Chrome เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่ ถูกพัฒนาขึ้นโดย Google มันปล่อยออกมาให้ใช้งานเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน ปี 2008 มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องจนครองใจผู้ใช้งานส่วนใหญ่เอาไว้ได้กลายเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากสูงสุดในโลก เรามีเรื่องราวน่าสนใจเกี่ยวกับ Chrome มาฝากให้อ่านกันสนุกๆ
ภาพจาก https://www.google.com/intl/th_th/chrome/
สถิติที่น่าสนใจของ Chrome
|
Eric Schmidt ที่ตอนนั้นดำรงตำแหน่ง CEO ของ Google ไม่เห็นด้วยกับการที่ Google จะพัฒนาเบราว์เซอร์ตัวใหม่ขึ้นมา โดยคัดค้านโครงการดังกล่าวเป็นเวลานานถึง 6 ปี ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เนื่องจากตอนนั้น Google ยังเป็นบริษัทเล็กๆ ที่เพิ่งก่อตั้งมาไม่กี่ปี (Google ก่อตั้งในปี 1998)
แถมช่วงเวลานั้นการแข่งขันในตลาดค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว หลังจากที่ Microsoft จับ Internet Explorer มายัดไว้ในระบบปฏิบัติการ Windows เลย เวลานั้นคู่แข่งอย่าง Firefox ที่เปิดตัวในปี 2004 ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี ในการแย่งส่วนแบ่งในตลาดเบราว์เซอร์มาได้สูงสุดที่ 32.21% ตอนปลายปี 2009 ดังนั้นการจะลงทุนพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ตัวใหม่ขึ้นมาในตลาดจึงยากที่จะประสบความสำเร็จ
แต่แลร์รี เพจ (Larry Page) และเซอร์เกย์ บริน (Sergey Brin) คู่หูผู้ร่วมกันสร้าง Google ขึ้นมา ได้ซุ่มทำเบราว์เซอร์เวอร์ชัน Demo ออกมาสาธิตให้ดู เมื่อ Eric Schmidt ได้สัมผัส ก็เล็งเห็นถึงโอกาส รวมกับความรู้สึกที่เริ่มพ่ายแพ้ต่อลูกตื๊อด้วย ทำให้โครงการสร้างเว็บเบราว์เซอร์ของ Google ได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งภายหลังก็ได้ชื่อว่า Chrome นั่นเอง
ประมาณเดือนมิถุนายน ในปี 2006 Ben Goodger, Darin Fisher และ Brian Ryner ทั้งสามคนเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ที่ร่วมกันบุกเบิก Firefox ขึ้นมา ช่วงเวลานั้น พวกเขารู้สึกว่า Firefox และ Internet Explorer มีข้อจำกัดที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ โค้ดของมันถูกถูกเขียนขึ้นมาเพื่อให้ทำงานได้แบบพื้นฐานเท่านั้น เน้นการใช้งานบนคอมพิวเตอร์, เช็คอีเมล หรือจัดการ Database แต่ในช่วงเวลานั้นอินเทอร์เน็ตเริ่มเขาสู่ยุคใหม่แล้ว เว็บไซต์ไม่ได้ทำหน้าที่แค่นำเสนอเนื้อหาแค่เพียงอย่างเดียวเหมือนแต่ก่อน พวกเขาทั้ง 3 คน หลงรัก Firefox ที่มีส่วนร่วมในการสร้างขึ้นมากับมือ แต่เวลานั้น Firefox อยู่ในจุดที่หากจะรื้อโครงสร้าง เพื่อทำ Firefox เวอร์ชันใหม่ ก็จะทำให้ฟังก์ชันยอดนิยมหลายๆ อย่างพังหมด (เช่น Toolbar, RSS reader ฯลฯ) ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป
พวกเขาตัดสินใจพัฒนาระบบ Rendering engine แบบใหม่ขึ้นมาเพื่อใช้ประมวลผล HTML ในการแสดงเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ หลายสัปดาห์ต่อมา พวกเขาได้สร้างซอฟต์แวร์ง่ายๆ ขึ้นมาตัวหนึ่ง ที่ใช้ WebKit ในการทำงาน มันสามารถดำเนินงานต่อไปได้แม้ว่าหน้าเว็บนั้นจะ Crash ไปแล้ว โดยจะมีรูปหน้าบึ้งปรากฏขึ้นมาเมื่อแท็บนั้นพัง
แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน ได้มาร่วมชมการสาธิตซอฟต์แวร์ดังกล่าวด้วย จากนั้นมีการเสนอไอเดีย ที่เว็บเบราว์เซอร์ควรจะเป็นเสมือนแพลตฟอร์มในตัวที่มีหน้าที่หลายอย่าง ไม่ใช่แค่มีไว้แสดงเนื้อหาจากหน้าเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว การพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ของจึงเริ่มขึ้น โดย Google ได้จ้างให้วิศวกรซอฟต์แวร์ทั้งสามคนจาก Firefox ให้มาช่วยกันพัฒนารวมกันกับทีมวิศวกรของ Google
ประธานของ Mozilla ยินดีให้คนของตนเองไปช่วยสร้าง Chromeอาจมีคนสงสัยว่า ทำไม Mozilla ยินยอมให้พนักงานของตนเองไปช่วยพัฒนาเบราว์เซอร์ของ Google ที่จะกลายเป็นคู่แข่งในอนาคต เรื่องนี้ Mitchell Baker ประธานของ Mozilla ได้เปิดเผยว่า
|
ในตอนที่ตั้งชื่อโค้ดเนมของโครงการนี้ Sundar Pichai ที่ตอนนั้นทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการเป็นคนที่ชื่นชอบรถที่มีความเร็วสูง มันเปรียบเสมือนเป้าหมายในการสร้างเว็บเบราว์เซอร์ได้รวดเร็วกว่าที่มีให้เลือกในท้องตลาด ซึ่งทุกคนในทีมก็ชื่นชอบชื่อนี้
รถซุปเปอร์คาร์นิยมใช้โครเมียม (Chrome) ในการผลิตชิ้นส่วน เพราะมันมีความทาน และเงางาม |
เมื่อพัฒนาเสร็จพร้อมจะเปิดตัวแล้ว ทีมงานหาชื่อที่ดีกว่านี้ไม่ได้ เพราะทุกคนพอใจกับชื่อ Chrome ที่เป็นโค้ดเนมของโครงการอยู่แล้ว อีกเหตุผลหนึ่ง คือ ในศาสตร์ด้านการออกแบบ คำว่า Chrome หมายถึงการออกแบบที่ไม่มีเนื้อหาเว็บเกี่ยวข้องกับ Interface ของเบราว์เซอร์ ซึ่ง Chrome ได้รับการออกแบบให้มีหน้าตาเรียบง่าย เน้นการแสดงเว็บไซต์เป็นหลัก
หากสังเกตดีๆ จะพบว่าโลโก้ของ Google Chrome ออกแบบโดยใช้สีเดียวกันกับโลโก้ของ Google อันประกอบไปด้วยสีน้ำเงิน, แดง, เขียว และเหลือง
โลโก้ในภาพแรกซ้ายสุด ใช้ระหว่างปี 2008-2011 จะมีลักษณะเป็นภาพ 3 มิติ ต่อมาได้ปรับปรุงให้ดูเรียบง่ายขึ้น ถูกใช้ระหว่างปี 2011-2014 และขวาสุดคือ โลโก้ที่ปรับปรุงการออกแบบให้เป็นไปตามหลัก Material design ถูกใช้มาตั้งแต่ปี 2014 จวบจนถึงปัจจุบัน
Google ขึ้นชื่อเรื่องความซนในการแอบซ่อน Easter egg เอาไว้ตามบริการ หรือซอฟต์แวร์ต่างๆ ซึ่งใน Chrome เอง ก็มีเช่นกัน รู้หรือไม่ว่าจะมีอีโมติคอนปรากฏขึ้นมาเวลาที่เราเปิดแท็บเกิน 100 อัน
โดยบน Android จะเป็นรูปยิ้ม :D ส่วน iOS จะเป็นรูป :)
อย่างไรก็ตาม ในโหมดไม่ระบุตัวตน จะมีความแตกต่างไปจากเดิม โดย iOS นั้น จะแสดงเป็นยิ้มหวานเหมือนเดิม :) แต่บน Android จะเปลี่ยนเป็นยิ้มที่ดูเจ้าเล่ห์แทนซะงั้น ;)
1 เมษายน ของทุกปี เป็นวันเมษาหน้าโง่ (April Fools' Day) ในวันนี้ผู้คนจะเล่นมุกตลก และสร้างเรื่องหลอกลวงต่อกันเพื่อความสนุกสนาน บรรดาบริษัทไอทีต่างๆ ในซิลิคอนวัลลีย์ก็นิยม คิดค้นไอเดียออกมาเรียกเสียงด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีแปลกๆ ที่เห็นแล้วต้องพูดว่าว่า "อิหยังวะ"
Google เคยเล่นสนุกกับ Chrome ด้วยการออกลูกเล่น แปลภาษาอังกฤษเป็นอีโมติคอน ซึ่งการแกล้งในครั้งนี้ประสบความสำเร็จถูกใจผู้ใช้เป็นอย่างมาก จนภายหลัง Google ถึงกับตั้งทีมขึ้นมาเพื่อออกแบบอีโมติคอน เพิ่มขึ้น เพื่อให้เลือกใช้ได้ตรงกับความรู้สึกต่างๆ ได้มากขึ้นเลยทีเดียว
เดิมที การทำเว็บไซต์ขึ้นมาสักเว็บหนึ่ง จะต้องมีการทดสอบว่ามันสามารถแสดงผลบนเว็บเบราว์เซอร์ต่างๆ ได้อย่างไม่มีผิดเพี้ยน แต่หลังจากที่ Chrome ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งเหตุผลก็มาจากความเร็วในการใช้งาน และคุณสมบัติใหม่ๆ ที่ขยันอัปเดตอย่างต่อเนื่อง
ทำให้คนทำเว็บไซต์เริ่มที่จะไม่สนใจทดสอบการแสดงผลบนเบราว์เซอร์ทุกตัวอีกต่อไป ขอแค่มันแสดงผล ใช้งานฟังก์ชันต่างๆ บน Chrome ได้อย่างเรียบร้อยก็พอแล้ว
เบื้องหลังการทำงานของ Chrome นั้น และบริการของ Google มีการใช้ Engine, APIs และ Script อยู่หลายตัว บ่อยครั้งที่ Google ตัดสินใจอัปเดตชุดคำสั่งโดยไม่บอกใคร กว่าจะรู้ตัวก็ตอนที่พบว่าเบราว์เซอร์ที่ตนเองใช้ไม่สามารถใช้งานบริการของ Google ได้
Andreas Gal ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีของ Firefox ถึงกับเคยกล่าวว่า ตอนนี้ผู้ที่กำหนดมาตรฐานเว็บไซต์ก็คือ Google
ใน Chrome มีซ่อน Notepad เอาไว้ให้เราใช้จดโน้ตด้วยนะ สามารถเข้าใช้ด้วยการพิมพ์ไปที่ช่องใส่ URL ว่า data:text/html,
แล้วเริ่มพิมพ์สิ่งที่ต้องการได้เลย สามารถบันทึกข้อมูลได้ด้วยคำสั่ง Save page as... ด้วยล่ะ
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |