ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

In-group Out-group Bias ความรู้สึกอคติที่นำไปสู่การเลือกปฏิบัติ

In-group Out-group Bias ความรู้สึกอคติที่นำไปสู่การเลือกปฏิบัติ

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 11,185
เขียนโดย :
0 In-group+Out-group+Bias+%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

โดยทั่วไปแล้วความรู้สึกอคติ (Bias) นั้นเกิดได้กับทุกคนในทุกเวลา และในบางครั้งเราก็อคติกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่เรารู้สึกไม่คุ้นเคย เรามักจะมองหาความคล้ายคลึงและเชื่อมโยงกันของบุคคลหรือสิ่งๆ หนึ่งในสถานการณ์นั้น และนับว่าสิ่งที่เราคุ้นเคยหรือมีจุดที่คล้ายกับเรานั้นเป็น “In-group (กลุ่มเดียวกัน)” กับเรา และมองว่าบุคคลที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับเราว่าเป็น “Out-group (นอกกลุ่ม)” และเราก็มักจะรู้สึก “เห็นใจ” และเกิดความรู้สึก “เป็นพวกเดียวกัน” กับคนที่มีลักษณะ In-group เดียวกับคุณอีกด้วย ถึงแม้ว่าคนที่คุณมองว่าเป็นพวกเดียวกันนั้นจะทำอะไรแย่ๆ คุณก็รู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่และมีแนวโน้มที่จะหาเหตุผลมาอธิบายการกระทำของบุคคลนั้นๆ และให้อภัยได้ง่ายกว่าคนที่คุณมองว่าเป็นคนนอกกลุ่มแม้ว่าเขาจะทำในสิ่งๆ เดียวกันก็ตาม

ซึ่งความรู้สึกอคติแบบนี้นั้นมักจะเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ และสำหรับเหตุผลของการที่เราจะมองว่าคนๆ นั้นเป็นพวกเดียวกับเรานั้นมีได้ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานอย่าง เพศ, เชื้อชาติ, ศาสนา หรือจะเป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกหน่อยตั้งแต่ การแต่งกาย, ฐานะ, ความชื่นชอบ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น การไปดูกีฬาที่สนาม หากคุณเห็นคนแปลกหน้าใส่เสื้อเชียร์ทีมเดียวกันกับคุณ คุณก็รู้สึกว่าคนๆ นั้น เป็นพวกเดียวกับคุณไปแล้วถึงแม้ว่าคุณจะไม่รู้จักคนนั้นเป็นการส่วนตัวและไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อนเลยก็ตาม และหากคนๆ นั้นเข้ามาชวนคุย คุณก็รู้สึกว่าอยากที่จะพูดคุยและสานสัมพันธ์ด้วยมากกว่าคนที่ใส่เสื้อทีมตรงข้ามที่คุณมองว่าเขาเป็นคนนอกกลุ่มนั่นเอง แต่ทั้งนี้แล้วขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ประกอบร่วมด้วย

และความรู้สึกอคติแบบ In-group นี้เองที่นำมาสู่การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) และเป็นจุดเริ่มต้นของการกลั่นแกล้ง (Bullying), การเหยียดเชื้อชาติ (Racist) และปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมากมาย เพราะเรามีแนวโน้มที่จะแสดงออกในทางบวกกับสิ่งที่เรามองเป็น In-group มากกว่าสิ่งที่เรามองว่าเป็น Out-group นั่นเอง

In-group Out-group Bias ความรู้สึกอคติที่นำไปสู่การเลือกปฏิบัติ

นักจิตวิทยาได้ทำการศึกษาเรื่องนี้มานานกว่า 10 ปีแล้ว โดยในปี 1968 หลังจากที่ Martin Luther King, Jr. (นักสิทธิมนุษยชนเพื่อคนผิวสี) ได้เสียชีวิตลงจากการลอบสังหาร ไม่กี่วันหลังจากนั้น Elliot ได้ทำการทดลองกับนักเรียนในห้องของเธอและทำให้เด็กทั้งห้องเกิดการแบ่งแยกพวกกันด้วย “สีของดวงตา” ของพวกเขา โดย Elliot ได้พูดกล่าวชมนักเรียนที่มี “ดวงตาสีฟ้า” ว่าเป็นคนดีและมีสิ่งดีๆ ในชีวิตมากกว่านักเรียนที่มี “ดวงตาสีน้ำตาล” แม้ว่าในช่วงแรกนักเรียนของเธอจะดูงุนงงและไม่เชื่อในสิ่งที่เธอพูด แต่เมื่อเวลาผ่านไปที่เธอปฏิบัติกับเด็กทั้ง 2 กลุ่มนี้อย่างไม่เท่าเทียม กลุ่มเด็กที่มี “ดวงตาสีฟ้า” ก็เริ่มคิดว่าตัวเองนั้นดีกว่ากลุ่มเด็กที่มี “ดวงตามีน้ำตาล” และเริ่มแกล้งเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง หลังจากนั้นเธอก็ได้สลับบทบาทของเด็กทั้ง 2 กลุ่มนี้ ผลปรากฏว่าเด็กที่มี “ดวงตาสีน้ำตาล” ที่ได้รับสิทธิพิเศษในคราวนี้เองก็แกล้งกลุ่มเด็กที่มี “ดวงตาสีฟ้า” กลับเช่นเดียวกัน หลังจากนั้นเธอก็เรียกเด็กทั้งห้องมาคุยถึงเรื่องการแบ่งแยกสีของดวงตานี้และสอนถึงเรื่องการแบ่งแยกคนจากสีผิวและเชื้อชาติของพวกเขา

การทดลองของ Elliot นี้เองได้สร้างความตระหนักในการศึกษาในประเด็นนี้มากขึ้น โดยส่วนมากแล้วจะเป็นในเชิงสังคมวิทยาและจิตวิทยาเสียมากกว่า แต่เมื่อไม่นานมานี้ก็ได้มีการศึกษาทดลองในเชิงวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม โดย David Eagleman (นักประสาทวิทยา) ได้ทำการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจถึงหลักการทำงานของสมองต่อการแสดงความรู้สึกอคติแบบ In-group และ Out-group โดยได้ให้กลุ่มตัวอย่างเข้าเครื่องสแกน MRI และเปิดคลิปมือของคนแปลกหน้าที่นับถือศาสนาต่างๆ กำลังถูกเข็มแทงลงไปให้กับกลุ่มตัวอย่างดู ซึ่งผลการทดลองก็ได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อกลุ่มตัวอย่างเห็นคนที่ตนเองรู้สึกว่าเป็น In-group ถูกเข็มแทง สมองในส่วนที่ควบคุมความเจ็บปวดของเขาจะมีการตื่นตัวตัวขึ้นด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่รู้จักหรือไม่เคยเห็นหน้าของคนๆ นั้นเลยก็ตาม ในขณะที่เมื่อกลุ่มตัวอย่างเห็นคนที่เขารู้สึกว่าเป็น Out-group ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับเขาโดนเข็มแทงนั้นก็ไม่ได้รู้สึกอะไรเป็นพิเศษ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีกระแสของ Human Right ที่มองว่าทุกคนเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยกทั้งในเรื่องเพศ, สีผิว, เชื้อชาติ, ศาสนา หรือสิ่งอื่นๆ แต่สำหรับเรื่องยิบย่อยในชีวิตประจำวันที่เราอาจเกิดความรู้สึกอคติแบบ In-group และ Out-group กับคนรอบข้างไปโดยไม่รู้ตัวนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะด้วยสัญชาติญาณแล้วเราก็มักจะรู้สึกปลอดภัยและสบายใจที่จะพูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่เรารู้สึกคุ้นเคยกันมากกว่าบุคคลที่ไม่รู้จักหรือไม่สนิทด้วยอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือการที่เราปฏิบัติกับบุคคลที่เรารู้สึกว่าเป็น Out-group อย่างไม่เท่าเทียม เช่น การกลั่นแกล้งหรือการเลือกปฏิบัติกับบุคคลกลุ่มนั้นต่างหาก และหากเรายังไม่สามารถกำจัดความรู้สึกอคติออกไปอย่างถาวรและมองทุกคนอย่างเท่าเทียมกันได้ แต่หากเราสามารถที่จะควบคุมความคิดและพฤติกรรมของเรา โดยไม่เลือกปฏิบัติกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษได้ก็น่าจะเป็นการดีกว่า


ที่มา : psychology.iresearchnet.com , www.psychologytoday.com , opentextbc.ca , ethicsunwrapped.utexas.edu , en.wikipedia.org

 

0 In-group+Out-group+Bias+%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่..
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ