ไม่แน่ใจว่ามีผู้อ่านท่านใดเคยได้ยิน หรือรู้จักกับ PICO-8 หรือไม่ ? มันเป็นหนึ่งในโปรเจคที่เรารู้สึกว่ามันน่าสนใจดี เลยอยากจะมาแนะนำให้รู้จักกัน ใครที่อยากลองฝึกเขียนโปรแกรม ทดลองสร้างเกมด้วยตนเอง หรือคนที่หาเกมฟรีมาเล่นฆ่าเวลา เกมที่สามารถเล่นได้เลยโดยไม่ต้องติดตั้ง อารมณ์แอบเล่นระหว่างเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ PICO-8 น่าจะเป็นสิ่งที่คุณกำลังมองหาอยู่
ใครที่สนใจ PICO-8 บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักมันกัน ...
PICO-8 (หรือ Pico-8) เป็นเครื่องเกมแบบ "Fantasy Console" ที่พัฒนาขึ้นมาโดย Lexaloffle โดยมันมีคุณสมบัติในการสร้างเกม, แบ่งปันเกม, เล่นเกม และโปรแกรมได้
ขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Fantasy Console ว่ามันคืออะไร ?
Fantasy Console เป็นโปรแกรมประเภทอีมูเลเตอร์ (Emulator) ที่จะจำลองเครื่องเกมขึ้นมา ที่มันใช้คำว่า Fantasy (จิตนาการ) ก็เพราะว่าเครื่องเกมที่มันจำลองขึ้นมาเป็นเครื่องเกมที่ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นเครื่องเกมที่นักพัฒนาจินตนาการมันขึ้นมาเท่านั้น
ยกตัวอย่างเครื่องเกมพกพาในตำนานอย่าง Game Boy ของปู่ Nintendo ถ้าจะสร้างอีมูเลเตอร์จำลองมันเครื่องมา ระบบอีมูเลเตอร์ก็จะกำหนดการใช้ทรัพยากรให้ตรงกับฮาร์ดแวร์ของ Game Boy เช่น ใช้ หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ระดับ 8 บิต ที่มี หน่วยความจำหลัก (RAM) ระบบ 32 Kb และมีกราฟิกแรมอีก 16 Kb เป็นต้น
ส่วน Fantasy Console นั้นจะมีสเปกแบบไหนก็ได้ ? แล้วแต่จินตนาการของนักพัฒนาเลยว่า เขาอยากสร้างเครื่องเกมคอนโซลแบบไหนขึ้นมา ซึ่ง PICO-8 ได้ถูกสร้างขึ้นมาแบบนั้น โดยผู้พัฒนาสร้างให้ PICO-8 เป็นเครื่องเกมคอนโซลแบบเรโทร ที่จำกัด ฮาร์ดแวร์ เอาไว้ต่ำมาก เพื่อให้เล่นได้อย่างราบรื่นบนทุกอุปกรณ์
เกมของ PICO-8 สามารถเล่นผ่าน เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ได้ฟรี โดยที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม แต่ถ้าต้องการพัฒนาเกมด้วย จะต้องดาวน์โหลดโปรแกรม PICO-8 มาติดตั้งก่อน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ $14.99 (ประมาณ 515 บาท) โดยรองรับระบบปฏิบัติการ Windows, ,macOS, Linux และ Raspberry Pi
ภาพจาก : https://www.makeuseof.com/pico-8-what/
ภายในโปรแกรม PICO-8 นอกจากการเล่นเกมแล้ว มันยังมาพร้อมกับเครื่องมือสำหรับ Coding เขียนเกมด้วยภาษา Lua, สร้างกราฟิก, ทำเสียงเอฟเฟค และเพลงประกอบในตัว โดยทั้งหมดนี้จะแสดงผลที่ความละเอียดเพียง 128 x 128 พิกเซล เท่านั้น
ภาพจาก : https://www.lexaloffle.com/pico-8.php?#getpico8
ในส่วนของเกมที่เล่นกับเครื่อง PICO-8 จะอยู่ในรูปแบบตลับเกมเสมือนจริง เรียกว่า "Cartridges" หรือ "Carts" โดยไฟล์เกมมีขนาดที่เล็กมาก ผู้ใช้สามารถเผยแพร่เกมที่สร้างขึ้นมาผ่านทางเว็บบอร์ดของ PICO-8 โดยตรง เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเล่นได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม
นอกจากนี้ ตัวเกมยังสามารถเล่นแบบ Standalone ได้ โดยจะมีโค้ดสำหรับฝัง (Embeddes) ไว้บนหน้าเว็บไซต์ได้ มีหลายเว็บไซต์ที่ให้บริการเกมของ PICO-8 อยู่เหมือนกัน เช่น itch.io
PICO-8 เปิดตัวตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) จนถึงปัจจุบันนี้ ก็ได้รับความสนใจจากนักพัฒนาเกมอยู่ไม่น้อย มีเกมเผยแพร่บนแพลตฟอร์มอยู่หลายร้อยเกม ซึ่งทุกเกมสามารถเล่นได้ฟรี จะเสียเงินต่อเมื่อเราต้องการพัฒนาเกมเท่านั้น
ภาพจาก : https://www.lexaloffle.com/bbs/?cat=7#sub=2&mode=carts&orderby=featured
หน้าจอ |
|
เสียง |
|
การควบคุม |
|
ตลับเกม |
|
หน่วยความจำ |
|
วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การเล่นผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยไปที่ URL : https://www.lexaloffle.com/pico-8.php แล้วเลือกเกมที่ต้องการเล่นได้เลย การบังคับจะใช้ "ปุ่มทิศทาง" บนแป้นคีย์บอร์ด, "ปุ่ม Z", "ปุ่ม X" และ "ปุ่ม Enter"
หรือไม่ก็ซื้อเครื่องเล่นเกม Retro Handhelds มา มีหลายรุ่นที่รองรับการเล่นเกม PICO-8 ด้วย หรือจะทำเองด้วย Raspberry Pi ก็มีผู้แนะนำแนวทางเอาไว้ในอินเทอร์เน็ตให้เลือกอ่านเพียบ
PICO-8 บนเครื่อง Anbernic RG351m
ภาพจาก : https://www.lexaloffle.com/bbs/?tid=44065
ใครที่กำลังเบื่อไม่มีไรทำ อยากหาเกมเล่น หรืออยากลองสร้างเกม ไม่รู้จะเริ่มที่ไหน ? ก็อาจจะมาเริ่มที่ PICO-8 ก็ได้นะ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |