ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์
ภาพจาก : www.unsplash.com
เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 19,944
เขียนโดย :
0 %E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2+%28Moderator%29+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

คำเตือน : บทความนี้อาจจะมีเนื้อหาความรุนแรง ส่งผลต่อด้านสุขภาพจิตใจ

ผู้ตรวจเนื้อหา และ เบื้องหลังความเจ็บปวด บนโลกออนไลน์

ลองจินตนาการว่า หากเราเป็นคนที่มีจิตใจอ่อนโยน
ที่ต้องคอยเฝ้าดูเนื้อหาไม่เหมาะสมต่างๆ บนโลกอินเทอร์เน็ตซ้ำๆ ล่ะจะเป็นยังไง?

ไม่นับสื่อภาพยนตร์ที่เราดูเพื่อความบันเทิง แต่เนื้อหาเหล่านั้นล้วนเป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละวัน อาจจะเป็นภาพเด็กทารกถูกพี่เลี้ยงทำร้าย ภาพสัตว์เลี้ยงถูกรังแก ใช้ไม้ทุบตี จนเลือดออก ส่งเสียงร้องออกมาเท่าไหร่ ก็ไม่มีใครช่วยได้ หรือ ภาพวิดีโอเกี่ยวกับทางเพศ เด็กวัยรุ่นถูกข่มขืน กระทำชำเรา โดยไม่มีทางสู้ ภาพความรุนในแรงสังคม การใช้ปืนยิงจนมีผู้เสียชีวิต หรือ การปลุกปั่นความเกลียดชังต่างๆ นานาที่เกิดขึ้น

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์

หากคุณเป็นคนนั้นที่ได้รับหน้าที่ต้อง "คอยนั่งดูภาพเหล่านี้อยู่ซ้ำๆ" ทั้งๆ ที่รู้ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่มีใครสามารถทำให้มันหยุดได้ ความเจ็บปวดเหล่านั้นจะยิ่งฝังลึกลงไปในใจ ก่อเกิดเป็นความเจ็บปวดที่ไม่อาจเยียวยาได้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่อย่างเงียบๆ เป็นเงามืดอยู่มุมของโลกโซเชียลโดยที่เราอาจจะไม่เคยรู้

โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network)

ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) หรือ สังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Twitter, Youtube, Instagram และอีกมากมาย ถือเป็นช่องทางหลักที่เราใช้ติดต่อสื่อสารกันในทุกวันนี้ เพราะความสะดวกสบายที่เกิดขึ้นบนโลกออนไลน์ การอัปโหลดส่งต่อ แชร์ข้อมูลต่างๆ สู่โลกภายนอกสามารถทำอย่างง่ายดายเพียงเสี้ยววินาที แต่ยิ่งเข้าถึงข้อมูลได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีจุดอ่อนมากเท่านั้น

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์

เนื้อหาต่างๆ จำนวนมากที่เข้าถึงง่ายนั้น ยากต่อการคัดกรอง ทำให้มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมหลุดออกมาบนอินเทอร์เน็ตนับไม่ถ้วน ทั้งเนื้อหารุนแรงต่างๆ มากมาย ด้านเพศ ภาพลามกอนาจาร การใช้ความรุนแรงกับมนุษย์และสัตว์ การใช้ถ้อยคำเหยียด สร้างความร้าวฉานให้แก่สื่อสังคมออนไลน์ แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ทุกหนแห่ง ทำให้แพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ ต้องหาวิธีรับมือและจัดการกับปัญหาเหล่านี้

ผู้ตรวจเนื้อหา คืออะไร ?

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์

จึงเป็นที่มาของ ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ ซึ่ง พวกเขาเหล่านี้มีหน้าที่ทำงานจัดการเนื้อหา ตรวจสอบ คอยคัดกรองเนื้อหาบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ นอกจากนี้เขายังเฝ้าลบเนื้อหาไม่เหมาะสมที่ขัดต่อกฎส่วนรวมและแพลตฟอร์มที่พวกเขาดูแล รวมถึงการอนุญาตให้เนื้อหาบางส่วนเผยแพร่ได้หลังจากการตรวจสอบ

ทำไมถึงต้องมี ผู้ตรวจเนื้อหา ? 

โลกยุคใหม่สื่อและเนื้อหาต่างๆ อยู่บนโลกออนไลน์ ถึงแม้ทุกแพลตฟอร์มจะมีระบบคอมพิวเตอร์​ AI (ระบบปัญญาประดิษฐ์) ที่คอยตรวจสอบจำแนกเนื้อหา บล็อกเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมออกจากโลกออนไลน์ ทำหน้าที่ไม่ต่างจากผู้ตรวจเนื้อหา แต่เพราะในปัจจุบัน ระบบคอมพิวเตอร์ยังไม่มีความสามารถในการตัดสินใจได้เท่ามนุษย์จริงๆ ดังนั้นจำเป็นต้องมี Moderator คอยกำกับควบคุมดูแลเนื้อหา นอกเหนือจากระบบ AI อีกทีหนึ่ง

จำเป็นต้องมี ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator)
เพราะระบบ AI ยังไม่สามารถคัดแยกเนื้อหาไม่เหมาะสม ได้เท่า ผู้ตรวจเนื้อหา ที่เป็นมนุษย์จริงๆ

บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านวงการไอที อย่างกูเกิล (Google), ยูทูป (Youtube) หรือ เฟสบุ๊ค (Facebook) นั้น ก็มีพนักงาน 10,000 - 30,000 คนในการจัดการทางด้านเนื้อหาโดยเฉพาะ มีทั้งพนักงานประจำและพนักงานที่จ้างจากบริษัทภายนอก (Outsourcing Company) นอกองค์กร เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้

มีผู้ตรวจเนื้อหา อยู่ทั่วทุกมุมโลก
เพื่อให้สามารถทำงาน และ จัดการกับปัญหาได้ตลอด 24 ชั่วโมง

รูปแบบงาน ผู้ตรวจเนื้อหา ?

รูปแบบงานหลักๆ ของผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) จะนั่งอยู่หน้าจอคอมฯ 6 - 8 ชั่วโมงต่อวัน คอย "คัดกรองเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม" ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล ซึ่งเบื้องต้นจะมีระบบ AI จะคอยช่วยคัดเลือกเนื้อหาส่วนที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ รูปภาพ, ข้อความ, วิดีโอ สื่อต่างๆ และผู้ตรวจเนื้อหาจะเป็นคนตัดสินใจว่าเนื้อหาเหล่านั้น "มีเนื้อหา เหมาะสม หรือ ไม่เหมาะสม ตามกฎสาธารณะและกฎที่ทางบริษัทกำหนดไว้" หรือไม่

ผู้ตรวจเนื้อหาหนึ่งคน จะใช้เวลาตรวจสอบเฉลี่ยไม่เกิน 10 วินาทีสำหรับหนึ่งโพสต์ ตรวจ 300 - 400 โพสต์ขึ้นไป หรือ บางคนอาจจะตรวจสอบมากถึง 25,000 โพสต์ต่อวันเลยทีเดียว

เนื้อหาไม่เหมาะสมอันตรายกว่าที่คิด​ ?

มีหลายเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดจากสื่อสร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) แพร่หลายอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต  ยังไม่รวมถึงปัญหา ข่าวปลอม (Fake News), เนื้อหาเกี่ยวกับทางเพศ (Sexual media), ภาพเหตุการณ์ความรุนแรง (Violence contents), การทารุณกรรมสัตว์ (Animal Abuse), สื่อชวนเชื่อจากผู้ก่อการร้าย (Terrorist indoctrination) และอื่นๆ อีกมากมาย

ตัวอย่าง ภาพความรุนแรง เหตุการณ์ทิ้งระเบิดในประเทศซีเรีย

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์
ขอบคุณภาพจาก : https://youtu.be/N2vqvXrHbY8

 

เมื่อเนื้อหาเหล่านี้ถูกเผยแพร่ไปยังพื้นที่สาธารณะต่างๆ โ  ดยไม่ผ่า นการคัดกรอง หรือ  ผู้ดูแลเนื้อหาเพิกเฉยต่อเนื้อหาไม่เหมาะสมเหล่านี้ อาจจะส่งผลให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงมาก 

 สร้างความเกลียดชัง 

ในเรื่องของการสร้างความเกลียดชังนั้น มีกรณีเกิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2559 ​(ค.ศ.2016) และ พ.ศ. 2560 ​(ค.ศ.2017) สมาชิกในกลุ่ม ทหารของเมียนมาร์ (ประเทศพม่า) ใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการสร้างความเกลียดชังในสังคม ส่งเสริมการใช้ความรุนแรงเพื่อ ขับ ไล่และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮีนจา ออกจากประเทศพม่า ซึ่งมีคนจำนวนมากหลงเชื่อในสื่อเหล่านี้ จากการปลูกฝังด้วยสิ่งผิดๆ
 

ข่าวปลอม 

มีข้อมูลข่าวสารปลอม หรือ เฟคนิวส์ (Fake News) ที่ไม่ได้รับการตรวจสอบอยู่มากมาย ผู้สร้างและส่งต่อนั้นมีทั้งเจตนาและไม่ได้เจตนา เมื่อข่าวปลอมเหล่านี้ถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ อาจจะเป็นข้อมูลเท็จสร้างสถานการณ์ต่างๆ การใส่ร้ายป้ายสี ด้านการเมือง หรือ วิธีการรักษาแปลกๆ ที่ใช้งานไม่ได้จริง กว่าจะรู้ความจริงก็สายเกินไป ทำให้มีผู้ที่ได้รับอันตรายจากข่าวสารข้อมูลปลอมๆ เช่นนี้อยู่เรื่อยๆ
 

เนื้อหาเกี่ยวกับทางเพศ

เนื้อหาเกี่ยวกับทางเพศ หรือ เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ สื่อเนื้อหาลามก ประเภทต่างๆ เช่นนี้นั้นทำให้เกิดการกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ ได้ทุกเพศ ทุกวัย ถ้าหากไม่ได้รับการควบคุมอย่างถูกต้อง จะก่อให้เกิดปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศตามมาได้ อาจจะมีเหตุการณ์ขืนใจ กระทำการข่มขืนโดยไม่ยินยอม จนสุดท้ายนำไปสู่เหตุการณ์ฆาตกรรมเกิดขึ้น

ภาพเหตุการณ์ความรุนแรง

เพราะชีวิตจริงไม่ใช่ในหนัง เหตุการณ์ใช้ความรุนแรง ภาพสะเทือนขวัญรูปแบบต่างๆ นั้นส่งผลกระทบต่อจิตใจคนและอาจจะเกิดเหตุการณ์เลียนแบบการใช้กำลังในทางที่ไม่ดี ได้ เช่น คลิปวิดีโอพ่อแม่เด็กอาจจะใช้กำลังกับลูกตัวเอง เกิดการเลียนแบบซ้ำๆ พ่อแม่ตบตีเด็ก และเด็กเลียนแบบการกระทำนำไปใช้กับเพื่อนๆ และผู้อื่นได้ เป็นต้น
 

สื่อชวนเชื่อจากผู้ก่อการร้าย

ทั้งภาพ เสียง หรือ ข้อความ อาจจะเป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ โศกนาฏกรรมของเหยื่อ ข้อความประกาศการก่อการร้าย สื่อทุกรูปแบบนั้น ก่อให้เกิดความกลัวต่อผู้ที่พบเห็น อาจจะมีทั้งผู้ที่เข้าร่วม และผู้ที่ตื่นตระหนกต่อความกลัวร้ายแรง สร้างความหม่นหมองให้สังคมในวงกว้าง จนนำไปสู่ปัญหาสภาพจิตใจที่ย่ำแย่จนไร้ทางรักษา

สิ่งที่ได้กล่าวไปข้างต้น "เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่ผู้ตรวจเนื้อหาต้องเจอในแต่ละวัน"

แต่เพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสมจำนวนมาก ดังนั้นจึงทำให้ทางหลายๆ บริษัทที่ดูแลเนื้อหาบนแพลตฟอร์มของตนจึงเพิ่มความสำคัญแก่เรื่องนี้ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Facebook นั้นกำหนดความผิดพลาดในการตรวจสอบเนื้อหาไม่ควรเกิน 10% จากการตรวจทั้งหมด เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา หากเกิดข้อผิดพลาดในการละเลยเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม บางบริษัทอาจจะจัดการแตกต่างกันไป       

ความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหา

จากบทสัมภาษณ์ มีผู้ตรวจเนื้อหาคนหนึ่งสมัครงานเข้ามาบริษัทใหญ่ๆ ในวงการโซเชียลมีเดีย วันแรกๆ ที่เขาเริ่มงาน ทางบริษัทบอกเขาว่า "หน้าที่ของคุณจะเกี่ยวกับการตรวจสอบดูแลเนื้อหาบนเพจที่ได้รับความนิยม" และ "คุณอาจจะทำเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับโพสต์ที่คนให้ความสนใจ มีคนแสดงความคิดเห็นเยอะ มีไลค์เยอะ" แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์

กระทั่งวันที่สาม ที่เขาเริ่มงาน ... เขาก็ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ดูแลเนื้อหาที่มีภาพความรุนแรง สื่อสร้างความเกลียดชัง ภาพสื่อลามกประเภทต่างๆ งานทั้งหมดนั่นไม่ได้เกี่ยวกับงานด้านธุรกิจ หรือ เพจใดๆ ที่เขาเคยคิดไว้เลย แต่กลับกลายเป็นงานที่ต้องคอยนั่งเฝ้าตรวจสอบสื่อและเนื้อหาไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เขาต้องคอยเฝ้าดูซ้ำๆ อยู่อย่างนั้น

ผู้ตรวจเนื้อหาคนอื่นๆ ก็ประหลาดใจเช่นกัน ถึงแม้บางบริษัทบางแห่งจะมีการแจ้งหน้าที่และเนื้อหาของงานที่ได้รับ ว่าพวกเขาจะต้องทำอะไรบ้างในตอนสมัครงาน พวกเขาจะต้องเซ็นต์ใบยินยอมที่จะไม่เผยแพร่ข้อมูลสู่ภายนอก ไม่ว่าพวกเขาจะพบเจออะไรมาก็ตาม แม้กระทั่งการพูดคุยกับคนใกล้ตัว คนรัก หรือ ครอบครัวพวกเขา ก็ไม่สามารถทำได้ มีคนจำนวนหนึ่งยินยอมที่จะทำตามข้อตกลง เพราะรายได้จากงานนี้สามารถหล่อเลี้ยงชีวิตพวกเขาได้

จำนวนเงินที่มากกว่า รายได้เฉลี่ยของงานทั่วไป
(รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ $8 - $13 ในขณะที่ ผู้ตรวจเนื้อหาเริ่มต้นที่ $15 ต่อชั่วโมงขึ้นไป)
แลกกับ
สภาพจิตใจ ที่ไม่สามารถย้อนกลับไปได้

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์

บางคนอาจจะคิดว่างานประเภทนี้ ดูเหมือนเป็นงานที่ง่าย เพียงแค่นั่งคลิกเมาส์คัดแยกเนื้อหา อนุญาตให้เนื้อหาแสดงผลได้ กับลบเนื้อหาออกจากระบบ ในแต่ละวัน แค่นั้นก็ได้รับเงินแล้ว แต่ความจริงคือ งานนี้มีความเสี่ยงต่อตัวผู้ตรวจเอง และเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายในวงกว้าง

หากพวกเขาตรวจผิดเพียงไม่กี่ครั้งจะโดนไล่ออก เช่น พนักงานตรวจสอบเนื้อหาในบริษัทแห่งหนึ่ง ตรวจผิดเกิน 3 ครั้งใน 1 อาทิตย์ ทำให้เขาโดนไล่ออกจากงานทันที

ยิ่งเพิ่มเป็นความกดดันให้พวกเขามากขึ้น แค่ลำพังสิ่งที่พวกเขาต้องเจอก็บอบช้ำทางด้านจิตใจไม่ใช่น้อย ผู้สมัครเข้ามาทำงาน หรือ พนักงานใหม่บางคนที่ หากใจไม่แข็งพอ ไม่สามารถทำงานรูปแบบนี้ได้ เมื่อพวกเขาได้เจอภาพเหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ นานาๆ หลายรูปแบบ

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์

อย่างงานตรวจบางชิ้นที่มีวิดีโอเหตุการณ์ความรุนแรงกับสัตว์ เด็กวัยรุ่นสองคนเจออิกัวนา (Iguanas) บนถนน พวกเขาจับหางและฟาดลงบนพื้นซ้ำๆ อิกัวนากรีดร้องไม่หยุดจนสิ้นลมหายใจ เหลือไว้เพียงรอยเลือดที่กองเต็มพื้น เด็กวัยรุ่นหัวเราะด้วยความชอบใจ วิดีโอนั้นเป็นวิดีโอภาษาต่างชาติ ผู้ตรวจไม่สามารถระงับการเผยแพร่ได้ทันที จำเป็นจะต้องส่งงานชิ้นนั้นไปให้ผู้ตรวจส่วนอื่นที่มีหน้าที่ดูแลและเข้าใจในภาษานั้นๆ ถึงจะสามารถระงับการเผยแพร่ได้ ทำให้งานล่าช้าลงไปอีก

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์

ไม่เพียงแค่เหตุการณ์เกี่ยวกับสัตว์เท่านั้น แต่ยังมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ อย่างเด็กทารกถูกพี่เลี้ยง บีบคอแน่นด้วยสองมือ จนเลือดออกจากรูจมูก หายใจไม่ได้จนสิ้นใจในที่สุด มีเหตุการณ์คล้ายกันเกิดขึ้นซ้ำๆ แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถลบออกจากระบบ ภาพและวิดีโอเหล่านั้นยังคงมีคนอัปโหลดแชร์และส่งต่อวนกลับมาอยู่ซ้ำๆ ผู้ตรวจทำได้เพียงแค่นั่งดู ถึงจะโกรธ จะร้องไห้ พวกเขาก็ทำอะไรไม่ได้ ทำได้แค่เฝ้าดูเนื้อหาเหล่านั้นซ้ำๆ

พวกเขายังจำภาพซ้ำๆ ของเหตุการณ์ทารุณ การถูกทำร้าย ทั้งคนและสัตว์
ภาพเหล่านั้นติดตาอยู่ตลอด ถึงแม้พวกเขาจะลาออกจากงานแล้วก็ตาม
สภาพจิตใจของพวกเขาก็ยังย่ำแย่เกินเยียวยา ทำได้เพียงแค่นั่งร้องไห้ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
โดยที่ทำอะไรไม่ได้ เพราะเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นไปแล้ว

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์

ในตอนทำงาน หรือ ก่อนที่พวกเขาจะเริ่มงาน ไม่เคยมีใครพูดถึง หรือ ถามถึงสภาพจิตใจของพวกเขาเลยแม้แต่น้อย เวลาที่ทำงานหาก พวกเขาไม่ได้รับการดูแลเหมือนพนักงานในบริษัทหลัก ทั้งที่งานด้านการดูแลและตรวจสอบเนื้อหาแทบจะเป็นเรื่องหลักในการควบคุมสิ่งที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์มต่างๆ เลยด้วยซ้ำ

หลังจากที่พนักงานบางกลุ่มได้เห็นภาพและวิดีโอ มุกตลกร้าย (Dark Jokes) ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย อยู่ซ้ำๆ วนแล้ววนเล่า ทำให้พวกเขาออกไปสูบกัญชา (Weed)
ช่วงพักเบรก เพื่อให้อารมณ์และความรู้สึกของพวกเขาลดน้อยลงจนไม่รู้สึกอะไร

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์

ผู้คนที่ทำงานด้านนี้ พวกเขามีความเสี่ยงต่อสภาวะการป่วยทางจิต  Post-Traumatic Stress Disorder (PTSD) เป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องจากเรื่องราวที่กระทบจิตใจ เกิดจากความเครียดสะสม จากสิ่งรอบตัวที่พวกเขาได้รับ ถึงแม้จะมีมาตรการ วิธีการปรับปรุงปัญหาเพื่อดูแลสภาพจิตใจของพนักงาน เช่น มีโครงการช่วยดูแลสุขภาพ ให้คำปรึกษาพนักงาน แต่ก็ไม่อาจจะช่วยได้เท่าไหร่ เพราะสุดท้ายก็ต้องทนตราบใดที่ยังทำงานเช่นนี้อยู่

ในแต่ละวัน มีเวลาพักทานข้าวแค่ 30 นาที พักเบรกสั้นๆ อีก 15 นาที และ เวลาดูแลสุขภาพจิต (Wellness Time) วันละ 9 นาที ไม่เพียงพอ ที่จะระบายสิ่งที่เก็บอยู่ในใจที่เจอมาได้ทั้งหมด

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์

เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ถูกใช้และทิ้งอย่างไร้ค่า พนักงานบางคนมีความตั้งใจที่ "อยากจะเปลี่ยนแปลง ทำให้สังคมโซเชียลนั้นดีขึ้น" แต่พอพบกับความเป็นจริงนั้น สิ่งที่พวกเขาทำมาทั้งหมดนั้นมันก็แค่ "การปกปิดความผิดพลาดบางส่วนของบริษัท" ที่พวกเขารับหน้าที่ จนสุดท้ายก็มีความคิดที่ว่า

"พวกเขาไม่อาจจะช่วยเหลือปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ด้านนอกโลกโซเชียลมีเดียได้เลย"

มิหนำซ้ำ เมื่อพวกเขากลับมาที่บ้านพวกเขาต้องทนกับฝันร้ายที่มาเยือนทุกคืน เก็บภาพจำที่นั่งมองในแต่ละวันไปฝัน พบเจอกับฝันร้ายซ้ำๆ ไม่อาจจะนอนหลับได้ตามปกติ ระบายให้ใครก็ไม่ได้ และถ้าหากพวกเขาลาออกจากงาน พวกเขาจะไม่ได้รับการสนับสนุน หรือ มีสิทธิ์ได้รับการดูแลใดๆ จากบริษัทอีกเลย ทิ้งไว้เพียงแค่สภาพจิตใจที่บอบช้ำ จากสิ่งที่เขาเลือกและไม่ได้เลือก

ผู้ตรวจเนื้อหา (Moderator) คืออะไร ? และเบื้องหลังความเจ็บปวดของผู้ตรวจเนื้อหาจากโลกออนไลน์

ทันทีที่ก้าวเข้ามาทำหน้าที่ดูแลสื่อบนโลกใบนี้ หากหันหลังกลับเมื่อไหร่ 
พวกเขาทำได้แค่ดูแลสภาพจิตใจที่เหลืออยู่ของพวกเขาเอง...

สรุปเกี่ยวกับการเป็นผู้ตรวจเนื้อหา

แล้วคุณล่ะ คิดเห็นยังไงกันบ้างกับเรื่องราวของเบื้องหลังสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกโซเชียลออนไลน์ ผู้ตรวจเนื้อหาเปรียบเสมือนผู้ที่คอยดูแลเก็บกวาด ทำความสะอาดและควบคุมขยะ (เนื้อหาไม่เหมาะสม) ให้โลกออนไลน์นั้นน่าอยู่ ไม่สกปรกจนเกินไป แต่ที่แน่ๆ ปัญหาเหล่านี้คงไม่หมดไปเร็วๆ นี้ ตราบใดที่ยังมีอินเทอร์เน็ตและผู้คนใช้งานอยู่ สิ่งเหล่านี้ก็คงเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ จนกว่าจะมีวิธีที่ป้องกันและจัดการกับปัญหาเพื่อให้โลกความเป็นจริงและอินเทอร์เน็ตนั้นน่าอยู่มากขึ้น


ที่มา : www.theverge.com , gebrueder-beetz.de , support.google.com , www.creativecitizen.com , www.lifespan.org , www.washingtonpost.com , seedscientific.com , www.reuters.com , sites.google.com , www.youtube.com

 
0 %E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2+%28Moderator%29+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ดูแล : Moderator    สมาชิก
It was just an ordinary day.
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ