Cherophobia เป็นคำที่มาจากคำว่า Chero ในภาษากรีกที่หมายถึง "ความรื่นเริง" ส่วน Phobia หมายถึงอาการกลัว วิตกกังวล ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือสถานการณ์บางอย่าง เมื่อรวมกันจึงหมายถึง "โรคกลัวความสุข" นั่นเอง คนที่เป็นโรคนี้จะมีความหวาดกลัวต่อสถานการณ์ที่จะทำให้พวกเขารู้สึกสนุก หรือมีความสุข ซึ่งฟังดูเหมือนไม่น่าเป็นไปได้ เพราะปุถุชนทั่วไปย่อมอยากมีความสุข เหตุผลอันใดเล่าถึงทำให้เราต้องกลัวที่จะมีความสุขด้วย
อาการ Cherophobia เพิ่งถูกบัญญัติขึ้นมาในช่วงสิบกว่าปีนี้เอง ทำให้ยังไม่มีงานวิจัย หรือคำจำกัดความเกี่ยวกับโรคนี้ที่ชัดเจนมากนัก จิตแพทย์ส่วนใหญ่นิยมใช้มาตรฐาน Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (DSM-5) ในการวินิจฉัยอาการทางสุขภาพจิต ซึ่งปัจจุบันนี้ อาการ Cherophobia ยังไม่ถูกบรรจุว่าเป็นอาการผิดปกติ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางคน เริ่มให้ความสนใจในอาการนี้ เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพแล้ว
ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ได้ให้ความเห็นว่า Cherophobia เป็นรูปแบบหนึ่งของโรควิตกกังวล ที่จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียด, กังวล หรือรู้สึกถูกคุกคาม เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่พวกเขาคิดว่าจะทำให้เกิดความสุขขึ้น
ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการ Cherophobia ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคซึมเศร้าแต่อย่างใด เพียงแต่พวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่จะมีความสุขเท่านั้นเอง
ภาพจาก https://www.pexels.com/photo/grayscale-photo-of-woman-covering-her-mouth-using-her-hands-1487956/
อย่างที่เกริ่นเอาไว้ว่า ยังไม่มีการวิจัยเกี่ยวกับโรค Cherophobia มากนัก ทำให้การระบุว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้หรือไม่ ทำได้ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม ได้มีการตัวอย่างสถานการณ์ที่ก่อความสุขขึ้นมาเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคนี้เบื้องต้น ดังนี้
แล้วยังมีพฤติกรรมที่ผู้ป่วย Cherophobia มักจะแสดงออกมาด้วย ดังนี้
ภาพจาก https://www.commonsensemedia.org/tv-reviews/courage-the-cowardly-dog
บางครั้ง Cherophobia ก็เกิดมาจากประสบการณ์ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อว่า เมื่อมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้น หรือชีวิตกำลังจะมีแนวโน้มในทางที่ดี เหตุการณ์เลวร้ายก็จะเกิดขึ้นตามมา พวกเขาอาจจะประสบเหตุการณ์เหล่านั้นด้วยความบังเอิญหลายต่อหลายครั้ง จนฝังใจกลายเป็นความเชื่อในที่สุด ผลก็คือ พวกเขากลัวความสุขไปโดยปริยาย ซึ่งมักเกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ที่เคยเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนทางจิตใจ หรือร่างกายอย่างรุนแรง
หรือคนที่อยู่ในกลุ่ม Introvert (ผู้ที่ชอบอยู่เพียงลำพัง ไม่นิยมพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่มีความวุ่นวาย) คนกลุ่มนี้มักจะมีนิสัยชอบสังเกตสิ่งรอบตัวอยู่เสมอ ทำให้บ่อยครั้งที่พวกเขาพบผลสะท้อนกลับแย่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำ และระมัดระวังที่จะไม่ให้เหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับตัวเขาเอง นำพาไปสู่ความรู้สึกที่ไม่อยากเผชิญสถานที่ที่มีความเสียงดัง หรือเต็มไปด้วยผู้คน
คนอีกกลุ่มที่มักจะมีแนวโน้มเป็น Cherophobia คือพวก Perfectionist (คนที่หลงใหลความสมบูรณ์แบบจนเกินเหตุ เหมือนชีวิตมีกฏคอยขีดเส้นตลอดเวลา) คนประเภทนี้อาจจะรู้สึกว่า ความสุขเป็นสิ่งไม่จำเป็น มันเป็นเรื่องของพวกเกียจคร้าน หรือคนไร้ประโยชน์เท่านั้น ดังนั้น พวกเขาจึงหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่จะมีความสุข เพราะมันจะทำให้ตัวเขาเองดูเป็นคนไร้ค่า
Stephanie Yeboah บลอกเกอร์ และนักเขียนฟรีแลนซ์ผู้ถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรค Cherophobia ตั้งแต่อายุ 11 ขวบ ได้ออกมาเปิดเผยว่า "มันเป็นความรู้สึกที่ไม่สามารถอธิบายได้" เธอถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าเมื่อตอนอายุ 14 ปี ซึ่งในเวลาถัดมาเธอรู้สึกว่าความกลัวที่จะมีความสุขน่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอเป็นโรคซึมเศร้า
เธอได้บรรยายความรู้สึกของเธอเอาไว้ว่า "มันเป็นความสิ้นหวังแบบขีดสุด ที่ก่อให้เกิดความกังวล หรือกลัวที่จะไปอยู่ในจุดที่อาจทำให้เธอมีความสุขเกิดขึ้น เพราะคุณกลัวว่าความสุขนั้นมันจะอยู่ได้ไม่นาน" เธอยังกล่าวอีกว่าการกลัวความสุขไม่ได้แปลว่าจะต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความเศร้า ในกรณีของเธอ Cherophobia ทำให้เธอรู้สึกกลัวว่าความสุขจะไปกระตุ้นความทรงจำไม่ดีให้กลับมาอีกครั้ง เธอยังได้ยอมรับว่ามันส่งผลกระทบต่อชีวิตของเธอเป็นอย่างมาก เพราะเธอไม่เคยฉลองความสำเร็จในชีวิตที่เคยมีเลยแม้แต่ครั้งเดียว เพราะความกลัวจาก Cherophobia
ยังคงเป็นเรื่องยากสำหรับการดูแลผู้ป่วย Cherophobia เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล ทำให้คำปรึกษาที่ได้รับส่วนใหญ่จะไม่สามารถช่วยเหลือความรู้สึกของผู้ป่วย Cherophobia สักเท่าไหร่ แม้แต่ FDA (Food and Drug Administration องค์การอาหาร และยาแห่งสหรัฐอเมริกา) ก็ยังไม่มีการกำหนดแนวทางการรักษาโรคนี้โดยเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ได้ลงความเห็นว่า Cognitive behavioral therapy (การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม), แผลแผนฝึกความผ่อนคลาย อย่างเช่น การหายใจลึกๆ, การออกกำลังกาย จะช่วยให้พวกเขาปรับตัวให้เผชิญต่อความสุขได้มากขึ้นทีละนิด
แล้วพวกคุณล่ะ เคยกลัวบ้างหรือเปล่า หากรู้ว่าความสุขที่กำลังจะได้รับ มันอยู่กับเราแค่แปปเดียว แล้วก็จะจางหายไปราวกับดอกไม้ไฟ ที่สวยงามแค่พริบตา
ภาพจาก https://www.pexels.com/photo/photo-of-woman-holding-sparkler-1785067/
|
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ |