ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

CPTPP คืออะไร ? เราจะได้รับผลกระทบ หรือประโยชน์อะไรบ้างจากการเข้าร่วม และคัดค้าน CPTPP ?

CPTPP คืออะไร ? เราจะได้รับผลกระทบ หรือประโยชน์อะไรบ้างจากการเข้าร่วม และคัดค้าน CPTPP ?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 8,487
เขียนโดย :
0 CPTPP+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99+CPTPP+%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

CPTPP คืออะไร ? เราจะได้รับผลกระทบ หรือประโยชน์อะไรบ้าง
จากการเข้าร่วม และคัดค้าน CPTPP ?

ก่อนหน้านี้เราน่าจะได้เห็นคำว่า CPTPP ผ่านตากันมาบ้างในช่วงต้นปีที่ผ่านมา และกระแสก็ได้ซาลงในเวลาถัดมา แต่ในช่วงนี้แฮชแท็ก #NoCPTPP และ #คัดค้านCPTPP ก็ได้กลับมาติดเทรนด์อีกครั้งหลังจากที่มีข่าวว่ารัฐบาลไทยจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภาคี CPTPP แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า CPTPP นั้นคืออะไร และทำไมคนส่วนหนึ่งจึงออกมาคัดค้านการตัดสินใจของรัฐบาลในครั้งนี้บ้าง

เนื้อหาภายในบทความ

CPTPP คืออะไร ?

ภาคี CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership) หรือข้อตกลงของหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแฟซิฟิก นั้นหมายถึง ข้อตกลงร่วมกันทางการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิก ที่เปิดโอกาสให้สามารถทำการค้าต่อกันได้อย่างเสรีในอัตราที่ถูกกว่าการทำการค้ากับประเทศนอกภาคีนี้ โดยประเทศในสมาชิกตอนนี้มีทั้งหมด 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, บรูไน, แคนาดา, ชิลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, แม็กซิโก, นิวซีแลนด์, เปรู, สิงคโปร และเวียดนาม (ก่อนหน้านี้สหรัฐอเมริกาก็เคยเข้าร่วมภาคีนี้และได้ถอนตัวออกไปเมื่อ 3 ปีก่อน)

CPTPP คืออะไร ? เราจะได้รับผลกระทบ หรือประโยชน์อะไรบ้างจากการเข้าร่วม และคัดค้าน CPTPP ?
ภาพจาก : https://www.koreatimes.co.kr/www/biz/2020/01/367_282654.html

และในปัจจุบันนี้ก็มีประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศที่ให้ความสนใจในการเข้าร่วมภาคีดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้, กัมพูชา, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, ศรีลังกา, อินโดนีเซีย, อังกฤษ และประเทศไทยเองก็กำลังให้ดำเนินการพิจารณาและเจรจากันเรื่องการเข้าร่วมภาคีนี้ด้วย

เราจะได้ประโยชน์อะไรจากการเข้าร่วม CPTPP

สำหรับเหตุผลที่ทางรัฐบาลสนใจที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของภาคี CPTPP นั้นน่าจะเป็นเพราะเล็งเห็นถึง ความเป็นไปได้ของการเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศในระยะยาว เนื่องจากสมาชิกที่เข้าร่วมในกลุ่มภาคี CPTPP นั้นจะสามารถทำการค้าต่อกันได้อย่างอิสระและสะดวกมากยิ่งขึ้น

ช่วยขยายตลาดการส่งออก

การเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ CPTPP นั้นจะได้รับการงดเว้นภาษีนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศในภาคีด้วยกัน ซึ่งสำหรับประเทศไทยที่มีการทำการค้ากับประเทศกว่าครึ่งหนึ่งของภาคีนี้ก็น่าจะช่วยลดภาระด้านภาษีนำเข้าและส่งออกไปได้มากเลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถขยายตลาดการส่งออกสินค้ากับประเทศอื่นๆ ในภาคีที่ทางประเทศไทยยังไม่ได้มีโอกาสในการทำการค้าร่วมกันมากนักออกไปได้อีกด้วย

ช่วยขยายตลาดการลงทุนจากต่างประเทศ

บริษัทต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนภายในประเทศไทยได้ง่ายมากยิ่งขึ้นนั้นน่าจะเป็นผลดีต่อประชาชนทั่วไปอยู่มากเลยทีเดียว เพราะมันทำให้ผู้บริโภคได้มีตัวเลือกในการซื้อสินค้าที่มากยิ่งขึ้นและอาจได้ใช้สินค้าจากต่างประเทศในราคาที่ถูกลงนั่นเอง

สนับสนุนความเท่าเทียมทางธุรกิจ

ภาคี CPTPP มีกฎในการสนับสนุนความเท่าเทียมระหว่างธุรกิจของคนในประเทศและชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนภายในประเทศ ทำให้โอกาสของนายทุนชาวไทยที่จะไปลงทุนในต่างประเทศนั้นโอกาสที่จะเติบโตได้ง่ายมากยิ่งขึ้นจากเดิม

ผลกระทบทางลบของการเข้าร่วม CPTPP

จากข้อมูลข้างต้นแล้วก็ดูเหมือนว่าการเข้าร่วมภาคี CPTPP นั้นจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ แต่ CPTPP นั้นก็ไม่ได้มีแค่ข้อดีเท่านั้น เพราะมันก็มีข้อจำกัดและข้อบังคับของการเข้าร่วมภาคีที่ จำกัดสิทธิ ของประชาชนจำนวนมาก

CPTPP คืออะไร ? เราจะได้รับผลกระทบ หรือประโยชน์อะไรบ้างจากการเข้าร่วม และคัดค้าน CPTPP ?
ภาพจาก : https://www.hfocus.org/content/2020/05/19203

ผลกระทบต่อการเกษตร

ข้อกำหนดของ CPTPP นี้นั้นจะบังคับให้สมาชิกเข้าร่วม UPOV 1991 (International Union for the Protection of New Varieties of Plant) หรืออนุสัญญาการคุ้มครองพืชพันธุ์ใหม่ที่อนุญาตให้ประเทศอื่นนำเอาพืชพื้นเมืองของไทยไปทำการวิจัยพันธุ์พืชและขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรเมล็ดพันธุ์ใหม่ รวมทั้งห้ามมิให้เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ของพืชผลทางการเกษตรไว้เพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป และบังคับให้เกษตรกร ซื้อเมล็ดพันธุ์จากนายทุน ทุกครั้งที่ทำการเพาะปลูก

ซึ่งกฎของ UPOV นี้ก็เป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก ทำให้เกษตรกรรายย่อยอาจไม่สามารถทำการเกษตรต่อไปได้เพราะไม่มีเงินทุนที่มากเพียงพอ และหากเกษตรกรคนใดฝ่าฝืนข้อบังคับนี้ในการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในฤดูกาลถัดไปก็จะถือว่า “มีความผิดทางกฎหมาย” ต้องโทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 แสนบาท

UPOV นั้นยังกระทบต่อ “ความหลากหลายของพันธุ์พืช” อีกด้วย เพราะเมื่อเข้าร่วมภาคี CPTPP แล้ว เมล็ดพันธุ์ของผลผลิตทางการเกษตรทุกสายพันธุ์ก็จะถูกเก็บไปทำการศึกษาคัดพันธุ์พืช และจัดจำหน่ายเฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการคัดมาอย่างดีแล้วเท่านั้น ทำให้นอกจากพืชผลทางการเกษตรจะมีแนวโน้มว่าจะมีราคาที่สูงขึ้นแล้ว ผู้บริโภคยังจะมีตัวเลือกในการซื้อที่น้อยลงอีกด้วย 

ผลกระทบด้านสาธารณะสุข

ไม่ใช่แค่ผลกระทบทางการเกษตรเท่านั้น แต่ CPTPP นั้นยังกระทบต่ออุตสาหกรรมยาที่จะถูกจำกัดสิทธิด้วย CL (Compulsory Licensing) หรือการจดสิทธิบัตรขึ้นทะเบียนยาที่บังคับให้ทำการขึ้นทะเบียนยาทุกชนิดและยืดระยะเวลาของขั้นตอนการขอสิทธิบัตรยาออกไปมากขึ้น อีกทั้งยังมีการผูกขาดข้อมูลยาและระงับการผลิตยาตัวเดียวกันภายในประเทศกลุ่ม CPTPP ทำให้ ประชาชนบางส่วนอาจไม่สามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นได้ เพราะจากเดิมที่เคยซื้อยาที่ผลิตในประเทศไทยได้ในราคาที่ถูก กลับต้องซื้อยาตัวเดียวกันนี้จากต่างประเทศที่เป็นผู้ผูกขาดตลาดแทน

ผลกระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อย

หลายๆ คนก็ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการพิจารณาเข้าร่วม CPTPP ของรัฐบาลนั้นน่าจะเป็นการ เอื้อประโยชน์เฉพาะกับนายทุนรายใหญ่ของประเทศ มากกว่านายทุนจากต่างประเทศหรือประโยชน์ของประชาชนทั่วไป เพราะการที่สามารถทำการค้ากันได้อย่างเสรีก็ทำให้ได้รับโอกาสเข้าถึงเครื่องจักรและวัตถุดิบต่างๆ ในราคาที่ถูกลง ทำให้สามารถทำกำไรและผูกขาดการค้าจากผู้ประกอบการรายย่อยไปในคราวเดียวกัน

และการที่เปิดให้นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาทำการลงทุนภายในประเทศได้อย่างอิสระนั้นก็ทำให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่สูงมากยิ่งขึ้น แม้ว่าผู้บริโภคอาจมีโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือสินค้าจากต่างประเทศในราคาที่ถูกลง แต่สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศไทยอาจมีเงินทุนที่ไม่เพียงพอในการขับเคลื่อนกิจการจนทำให้อาจต้องปิดกิจการลง

นอกจากนี้จากผลงานที่ผ่านๆ มาก็ทำให้มีคนสงสัยว่าการเข้าร่วม CPTPP ที่ได้รับเว้นภาษีนำเข้าและส่งออกก็อาจเป็นช่องทางในการ “นำเข้าขยะ” จากประเทศคู่ค้าอื่นๆ เข้ามาในประเทศเพิ่มเติมก็เป็นได้

#คัดค้านCPTPP

ประเด็นเรื่องลงนามการเข้าร่วม CPTPP ในขณะนี้ได้ผ่านมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีไปเป็นที่เรียบร้อย และอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานก่อนที่จะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อไปเจรจากับสมาชิก CPTPP ในการขอเข้าร่วมภาคีและพูดคุยต่อรองข้อตกลงของผลประโยชน์ทางการค้าต่อประเทศสมาชิกเดิมและประเทศไทยที่ประสงค์จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ้งของภาคีนี้

CPTPP คืออะไร ? เราจะได้รับผลกระทบ หรือประโยชน์อะไรบ้างจากการเข้าร่วม และคัดค้าน CPTPP ?
ภาพจาก : https://www.hfocus.org/content/2020/05/19203

ดังนั้นประชาชนส่วนหนึ่งที่เล็งเห็นถึงข้อเสียและผลกระทบของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในภาคี CPTPP จึงได้ออกมาเรียกร้องผ่านโซเชียลมีเดียให้รัฐบาลพิจารณาถึงประโยชน์และผลกระทบต่อประชาชนอีกครั้งและยกเลิกการเจรจาขอเข้าร่วมภาคี CPTPP นี้ลง โดยการติดแฮชแท็ก #NoCPTPP และ #คัดค้านCPTPP นั่นเอง


ที่มา : library2.parliament.go.th , www.greenpeace.org , www.pharmacycouncil.org , www.hfocus.org

 

0 CPTPP+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3+%3F+%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A+%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99+CPTPP+%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
สมาชิก : Member    สมาชิก
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่..
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ