ที่มาภาพ: https://filmsheets.com/รีวิว-the-boy-who-harnessed-the-wind/
หนัง The Boy Who Harnessed The Wind เป็นเรื่องราวที่สร้างจากหนังสือชื่อเรื่องเดียวกัน เขียนโดยวิลเลียม คามความบา ชาวมาลาวีผู้ได้รับทุนไปศึกษาต่อด้านสิ่งแวดล้อมที่อเมริกา
โดยหนัง The Boy Who Harnessed The Wind วิลเลียมเล่าเรื่องของตัวเองในวัยเด็ก ช่วงกลางทศวรรษที่ 2000 ที่หมู่บ้านเขาเกิดภัยแล้ง ทำให้ผู้คนทยอยละทิ้งที่ทำกิน นอกจากนั้นยังมีบริษัทยักษ์ใหญ่มาขอซื้อต้นไม้ที่กันน้ำท่วม ทำให้ในปีนั้นหมู่บ้านของเขาไม่สามารถผลิตพืชผลได้ ด้วยความช่วยเหลือจากครูคนหนึ่ง เขาได้แอบใช้ห้องสมุดเพื่อเรียนเรื่องเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากเขาถูกไล่ออกจากโรงเรียนเพราะพ่อแม่ไม่มีเงินพอจ่ายค่าเทอม วิลเลียมรวบรวมวัสดุที่เหลือใช้มาสร้างกังหันขนาดใหญ่เพื่อปั่นกระแสไฟสูบน้ำขึ้นมาให้ทั้งหมู่บ้านได้สำเร็จ
ที่มาภาพ: https://www.bustle.com/p/whats-william-kamkwamba-doing-in-2019-the-boy-who-harnessed-the-wind-inventor-is-making-a-difference-globally-16103209
เทคโนโลยีดูจะเป็นพระเอกของหนัง The Boy Who Harnessed The Wind วิลเลียมได้ศึกษาเรื่องไดนาโมและการสร้างกระแสไฟจากห้องสมุดจนนำมาประดิษฐ์เป็นกังหันได้ และนั่นช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของชาวนากับชนชั้นอื่นๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ เป็นเทคโนโลยีอีกเช่นกันที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
เทคโนโลยีตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมาทำให้คนต้องทำงานเพียงอย่างเดียวและขาดความหลากหลาย ทำให้เกิดการแบ่งเป็นชนชั้นนายทุนและชนชั้นแรงงาน การผลิตในระบบต้องใช้ความซับซ้อน เป็นการลดทอนให้คนเหลือตัวเลือกในการทำงานเพียงชนิดเดียว และไม่มีโอกาสในการศึกษาศาสตร์อื่นๆ เพื่อบูรณาการกับศาสตร์ที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ภาพในหนัง The Boy Who Harnessed The Wind ของเครื่องโค่นต้นไม้ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ใช้เพื่อรื้อถอนต้นไม้ออกก็เป็นอีกภาพหนึ่งที่สื่อถึงการที่นายทุนมีอำนาจมากกว่าในแง่ของเทคโนโลยี และใช้มันสั่งสมความมั่งคั่งของตนเอง
ที่มาภาพ: https://filmsheets.com/รีวิว-the-boy-who-harnessed-the-wind/
ในระดับประเทศนั้น ประเทศที่มีรายได้น้อยกว่าก็ไม่สามารถแข่งขันทางเทคโนโลยีกับประเทศอื่นๆ ได้ และทำให้ความเหลื่อมล้ำถ่างกว้างเข้าไปอีก ในหนัง The Boy Who Harnessed The Wind ภาพของรถขนเมล็ดพืชจากรัฐบาลที่มีแจกจ่ายให้ทุกคนไม่เพียงพอเป็นสัญลักษณ์ที่ทำให้ตระหนักถึงประเทศด้อยพัฒนาที่ไม่สามารถแข่งขันได้ ผลผลิตที่ไม่เพียงพอจากภัยแล้งทำให้ประชาชนต้องออกมาก่อจราจล และทำให้รัฐบาลยิ่งใช้กำลังเข้าต่อต้าน
และถึงแม้ประเทศจะมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเพียงใด คนจนก็เป็นคนกลุ่มสุดท้ายที่เข้าถึงเทคโนโลยีนั้นเสมอ ยังไม่นับการที่งานบางประเภทถูกทำให้หายไปเพราะเทคโนโลยี ในอนาคตของหนัง The Boy Who Harnessed The Wind นาของวิลเลียมอาจจะไม่เหลืออยู่เลย เพราะถูกนายทุนกว้านซื้อและใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยว
ที่มาภาพ: https://www.exberliner.com/whats-on/film/the-boy-who-harnessed-the-wind-chiwetel-ejiofor-interview/
ในหนัง The Boy Who Harnessed The Wind การที่วิลเลียมได้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในอเมริกาเป็นเหมือนเรื่องตลกร้าย เพราะแม้เขาจะพัฒนาความรู้ของตนเองมากเพียงใด ทุนนิยมตะวันตกมักจะนำหน้าเขาไปหนึ่งก้าวเสมอ เทคโนโลยีกังหันของวิลเลียมที่แบ่งกระจายไปยังหมู่บ้านอื่นๆ นั้นเป็นเพียงของเล่นสำหรับนายทุนและมันก็เป็นเพียงอนุสาวรีย์ที่ไม่ได้ตั้งอยู่เช่นนั้นอย่างจริงจัง หน้าที่ของมันเพียงอย่างเดียวคือสร้างเรื่องเล่าที่ถูกขยายต่อโดยฮอลลีวูดเท่านั้น
น่าสังเกตว่าหนังสือที่เล่าถึงเรื่องของเขาได้รับการเลือกให้เป็นหนังสือสำคัญที่แพร่หลายในอเมริกา แต่ในมาลาวี ประเทศของเขาเอง กลับไม่เป็นที่พูดถึงนัก ซึ่งจุดนี้ของหนัง The Boy Who Harnessed The Wind น่านำไปวิเคราะห์ต่อเป็นอย่างมากว่าเพราะเหตุใด
ที่มาภาพ: https://www.screendaily.com/reviews/the-boy-who-harnessed-the-wind-sundance-review/5136217.article
อย่างไรก็ตาม การเล่าเรื่องของหนัง The Boy Who Harnessed The Wind มีความน่าสนใจ ทำให้เราตามการผจญภัยและการต่อรองของเด็กชายคนหนึ่งที่ต้องการทำให้ครอบครัวตัวเองมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เขาต้องผ่านอุปสรรคมากมายและสร้างสิ่งประดิษฐ์ด้วยทรัพยากรที่มีจำกัด นักแสดงเป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้น่าติดตามและจับผู้ชมได้อยู่หมัด ทำให้ได้เรตติ้งจาก Rotten Tomatoes ไปมากถึง 86%
รับชม The Boy Who Harnessed The Wind ได้แล้ววันนี้ ทาง Netflix
ที่มาภาพ: https://www.imdb.com/title/tt7533152/mediaviewer/rm2085711616
|
นักเขียนอิสระให้กับสื่อออนไลน์ ชอบวิจารณ์หนังและหนังสือ |