และ Matsushita แต่สองเจ้าที่มาแรงมาก ๆ คือ Betamax ของ Sony และ VHS ของ JVC ผ่านไปไม่กี่ปีก็เหลือแค่สองเจ้านี้ที่เปิดสงครามเทคโนโลยีวิดีโอคาสเซ็ทกันอย่างจริงจัง

ในด้านของคุณภาพนั้น Betamax ดีกว่าแทบทุกเรื่อง ภาพสวยและละเอียดกว่า คุณภาพเครื่องดีกว่า ขนาดช่องรับเทปวิดีโอยังเปิดปิดได้เนียนกว่าเลย ถ้าวัดกันด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ Betamax น่าจะครองตลาดได้นานและเป็นที่นิยมมากกว่า

แต่สิ่งที่ VHS ได้เปรียบคือเทปคาสเซ็ท VHS บันทึกความยาวได้ 2 ชั่วโมง พอดีกับความยาวมาตรฐานของภาพยนตร์ ต่างกับเทป Betamax ที่เล่นได้แค่ 1 ชั่วโมง ตัวเครื่อง VHS หนัก 29.5 ปอนด์ (13.38 กิโลกรับ) มีน้ำหนักเบากว่า Betamax (36 ปอนด์ หรือ 16.3 กิโลกรัม) อยู่เกือบ 3 กิโลกรัม ซึ่งเป็นความได้เปรียบในการขยายตลาดอย่างมากตั้งแต่ราคาของชิ้นส่วนต่าง ๆ ขั้นตอนการประกอบ และราคาการขนส่ง พูดง่าย ๆ คือสินค้าที่เบากว่าได้เปรียบในแง่การผลิตแบบอุตสาหกรรมขนานใหญ่ (Mass assembly and production) แถม JVC ยังเปิดโอกาสให้ค่ายอื่นช่วยผลิตเครื่องเล่น VHS ได้ด้วย ทำให้เครื่องได้รับความนิยมมากขึ้นและเกิดการแข่งขันด้านราคา

แต่ประเด็นแพ้ชนะของเครื่องบันทึกเทปสองตัวนี้กลับอยู่ที่การวางกลยุทธ์การตลาด โดย Betamax โฟกัสที่การเป็นอิสระจากตารางเวลาของโทรทัศน์ เมื่อคุณอัดรายการได้แล้ว คุณจะดูตอนไหน เมื่อไรก็ได้ ในขณะที่ VHS ลุยสร้างพันธมิตรกับธุรกิจการเช่าภาพยนตร์เป็นหลัก พอตลาดการเช่าวิดีโอเริ่มโต VHS ก็กลายเป็นเจ้าตลาดทันที

Betamax นวัตกรรมที่ดีเกินไป
ภาพจาก : https://theconversation.com/the-end-of-sonys-betamax-video-tape-but-the-format-wars-continue-in-a-digital-world-50589

ตั้งแต่เริ่มสงครามระหว่าง Sony และ VHS เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1976 (พ.ศ. 2519) นั้น ส่วนแบ่งการตลาดของ Betamax ก็ลดลงเรื่อย  ๆ จนถึงปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) สื่อก็ประกาศว่า VHS ชนะสงคราม

วิดีโออนาล็อกแบบเบ็ดเสร็จ เมื่อ Sony ประกาศว่าจะเริ่มการผลิตเครื่องเล่นวิดีโอในรูปแบบ VHS แต่กว่า Sony จะหยุดการผลิตจริงก็ปาเข้าไปปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)

Betamax นวัตกรรมที่ดีเกินไป
ภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=ddYZITaxlTQ

เหวมรณะที่ Betamax ต้องเป็นเหยื่อก็คือการเดินหมากผิดทางการตลาด การไม่อนุญาตให้ผู้เล่นรายอื่นผลิตเครื่องเล่นวิดีโอด้วยเทคโลโลยีของตน Betamax กลายเป็นเครื่องเล่นวิดีโอของกลุ่มคนที่แคร์คุณภาพและสามารถสู้ราคาได้ แต่สุดท้ายมันก็ไปไม่รอดเพราะแพ้เทคโนโลยี VHS ที่ไม่ได้ “ดีกว่า” แต่ “ดีพอ” สำหรับตลาดผู้บริโภคทั่วไป

มีอีกทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อว่า Betamax พ่ายแพ้ไปเพราะไม่ยอมกระโดดลงมาเล่นตลาดหนังโป๊ ใครสนใจลองอ่านได้นะครับ

อ่านเพิ่มเติม : Betamax vs VHS สงครามฟอร์แมทวิดีโอเทป ที่ตำนานเล่าว่าอีกฝ่ายแพ้เพราะแบนหนังโป๊

3. Google Glass - จะเป็นทุกอย่างให้เธอ
(Google Glass will be Everything for you)

เราจะเห็นได้ว่า ทางผ่านมานั้นทาง Google มักจะมีนวัตกรรมให้เราได้ว้าวกันตลอด และ Google Glass ที่เปิดตัวเมื่อปี ค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) ก็เป็นเทคโนโลยีระดับ “Moonshot” คือหวังว่าจะเปลี่ยนวิถีของมนุษย์ชาติกันเลยทีเดียว

แรกเริ่มเดิมที Google Glass (หรือ Glass) ไม่ได้ใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากเท่าไหร่นัก และก็ไม่ได้มีความสามารถของ Augmented Reality (AR) กล่าวคือ ลักษณะการใช้งานก็ใช้ง่ายคล้าย ๆ กับคอมพิวเตอร์จิ๋วที่มองผ่านแว่น เช็คข้อความ ดูรูป ค้นอินเตอร์เน็ตได้ ด้วยเป้าหมายว่าจะเอาไว้เก็บข้อมูลการใช้งานไปพัฒนาต่อในโปรเจค Google X

แต่ในโลกความเป็นจริง Glass เจอปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้กลัวว่า Google จะเก็บข้อมูลไปทำอะไรอีก แล้วคนที่ “เห็น” คนใส่ Glass ล่ะจะรู้สึกอย่างไร ? ถ้าวันหนึ่งเทคโนโลยีจดจำใบหน้า (Facial Recognition Technology) มาถึงจุดที่คนใส่ Glass สามารถรู้ข้อมูลทุกคนที่มองเห็นได้ ห้างร้านต่าง ๆ ก็ไม่สะดวกใจถ้าใครจะใส่ Glass เข้ามาในพื้นที่ของตน เพราะมันสามารถล้วงข้อมูลอะไรต่าง ๆ ได้มากมาย หลายแห่งถึงกับประกาศห้ามใช้อุปกรณ์เหล่านี้เลย

Google Glass จะเป็นทุกอย่างให้เธอ
ภาพจาก : https://www.forbes.com/sites/adamhartung/2015/02/12/the-reason-why-google-glass-amazon-firephone-and-segway-all-failed/?sh=62d07a19c05c

นี่ยังไม่นับว่าราคา Glass เริ่มต้นที่ $1,500 (46,000 - 48,000 บาท ณ ปี ค.ศ. 2014 (พ.ศ. 2557)) มันแพงกว่ามือถือดี ๆ เสียอีก เมื่อเทียบกับความสามารถที่ไม่ต่างจากแต่ได้ขอเล็กนิดเดียว ในขณะที่แบตเตอรี่ก็ใช้ได้แค่ 4 - 5 ชั่วโมง เท่านั้น ! มันไม่คุ้มค่าการลงทุนเลย

นอกจากนี้แล้ว Glass เอง ก็พยายามจะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ใช้กับเรื่องอะไรก็ได้ เป็นเทคโนโลยีสวมใส่ได้ (Wearable Tech) ที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเรา แต่นั่นคือปัญหาหลักที่กูรูทั้งหลายมองว่าทำให้มันไม่เกิด เพราะเทคโนโลยีที่ไม่ได้มีเป้าหมายยกระดับคุณภาพชีวิต หรือทำให้การทำงานบางอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่ามันจะดูดีแค่ไหนก็เป็นแค่เทคโนลียีประเภท “เจ๋ง… แล้วไงล่ะ” 

ณ วันนี้ Glass ยังไม่ได้ตายจากไป แต่เข้าไปเป็นเทคโนโลยีในโรงงาน โดยฝังอยู่ในแว่นนิรภัย ช่วยส่งข้อมูลให้พนักงานทำงานได้เร็วขึ้นและปลอดภัยกว่าเดิม กลายเป็นเทคโนโลยีที่มีที่ทางของตัวเอง 

Google ก็หันมาผลิต Glass เพิ่มตอบโจทย์เฉพาะทางให้กับอุตสาหกรรมหรือต่าง ๆ ต่อไป อย่างในโรงงานของ GE เมื่อเอาเทคโนโลยี Glass มาใช้ พนักงานก็สามารถโฟกัสที่งานของตัวเองได้มากขึ้น และเห็นข้อมูลที่จำเป็นกับงานแบบเรียลไทม์ ก็สามารถช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้นถึง 34% เลย

Google Glass จะเป็นทุกอย่างให้เธอ
ภาพจาก : https://x.company/projects/glass/

บทสรุปของนวัตกรรมดี ๆ แต่ไม่มีวันแจ้งเกิด
(Good Innovation but no Date of Birth Conclusions)

นวัตกรรมมากมายที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาจนเข้าสู่ตลาด ไม่ได้ต้องการความสมบูรณ์แบบ หรือเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะในโลกความเป็นจริงยังมีปัจจัยมากมายที่จะสามารถขยายผลนวัตกรรมให้กลายเป็นกระแสหลักในตลาดได้ และปัจจัยเหล่านี้มักจะไม่เกี่ยวกับรายละเอียดทางเทคโนโลยีเลย จากตัวอย่างเราได้เห็นว่าเทคโนโลยีล้ำยุคอย่าง PicturePhone มาเร็วไปทำให้ไม่สามารถขยายการผลิตได้แต่วันนี้เราก็ได้เห็นสมาร์ทโฟนที่เป็นมากกว่า PicturePhone เสียอีก

Betamax ที่เหนือกว่าในด้านคุณภาพ แต่ด้วยปัจจัยด้านการออกแบบและการวางแผนการตลาดที่ผิดพลาดเพราะไปเน้นด้านการอัดรายการทีวี ที่จริง TiVo ก็เป็นอีกเทคโนโลยีที่วางแผนการตลาดเป็นเครื่องอัดรายการทีวีเหมือนกันและก็ดับไปแล้วเช่นกัน เพราะไม่คิดว่าธุรกิจบันเทิงจะเข้าสู่ยุคสตรีมมิ่งเร็วขนาดนี้

ตัวอย่างสุดท้ายคือ Google Glass ที่ต้องเปลี่ยนตัวเองไปเน้นลูกค้าอุตสาหกรรม แต่วันนี้เราก็ได้เห็นเทคโนโลยี AR/VR กลับมาอีกครั้งกับ Oculus ซึ่งมาพร้อมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่พร้อมจะดันให้มันกลายเป็นส่วนสำคัญของ Metaverse

อีกไม่นานละครับ เรารู้กันว่า Oculus จะมีชะตากรรมเหมือน Google Glass หรือไม่ ?


ที่มา : time.com , www.buzzfeednews.com , www.engineerguy.com , en.wikipedia.org , www.youtube.com , www.youtube.com , en.wikipedia.org , www.investopedia.com , www.forbes.com

 
0 %E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B5+%E0%B9%86+%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B8%A1%E0%B8%B2+3+%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ผู้เขียน DATA STORYTELLING IN MARKETING ใช้ดาต้าเล่าเรื่องแบบมืออาชีพ | ครูมหาวิทยาลัยใกล้ๆ กรุงเทพที่สนใจเทคโนโลยี การศึกษา และสิ่งที่เป็นไปได้เมื่อเอาสองเรื่องนี้มารวมกัน
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น