ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

"ฝนตก" ช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในอากาศได้จริงหรือไม่


เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 9,633
เขียนโดย :
0 %22%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%81%22+%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81+%28PM+2.5%29+%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

ช่วงนี้ที่ค่าฝุ่นละอองในอากาศกลับมาเพิ่มขึ้นสูงก็เกิดความสงสัยว่าการที่ท้องฟ้าดูครึ้มๆ ในทุกวันนั้น เป็นเพราะค่าฝุ่นสูงหรือฝนกำลังจะตกกันแน่? และเมื่อ เช็คพยากรณ์อากาศ ก็รู้สึกผิดหวังเพราะส่วนใหญ่แล้วท้องฟ้าที่เราเห็นนั้นเป็น ฟ้าครึ้มฝุ่นมากกว่าครึ้มฝน และถึงแม้เราจะไม่ใช่ Rain Lover แต่ในช่วงที่ค่าฝุ่นพุ่งสูงก็มักจะรอคอยให้ฝนตกมาชะล้างฝุ่นละอองออกไปอยู่บ่อยๆ เพราะท้องฟ้าหลังฝนตกนั้นดูโปร่งและสดใสขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ช่วงหลังมานี้ถึงแม้ว่าจะมี ฝนตกประปรายก็ไม่เห็นว่าค่าฝุ่นจะลดน้อยลง สักเท่าไรนัก จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า “ฝนตกช่วยลดฝุ่นละอองภายในอากาศได้จริงหรือไม่?”

ฝนช่วยลดฝุ่นในอากาศได้จริงหรือ?

บทความเกี่ยวกับ PM 2.5 อื่นๆ

สำหรับคำถามในประเด็นนี้ นักอุตุเคมีวิทยา (Atmospheric Chemist) จาก MIT (สถาบันเทคโนโลยีเมือง Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา เองก็เกิดความสงสัยและทำการศึกษาถึง กระบวนการชะล้างมลพิษในอากาศขณะเกิดฝน โดยเปรียบเทียบจากลักษณะการก่อตัวของเมฆ, ขนาดของเม็ดฝน, การกระจายตัวของฝน เพื่อทำการคาดการณ์ถึงความน่าจะเป็นที่ฝนจะชะล้างอนุภาคต่างๆ ภายในอากาศออกไป โดยการจำลองสถานการณ์ฝนตกในห้องควบคุมของทางศูนย์วิจัยเพื่อควบคุมความแรงและขนาดของเม็ดฝนที่ตกลงมาในการศึกษาว่าเม็ดฝนจะจับเอาอนุภาคต่างๆ ที่ลอยอยู่ในอากาศลงมาขณะตกลงพื้นหรือไม่ และผลการทดลองก็สรุปได้ว่า ฝนสามารถชะล้างฝุ่นละอองและอนุภาคต่างๆ ที่ลอยอยู่ในอากาศได้จริง ตัวอย่างเช่น ฝุ่นที่เกิดจากการเผาไหม้, ซัลเฟต และอนุภาคอินทรีย์ต่างๆ ในอากาศ เป็นต้น

อากาศ (เส้นสีฟ้า) จะเกิดการขยายตัวโอบรอบเม็ดฝน (สีฟ้า) ที่เคลื่อนตัวลงมาตามแรงโน้มถ่วง และเม็ดฝนจะดึงให้อนุภาคที่ลอยตัวอยู่ในอากาศ (สีเหลือง) ตกลงพื้นไปพร้อมๆ กับน้ำฝน

"ฝนตก" ช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในอากาศได้จริงหรือไม่

ภาพจาก : https://news.mit.edu/2015/rain-drops-attract-aerosols-clean-air-0828

อย่างไรก็ตาม การศึกษาของทาง MIT นั้นไม่ได้ระบุลงลึกไปถึงลักษณะและขนาดของอนุภาคฝุ่นละอองในอากาศที่ฝนสามารถชะล้างออกไปได้ แต่ผลการศึกษาเรื่องฝุ่นละอองในเมืองหลานโจว (Lanzhou) ของมหาวิทยาลัย Chengdu ประเทศจีน พบว่าปริมาณเปอร์เซนต์ (%) ของฝุ่นละอองในอากาศหลังการเกิดฝนตกเบาๆ (ซ้าย) ไปยังฝนตกหนัก (ขวา) นั้นลดลงไม่มากนัก และหากนับเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และ PM 1.0 (สีแดง) ก็หายไปเพียงแค่เกือบ 10 % หลังจากฝนตกหนักเท่านั้น ในขณะที่ ฝุ่นละอองขนาดใหญ่กว่า PM 2.5 (สีน้ำเงิน) นั้น หายไปเกือบ 30 % เลยทีเดียว

"ฝนตก" ช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในอากาศได้จริงหรือไม่

ภาพจาก : https://smartairfilters.com/en/blog/rain-washes-away-pollution/

ซึ่งก็สอดคล้องกับผลการศึกษาเรื่องปัจจัยด้านสภาพอากาศต่อการก่อตัวของฝุ่น PM 2.5 ในเมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ที่ทำการวัดสภาพอากาศและการเกิดมลพิษภายในอากาศตลอดทั้งปี พบว่า ความชื้นในอากาศในช่วงฤดูกาลต่างๆ ไม่ได้สัมพันธ์กันกับการก่อตัวของฝุ่น PM 2.5 แต่อย่างใด เพราะในช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงปริมาณฝุ่นก็ไม่ได้ลดน้อยลงจากช่วยที่อากาศแห้ง

"ฝนตก" ช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในอากาศได้จริงหรือไม่

ภาพจาก : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4555266/#!po=48.6111

ทำไมบางครั้งค่าฝุ่นจึงลดลงหลังฝนตก?

ในเมื่อความชื้นในอากาศและน้ำฝนไม่ได้มีส่วนช่วยชะล้างฝุ่นละอองในอากาศ (โดยเฉพาะ PM 2.5) ออกไปเท่าไรนัก แล้วทำไมในบางครั้งเราจึงเห็นว่าค่าฝุ่นลดน้อยลงหลังฝนตก? นั่นเป็นเพราะในช่วงเวลาที่ฝนตกนั้นไม่ได้มีเพียงแค่ “น้ำฝน” เพียงเท่านั้น แต่มันมาพร้อมกับ “ลม” ที่จะช่วย พัดฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศให้ไปยังพื้นที่อื่น ทำให้ท้องฟ้าบริเวณที่เราอาศัยอยู่ดูโปร่งและสดใสมากขึ้น

โดยผลสรุปจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยนางาซากิก็ชี้ให้เห็นว่า ค่าฝุ่น PM 2.5 ในช่วงที่มีอัตราการพัดผ่านของลมสูงจะมี ปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับช่วงที่ไม่มีลมพัดผ่าน (หรือแรงลมต่ำ)

"ฝนตก" ช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในอากาศได้จริงหรือไม่

ภาพจาก : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4555266/#!po=48.6111

และจากการเก็บข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองในอากาศขนาดต่างๆ ภายในช่วงเวลา 1 วันในเมืองหลานโจว ก็พบว่าช่วงเวลาที่ มวลอากาศเย็น พัดผ่านตัวเมืองนั้นได้ พัดเอาฝุ่นละอองออกไปนอกเมือง ด้วย แม้จะไม่มีการก่อตัวของเมฆฝนเลยแม้แต่น้อย

"ฝนตก" ช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในอากาศได้จริงหรือไม่

ภาพจาก : https://smartairfilters.com/en/blog/rain-washes-away-pollution/

นอกจากนี้ ผลการศึกษาทางอุตุเคมีวิทยาที่มีการเก็บข้อมูลการกระจายตัวของฝุ่นละอองภายในอากาศในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทวีปยุโรป ทั้งจากเมือง Basel และ Payerne ประเทศสวิสเซอร์แลนด์, Bloomsbury และ Harwell สหราชอาณาจักร, Illmitz ประเทศออสเตรีย, Langenbruegge ประเทศเยอรมนี และ Penausende ประเทศสเปน มาเปรียบเทียบผลกัน ก็พบว่า แรงลมมีผลต่อการเคลื่อนตัวของฝุ่นอย่างมีนัยสำคัญ โดยฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จะถูกลมพัดพาออกไปได้ง่ายกว่าฝุ่นละอองขนาดใหญ่ (PM 2.5 ขึ้นไป)

"ฝนตก" ช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในอากาศได้จริงหรือไม่

ภาพจาก : https://www.atmos-chem-phys.net/12/3189/2012/acp-12-3189-2012.pdf

อย่างไรก็ตาม แรงลมก็ไม่ได้ช่วยให้ปริมาณฝุ่นลดลงเพียงอย่างเดียว เพราะใน บางครั้งมันก็พัดพาฝุ่นจากทิศทางอื่นเข้ามาด้วย ตัวอย่างเช่นในเมืองอุตสาหกรรมหลักของประเทศจีนอย่าง ปักกิ่ง ที่ภูเขาบดบังทางลมบริเวณทิศเหนือและตะวันตก จะเห็นได้ว่าเมื่อมีลมจากทิศใต้และทิศตะวันออกพัดเข้ามาในเมืองนั้นทำให้ค่าฝุ่น PM 2.5 ภายในอากาศพุ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

"ฝนตก" ช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในอากาศได้จริงหรือไม่

ภาพจาก : https://smartairfilters.com/en/blog/rain-washes-away-pollution/

แต่สำหรับใน กรุงเทพฯ ที่มีลักษณะเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่มีความชุกของฝุ่นละอองภายในอากาศจำนวนมากทั้งควันจากท่อไอเสียรถ และการเผาไหม้จากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ถึงแม้จะไม่มีภูเขาบังทิศทางลมเหมือนปักกิ่ง แต่ด้วยปริมาณของตึกสูงจำนวนมากก็มีส่วนในการปิดกั้นทางเดินลมก็ทำให้ ฝุ่นในอากาศไม่ได้รับการระบายออก และยังคงมีปริมาณที่สูงอยู่นั่นเอง

ตึกสูงจำนวนมากทำให้บังทิศทางการเดินลม

"ฝนตก" ช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในอากาศได้จริงหรือไม่

ภาพจาก : https://thairesidents.com/local/see-not-fog-pollution-bangkok/


ดังนั้นแล้ว ในช่วงเวลาที่ “ฝนตก” ที่มีทั้งลมและน้ำฝนนั้นจะสามารถช่วย ลดฝุ่นละอองภายในอากาศไปได้บางส่วน เพราะมลพิษในอากาศที่เราเห็นนั้นประกอบไปด้วยฝุ่นละอองขนาดต่างๆ ปะปนกันไป โดยฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5 และ PM 1.0) จะถูกลมพัดพาออกไป ในขณะที่ฝุ่นละอองขนาดใหญ่ (PM 2.5 ขึ้นไป) จะถูกชะล้างออกไปด้วยน้ำฝน (แต่แน่นอนว่าการฉีดละอองน้ำขึ้นไปบนอากาศเพื่อไล่ฝุ่น PM 2.5 นั้นเป็นวิธีการลดฝุ่นที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากจะไม่มีแรงลมในการช่วยพัดฝุ่นแล้ว ปริมาณของน้ำในอากาศยังน้อยกว่าการที่ฝนตกปรอยๆ เสียอีก)


ที่มา : smartairfilters.com , www.sciencedirect.com , www.ncbi.nlm.nih.gov , www.atmos-chem-phys.net , news.mit.edu

 

0 %22%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%81%22+%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%9D%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81+%28PM+2.5%29+%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่..
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1
19 มกราคม 2563 04:19:37
GUEST
Comment Bubble Triangle
R0B1N
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ
 


 

รีวิวแนะนำ