หลังจากที่ Google Photos ยกเลิกการให้ บริการอัปโหลดรูปฟรี ไม่จำกัดพื้นที่การใช้งานสำหรับการอัปโหลดรูปที่ถูกบีบอัดขนาดลงนั้น ก็ทำให้หลายคนกังวลเรื่องการหาพื้นที่สำหรับเก็บไฟล์รูปใหม่ ๆ ในบทความนี้ เราจึงมีแอปสำหรับเก็บไฟล์รูปมาฝากกัน เพื่อเป็นทางเลือกใหม่แทนการใช้ Google Photos พร้อมตารางเปรียบเทียบฟีเจอร์การใช้งานท้ายบทความค่ะ
แอป TeraBox เป็นแอปสำรองไฟล์และแบ็คอัปไฟล์รูปที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อไม่นานมานี่ และสามารถทำให้ตนเองเป็นที่รู้จักได้อย่างรวดเร็วด้วยการเปิดให้ผู้ใช้ฟรีสามารถแบ็คอัปไฟล์รูปได้ด้วยพื้นที่จำนวนมากถึง 1,024 GB. (หรือ 1 TB.) เลยทีเดียว ซึ่ง TeraBox นั้น เดิมทีใช้ชื่อว่า DuBox สำหรับใครที่เคยเป็นสมาชิกในชื่อ DuBox มาก่อน ก็สามารถใช้บัญชีเดิมในการใช้งานต่อได้ทันที
การเปิดรูปหรือไฟล์ที่ได้ทำการแบ็คอัปไว้ จะสามารถทำได้ทั้งใน iOS, Android, และ PC โดยใน PC อินเตอร์เฟซจะมีลักษณะคล้ายการเปิดดูไฟล์ใน File Explorer ของ Windows เลย ซึ่งการปรับรูปแบบ View จะสามารถปรับได้ 2 แบบคือ
และมีการจัดเรียงให้เห็นโดยละเอียดด้วยการเรียงตามวันเดือนปี และจัดกลุ่มวันที่ใกล้เคียงในเดือนเดียวกันไว้ให้ด้วย
สำหรับช่างภาพที่นิยมแบ็คอัปไฟล์เป็นไฟล์ RAW ก็สามารถจัดการแบ็คอัปได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกบีบอัดหรือลดขนาดไฟล์ลง เพราะไฟล์จะถูกแบ็คอัปขึ้นไปเป็นขนาดต้นฉบับเสมอ มีเพียงแต่ไฟล์วิดีโอเท่านั้น ที่จะถูกลดความละเอียดลงเหลือเพียงแค่ ระดับ HD (720p) ในเวลาที่พรีวิวไฟล์ โดยจะสามารถพรีวิวได้ที่ 1080p ก็ต่อเมื่ออัปเกรดเป็นสมาชิกระดับพรีเมียมเท่านั้น
ดาวน์โหลดแอป TeraBox สำหรับ iOS ได้ที่ :
ดาวน์โหลดแอป TeraBox สำหรับ Android ได้ที่ :
เงื่อนไขการใช้งาน :
- มีพื้นที่ให้อัปโหลดไฟล์มีเดียและไฟล์อื่น ๆ ได้ฟรี 1 TB. แต่จะถูกจำกัดจำนวนไว้ที่ 500 ไฟล์เท่านั้น และสามารถอัปไฟล์เดี่ยวที่ขนาดใหญ่ได้สูงสุด 4 GB. ถ้าต้องการขยายเพดานเพิ่ม จะมีค่าใช้จ่ายในการสมัครสมาชิกรายเดือน เริ่มต้นที่ 89 บาท / เดือน
แอป Dropbox เป็นแอปพลิเคชันที่มีชื่อเสียงในวงการแบ็คอัปไฟล์มาอย่างยาวนาน โดยมีการอัปเดตหน้าตาและฟังก์ชันการใช้งานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแรกเริ่มเดิมที Dropbox นั้นเอาดีทางด้านการแบ็คอัปไฟล์ทั่วไปบน Windows มาก่อน โดยการอนุญาตให้แบ็คอัปโดยไม่จำกัดขนาดของไฟล์ และจำนวนไฟล์ในการอัปโหลด และหลังจากนั้นก็ได้ทำการปรับปรุงการใช้งาน ให้รองรับผู้ใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
อินเตอร์เฟซการใช้งานของ Dropbox จะคล้ายกันกับการใช้งาน File Explorer เช่นกัน แต่จะมีเมนูอื่น ๆ ให้ใช้งานเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน เพราะมีฟังก์ชันการใช้งานนอกเหนือจากการแบ็คอัปไฟล์ด้วย เช่น File Requests ที่สามารถร้องขอการแชร์ไฟล์จากผู้อื่นได้แม้ไม่มีบัญชี Dropbox และเวลาเรียกดูไฟล์บน PC สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการดูได้ 4 แบบ คือ
สำหรับการใช้งานฟรีขั้นพื้นฐาน (Dropbox Basic) จะมีพื้นที่ให้ใช้ฟรีจำนวน 2 GB และสามารถทำภารกิจที่มีให้ เพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้งานได้ฟรี เช่น การลิงก์บัญชีเข้ากับบัญชีโซเชียล, ติดตาม Dropbox บนทวิตเตอร์, ชวนเพื่อนมาใช้งาน Dropbox เป็นต้น
ดาวน์โหลดแอป Dropbox สำหรับ iOS ได้ที่ :
ดาวน์โหลดแอป Dropbox สำหรับ Android ได้ที่ :
ดาวน์โหลดแอป Dropbox สำหรับ Windows และ Mac ได้ที่ :
เงื่อนไขการใช้งาน :
- สามารถใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากต้องการพื้นที่ และฟีเจอร์ใช้งานเพิ่มเติม เช่น การเก็บพาสเวิร์ด, เก็บรักษาไฟล์สำคัญ, และการกู้ไฟล์ จะมีค่าบริการรายเดือนเริ่มต้นที่ 349 บาท
แอป Microsoft OneDrive เป็นชื่อที่หลายคนผ่านหูผ่านตากันมาแล้วอย่างแน่นอน โดยนอกจากที่มันจะสามารถเก็บสำรองไฟล์ได้แล้ว ก็ยังรองรับการแบ็คอัปไฟล์รูปได้ดีด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อมันมาจาก Microsoft นั่นก็หมายความว่า มันสามารถรองรับการเก็บแบ็คอัปไฟล์อื่น ๆ เช่น ไฟล์เอกสารในเครือ Microsoft Office, สิ่งที่แนบมากับอีเมล Outlook ไว้ในนี้ด้วยกันได้
อินเตอร์เฟซการดูไฟล์ต่าง ๆ ที่มี จะคล้ายกันกับอินเตอร์เฟซการเช็คอีเมล Outlook มีการแยกหมวดหมู่และประเภทไฟล์ไว้อย่างชัดเจน บน PC สามารถเลือกรูปแบบการดูไฟล์ได้ 4 แบบ ได้แก่
และสำหรับแอปบนมือถือ ปรับได้ 2 แบบ อีกทั้งยังมีการจัดเรียงรูปภาพในรูปแบบเดือนและปี โดยไม่บีบอัดขนาดไฟล์ หรือลดความละเอียดของรูปลงด้วย
ดาวน์โหลดแอป Microsoft OneDrive สำหรับ iOS ได้ที่ :
ดาวน์โหลดแอป Microsoft OneDrive สำหรับ Android ได้ที่ :
ดาวน์โหลดแอป Microsoft OneDrive สำหรับ Windows ได้ที่ :
เงื่อนไขการใช้งาน :
- สามารถใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากต้องการพื้นที่เพิ่มเติมเป็น 100 GB. จะมีค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ 59 บาท / เดือน และถ้าหากต้องการอัปเกรดเป็น Premium OneDrive ด้วย จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 209 บาท / เดือน
แอป Flickr นั้น เป็นแอปในเครือ Yahoo! ใครที่ใช้อีเมลของ Yahoo! อยู่แล้ว ก็สามารถล็อกอินเข้าใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องสมัครใหม่ ซึ่งในบรรดาแอปที่เอาไว้เก็บรูปแล้ว Flickr ถือเป็นแอปเก็บรูปที่อยู่มายาวนานที่สุดหากนับรวมการบริการฝากรูปบนเว็บไซต์ด้วย (อยู่มานานกว่า Google Photos อีกนะ) อินเตอร์เฟซการใช้งานจะคล้ายกันกับ Pinterest ที่เราสามารถดูรูปที่คนอื่นแชร์ไว้แบบสาธารณะได้ด้วย
โดย Flickr เป็นแอปเก็บสำรองรูปภาพที่สามารถเก็บได้ถึง 1,000 รูปด้วยกัน และสามารถปรับแต่งรูปภาพพร้อมทั้งใส่แท็ก คิดแคปชัน ติดแท็กสถานที่ จัดเข้าอัลบั้มที่ต้องการ และตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้ด้วย ซึ่งจะแตกต่างจาก Instagram ตรงที่ Instagram นั้นบังคับขนาดรูปให้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสอย่างเดียว แต่ใน Flickr คุณจะสามารถอัปเป็นรูปขนาดใด แนวไหนก็ได้ และแตกต่างจาก Pinterest ตรงที่ Pinterest ทำได้เพียงแค่เพิ่มรูป และใส่รายละเอียดลงไปเท่านั้น แถมยังไม่สามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า Flickr จะสามารถเก็บไฟล์รูปได้ฟรีไม่จำกัดขนาดไฟล์ แล้วไปจำกัดจำนวนรูปแทนแล้ว ก็ยังมีการบีบอัดและลดความละเอียดไฟล์ลงด้วยเช่นกันสำหรับผู้ใช้งานฟรี ถ้าอยากอัปโหลดรูปด้วยความละเอียดต้นฉบับแล้วล่ะก็ ต้องสมัครสมาชิกแบบ Pro ก่อนนะ
ดาวน์โหลดแอป Flickr สำหรับ iOS ได้ที่ :
ดาวน์โหลดแอป Flickr สำหรับ Android ได้ที่ :
เงื่อนไขการใช้งาน :
- สามารถใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากต้องการลบโฆษณา, อัปโหลดได้ไม่จำกัดจำนวน, อัปรูปขนาดต้นฉบับ, และเข้าใช้เวอร์ชัน Desktop เพื่อให้สำรองไฟล์รูปได้อัตโนมัติ จะมีค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่ 219 บาท / เดือน
แอป pCloud เป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชันที่มีความสามารถในการเก็บไฟล์รูปและไฟล์มีเดียได้อย่างเป็นระบบระเบียบ และสามารถแชร์การเข้าถึงของไฟล์หรือโฟลเดอร์ได้ง่าย ๆ มาพร้อมฟีเจอร์ในการเลือกจัดเก็บไฟล์มีเดียต่าง ๆ ว่า ต้องการจะแบ็คอัปไฟล์ทั้งหมดที่มีในเครื่อง หรือแค่ไฟล์ที่เพิ่งถูกสร้างขึ้นมาใหม่เท่านั้น เหมาะสำหรับคนที่เคลียร์รูปบ่อย ๆ และใช้การแบ็คอัปไว้หลาย ๆ ที่เป็นพิเศษ
อินเตอร์เฟซในการใช้งานค่อนข้างเรียบง่าย คล้าย ๆ กันกับ TeraBox และ Dropbox ด้วยพื้นหลังสีขาวสะอาด สามารถดูไฟล์ได้ 2 แบบคือ
เวลาที่เราไปสำรวจรูปภาพที่แบ็คอัปไว้ จะมีการจัดเรียงด้วยวันเดือนปีแบบละเอียด ทำให้สามารถค้นหาได้ง่าย และสามารถดูพื้นที่คงเหลือในการจัดเก็บที่ "เมนู More" ได้ทันที
และด้วยความที่ pCloud สนับสนุนการอัปโหลดไฟล์อื่น ๆ ทั่วไปนอกเหนือจากไฟล์มีเดีย ทำให้ไม่มีการบีบอีดไฟล์ใด ๆ ก็ตามที่ถูกอัปโหลดเข้าไป มั่นใจได้ว่าไฟล์รูปจะถูกอัปขึ้นไปด้วยขนาดต้นฉบับแน่นอน
ดาวน์โหลดแอป pCloud สำหรับ iOS ได้ที่ :
ดาวน์โหลดแอป pCloud สำหรับ Android ได้ที่ :
ดาวน์โหลดแอป pCloud สำหรับ Windows ได้ที่ :
เงื่อนไขการใช้งาน : สามารถใช้งานได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าต้องการเพิ่มเนื้อที่เป็น 500 GB. จะมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 159 บาท / เดือน และขนาด 2 TB. ที่ 329 บาท / เดือน
ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะใช้บริการเจ้าไหนดี เรามีตารางเปรียบเทียบการใช้งาน และโควต้าต่าง ๆ ที่มีให้เมื่อเลือกใช้บริการแบบฟรี พร้อมทั้งค่าบริการรายเดือนเริ่มต้น หากคุณสนใจสมัครแบบรายเดือน
ระบบปฏิบัติการ | ขนาดพื้นที่ให้ฟรี | ขนาดพื้นที่เสียเงิน (เริ่มต้น) | อัปโหลดอัตโนมัติ | จำกัดจำนวนรูปที่อัปฟรี | ค่าบริการรายเดือนเริ่มต้น | บีบอัดไฟล์รูป / วิดีโอ | รองรับภาษาไทย | |
1. แอป TeraBox | iOS / Android | 1 TB. | 2 TB. | ✔ | 500 รูป | 89 บาท | ✖ | ✔ |
2. แอป Dropbox | iOS / Android | 2 GB. | 2 TB. | ✔ | ไม่จำกัด | 379 บาท | ✖ | ✔ |
3. แอป Microsoft OneDrive | iOS / Android | 5 GB. | 100 GB. | ✔ | ไม่จำกัด | 69 บาท | ✖ | ✔ |
4. แอป Flickr | iOS / Android | ไม่จำกัด | ไม่จำกัด | ✖ | 1,000 รูป | 219 บาท | ✔ | ✖ |
5. แอป pCloud | iOS / Android | 10 GB. | 500 GB. | ✔ | ไม่จำกัด | 159 บาท | ✖ | ✖ |
จากตารางด้านบนจะเห็นได้ว่า
แต่ถ้ามองการใช้งานตามความเป็นจริง โดยส่วนตัวแล้ว ผู้เขียนมองว่า แอป TeraBox ถือเป็นตัวเลือกที่ดีมาก ๆ ในการเก็บรูป เพราะมีพื้นที่ในการใช้งานถึง 1 TB. แถมยังสามารถอัปรูปขึ้นได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้าหากเราใช้โควต้าเก็บเต็มจำนวนแล้ว จะเสียเงินสมัครใช้รายเดือนต่อ ก็ถือว่าถูกกว่าเจ้าอื่น ๆ ในตลาด
|
เกมเมอร์หญิงทาสแมว ถ้าอยู่กับแมวแล้วจะน้วยแมวทั้งวัน |