PewDiePie ยูทูบเบอร์สายเกมส์ที่สามารถสร้างรายได้จากการเล่นเกมส์ด้วยการเอนเตอร์เทนคนดู
เมื่อยุคสมัยที่อินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น รูปแบบของงานหรือการสร้างรายได้ ก็มีมากตามเช่นเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบัน "เกมส์" สื่อน้องเล็กสุดของโลกที่คลานตามอินเทอร์เน็ตมานี้ ก็มีความนิยมในระดับสูงพอสมควร และส่งผลให้เกิดหลายอาชีพที่สามารถรองรับความต้องการในส่วนนี้ออกมา แต่ผู้เขียนจะไม่ขอพูดถึงสายพัฒนาเกมส์ (Developer) ละกันนะครับ หากแต่จะเป็นการนำเสนอ "6 แนวทางอาชีพที่ผู้เล่นเกมส์ทั่วไปอย่างเราๆ สามารถนำเกมส์มาใช้สร้างรายได้" ซึ่งมันจะมีอะไรกันบ้างนั้น เชิญตามอ่านต่อกันได้เลยครับผม!
ในระดับสากล การเล่นเกมส์พร้อมมีเสียงพากษ์ของคนเล่นลงไปในวิดีโอคลิปด้วย จะถูกเรียกว่า Let's Play หรือ ยูทูบเบอร์สายเกมส์ (Youtuber Gamer) ส่วนบ้านเราจะจำกัดความว่า แคสเตอร์ (Caster) โดยงานสายอาชีพนี้ สิ่งที่จำเป็นต้องมีเหนืออื่นใด คือ "ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเอ็นเตอร์เทนคนดู" ให้พวกเขามีความรู้สึกอยากตามติดผลงานชิ้นต่อไปของเรา
ซึ่งสายอาชีพนี้ จะมีรายได้จากการที่คนดู ไม่กดข้ามโฆษณาและรับชมโฆษณาที่ปรากฎขึ้นในคลิปของพวกเขา ตามระยะเวลาที่ Youtube กำหนดไว้ หรือหากมียอดผู้ติดตามที่มากพอในระดับหนึ่ง ก็จะมีผู้สนับสนุนมาว่าจ้างให้ทำคลิปโฆษณาสินค้าของพวกเขา เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของรายได้หลังสุดนี้ ในปัจจุบันถือได้ว่าเป็นการรับรายได้หลักของยูทูบเบอร์ชาวไทย
แต่ทั้งนี้ "ความสม่ำเสมอในการผลิตผลงาน และความอดทน" คือสิ่งที่ยูทูบเบอร์สายเกมส์ทั้งหลายแนะนำเป็นเสียงเดียวกันให้กับผู้ที่มีความสนใจในอาชีพดังกล่าวนี้ ฉะนั้น ถ้าคิดจะลุยก็ต้องเต็มที่และอย่าย่อท้อครับผม!
งานเขียน พื้นฐานของงานสื่อที่ไม่มีวันล้มหายตายจากไปไหน และ "เกมส์" สื่อน้องใหม่ที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้น ที่หลากหลายชิ้น ก็มีแง่มุมน่าสนใจไม่ต่างจากสื่อที่มีมาก่อนหน้า (เพลง, ภาพยนตร์, นิยาย ฯลฯ) ทั้ง เนื้อเรื่อง ที่ตรึงผู้เล่นให้ตามต่อในแรกเริ่มและจดจำบทสรุปในท้ายที่สุด งานภาพ ที่สวยงามตามทัศนศิลป์และมีชีวิตชีวา ฯลฯ
สายอาชีพนักเขียนนั้น จะต้องจับประเด็น หรือถอดรหัสแนวคิดต่างๆ อันน่าใคร่รู้ ที่ฝังอยู่ในเกมส์ทั้งหลาย และแปลงมันออกมาเป็นบทความในรูปแบบต่างๆ ทั้ง บทความเชิงวิเคราะห์, วิจารณ์, เกร็ดเรื่องราวน่ารู้, แนะแนวการเล่น หรือบทความในรูปแบบที่ให้ประโยชน์แก่ผู้อ่าน
ซึ่งผู้ที่มีความสนใจในงานสายอาชีพดังกล่าวนี้ สิ่งสำคัญที่พึงมี คือต้อง "รู้" ให้ได้ว่า แต่ละเกมส์เน้นนำเสนอ, มีจุดเด่น มีข้อสังเกตอะไร และควรจะมี "ทักษะการเขียน" ในระดับเบื้องต้นไปจนถึงขั้นสูง เพื่อให้ผู้อ่าน สามารถตามติดบทความของเราได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
Clockwerk ฮีโร่จากเกมส์ Dota 2ในเซ็ตเครื่องแต่งกาย Red Baron อันเป็นฝีมือของ katzeimsack นักม็อดของเกมส์ดังกล่าว
Counter-Strike เกมส์แนวยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่งในตำนาน อันเป็นฝีมือของสองเกมเมอร์อย่าง Gooseman และ Cliffe ที่ได้นำ Half-Life เกมส์ลูกรักของค่ายพัฒนาเกมส์อย่าง Valve มาดัดแปลงและแก้ไขหรือที่เรียกว่า "ม็อด" (Mod) จนประสบความสำเร็จ และส่งผลให้ทางต้นสังกัดเกมส์ ถูกใจในผลงานของพวกเขาทั้งสอง และได้ทำการว่าจ้างให้สานต่อและพัฒนา Counter-Strike ให้กลายเป็นเกมส์ของ Valve อย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบัน และในภาคล่าสุดอย่าง Counter-Strike: Global Offensive ก็ยังได้เป็นหนึ่งในเกมส์ที่ใช้แข่งขันกีฬา eSport อีกด้วยครับ
เหตุการณ์ในครั้งนั้น Valve และทีมพัฒนา/จัดจำหน่ายเกมส์ทั้งหลาย ก็มักจะให้เกมส์ของพวกเขามีส่วนที่เป็น Open Source หรือเครื่องมือในดัดแปลงปรับแต่งเกมส์ เพื่อให้ผู้เล่นปั้นความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ลงไปในเกมส์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ การม็อดสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ทำได้แล้ว โดยค่ายพัฒา/จัดจำหน่ายที่พร้อมจะสนับสนุนนักม็อดแบบชัดเจนนั้น มีดังนี้
แต่สำหรับใครที่ไม่ได้ชื่นชอบเกมส์จากทั้งสองค่าย ก็อาจจะสร้างม็อดในเกมส์ที่ตนเล่นเป็นประจำแทน และปล่อยให้ดาวน์โหลดแต่สามารถให้ผู้คนที่ชื่นชอบในผลงานเรา สนับสนุนในรูปแบบ Donate แทน แต่อย่าลืมความเป็นจริงข้อหนึ่งละครับว่า การม็อดเกมส์ ก็ไม่แตกต่างอะไรจากงานศิลปะชนิดอื่นๆ ฉะนั้นจงประณีตและใส่ใจในแต่ละชิ้นสักหน่อย รับรองจะต้องมีคนเห็นค่าแน่นอนครับ
นอกเหนือจากที่เกมส์ จะไว้ใช้จรรโลงจิตใจ หรือเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์แล้วนั้น ก็ยังสามารถกลายเป็นสนามประลองด้านปัญญาเชิงไหวพริบปฏิภาณหรือที่คุ้นชินกันในชื่อ "eSport" ได้อีกต่อหนึ่งที่ก็ยังมาพร้อมกับของรางวัลล่อใจเป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่เริ่มตั้งแต่ หลักแสนไปจนถึงหลักสิบล้านบาทเลยทีเดียว ซึ่งด้วยจำนวนเงินรางวัลที่มากโขนี้เอง ตลาดการแข่งขันด้วยเกมส์จึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันในหลากหลายประเทศ นักกีฬา eSport สามารถเป็นอาชีพหาเลี้ยงตนได้ไม่ต่างจากอาชีพอื่นๆ และคาดว่าในไม่ช้าประเทศไทย ก็จะมีศักยภาพนี้เหมือนเจ้าอื่นทุกประการครับ
โดยรายได้จากอาชีพนี้ หลักๆ แล้วจะมาจาก 3 ช่องทางครับ ได้แก่ เงินรางวัลจากการแข่งขัน, เงินเดือนจากสังกัดที่อยู่หรือเล่นให้ที่จะได้ตามข้อตกลงในสัญญา ปิดท้ายด้วยจากช่องทางเสริมทั้งหลายครับ ไลฟ์สตรีมเกมส์เอย เป็นพรีเซ็นเตอร์ให้แบรนด์อุปกรณ์เกมมิ่งเกียร์เอย ฯลฯ แต่ทั้งนี้ ขึ้นชื่อว่านักกีฬา และถึงแม้จะเป็นแขนง eSport แล้วก็ตาม สิ่งที่พึงมีดั่งนักกีฬาทั่วไปก็ยังจะต้องเป็น ความขยันในการฝึกซ้อม การไม่หยุดฝีมืออยู่กับที่ หมั่นเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากผู้ที่เก่งกว่าอยู่เสมอครับ
"เหล่านักพากษ์" เป็นอีกหนึ่งกลุ่มอาชีพที่สร้างสีสันให้กับวงการกีฬาทุกแขนง เพราะแม้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนสนามจะดุเดือดเผ็ดมันขนาดไหน แต่หากขาดเสียงชี้นำของพวกเขา ที่คอยอ่านสถานการณ์ วิเคราะห์ หรือนำร่องปฎิกิริยาเชิงสนุกสนานกันแบบสดๆ นั้น การแข่งขันทั้งหลายที่กินเวลาขั้นต่ำ 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะ "eSport" ก็คงจะเงียบเหงาเศร้าสร้อยและถูกทิ้งร้างไร้การตามต่อเป็นแน่ แถมการแข่งขันกีฬาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวนี้ บางคนก็ถึงกับรับชมการแข่งขันด้วยการมีผู้พากษ์เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเลือกดูเลยทีเดียว (ยกตัวอย่างง่ายๆ จากผู้เขียนเองเลยก็ได้ครับ ผู้เขียนค่อนข้างชอบ Tobiwan ผู้พากษ์การแข่งเกมส์ DOTA 2)
โดยอาชีพนี้ สิ่งสำคัญที่พึงมี คือ ต้องรอบรู้รายละเอียดระดับกลาง-สูงของการเล่นในเกมส์นั้นๆ เพื่อที่จะได้สามารถอธิบายให้คนดูได้รู้ว่า สิ่งที่นักกีฬา eSport กำลังทำอยู่บนหน้าจอมีผลอะไรกับการเล่น และจะส่งผลอะไรกับอีกฝั่ง เป็นต้น นั่นหมายถึง นักพากษ์เอง ก็ต้องศึกษาตัวเกมส์ไม่ได้ต่างอะไรกับผู้เล่นเช่นกันครับ จึงไม่แปลกนัก ที่ผู้พากษ์เสียงการแข่งขันหลายคน ถึงมาจากการเป็นผู้เล่น eSport มาก่อน อีกทั้งเรื่องการ "พูด" เอง ก็ควรจะต้องฉะฉาน และออกเสียงพยัญชนะ ตัวสะกดทั้งหลายได้อย่างดีดั่งอาชีพที่ทำมาหากินด้วยเสียงครับ
KirosZ นักกีฬา eSport และยังเป็นทั้งสตรีมเมอร์
การมาของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในปี 2007 ผนวกกับกิจวัตรของผู้คนที่เปลี่ยนไป ทั้งสองก็ได้เป็นวัตถุดิบชั้นดีในการก่อร่างสร้าง Twitch (ตามหลังมาในปี 2011) เว็บไซต์ในรูปแบบแพลตฟอร์มที่นำเสนอการไลฟ์สตรีมหรือถ่ายทอดสดวิดีโอแบบปะติดปะต่อ ที่ทำให้การเสพสื่อประเภทเกมส์ในรูปแบบการรับชม เป็นมากกว่าแค่การดูเพื่อหาทางไปต่อ (Walkthrough) แต่ได้ทำให้เป็นการรับชมในเชิงนันทนาการหรือเพื่อความสนุกสนาน (Let's Play) ทำให้ปัจจุบัน สตรีมเมอร์ (Streamer) หรือผู้ที่เล่นเกมส์ให้รับชมกันแบบสดๆ บนแพลตฟอร์มดังกล่าว ก็ได้กลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าจับตามองครับ
ส่วนการจะกลายเป็นนักสตรีมเมอร์นั้น หากไม่นับเรื่องอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ที่ต้องดีพร้อมแล้ว สิ่งที่จะต้องมี ก็ยังคงต้องเป็นความสม่ำเสมอในการสตรีม และทักษะการเอนเตอร์เทนคนดูไม่ทางใดก็ทางหนึ่่ง เช่น เราอาจจะมีฝีมือในการเล่นเกมส์ที่ดีเพื่อทำให้ที่คนดูสนุกและเรียนรู้เทคนิคจากเกมส์ที่เราเชี่ยวชาญ (สตรีมเมอร์สายนี้ ส่วนใหญ่จะมาจากการเป็นโปรเพลเยอร์เสียส่วนใหญ่), การสร้างเอกลักษ์ที่น่าจดจำให้กับคนดูด้วย หรือการใช้วาจาที่เหมาะสมกับกลุ่มคนดูของเราที่ต้องรู้กาละเทศะ หยาบได้ แต่ต้องไม่ทั้งหมดของตลอดการเล่น เป็นต้น โดยรายได้ของนักสตรีมเมอร์นั้น มาจาก 3 ช่องทางหลักๆ ครับ คือ
|
ทำไมไม่เรียกแมว! รักหนัง รักเกม ร๊ากกทุกคนนน ~ <3 |