ในโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ประกอบไปด้วยสสารต่างๆ มากมาย ซึ่งอนุภาคของสสารต่างๆ นั้นมี ขนาดที่แตกต่างกันตามองค์ประกอบของสสารแต่ละประเภท และโดยปกติแล้วเราก็มักจะให้ความสนใจและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสิ่งต่างๆ รอบตัวที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่สำหรับบางสิ่งที่มีอนุภาคขนาดเล็กเกินกว่าที่ความสามารถของดวงตามนุษย์จะมองเห็นได้นั้น เราก็มักจะมองข้ามมันไปอยู่บ่อยครั้ง
ซึ่งอนุภาคเล็กๆ เหล่านี้ เมื่อรวมตัวกันเป็นจำนวนมากก็สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่นกัน ตัวอย่างเช่น “ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ” ที่หากมีปริมาณน้อย เราก็แทบจะไม่ทราบเลยว่าในพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่นั้นมีฝุ่นละอองลอยปะปนอยู่ในอากาศ แต่ช่วงไม่กี่ปีมานี้ที่ปริมาณของฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูงขึ้นอย่างมากนั้นก็ทำให้เราเริ่มที่จะมองเห็นว่าเราใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศที่อุดมไปด้วยฝุ่นละอองมากมาย
และไม่ใช่แค่ฝุ่นละอองเท่านั้นที่มีอนุภาคขนาดเล็ก เพราะยังมีสิ่งมีชีวิตและสสารอีกมากที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยเมื่อนำเอาขนาดของ สสารต่างๆ ที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ฝุ่นละอองในอากาศ, เชื้อไวรัส, แบคทีเรีย, เม็ดเลือดแดง, เซลล์ภายในร่างกายมนุษย์ และละอองเกสรดอกไม้ มาเปรียบ เทียบขนาดกับสิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อย่างปลายเข็มที่มีขนาดราว 50 ไมครอน และเส้นผมที่ความใหญ่เกือบ 100 ไมครอน ก็จะเห็นว่า มีขนาดที่แตกต่างกันอย่างมาก
ภาพจาก : https://jkma.org/ViewImage.php?Type=F&aid=501600&id=F1&afn=119_JKMA_58_11_1044&fn=jkma-58-1044-g001_0119JKMA
ทุกคนน่าจะทราบกันดีว่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียนั้นมีขนาดเล็ก แต่ก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าพวกมันมีขนาด “เล็ก” เท่าใดบ้าง นอกจากนี้ขนาดของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียนั้นก็ไม่ได้มีแค่ขนาดเดียวเท่านั้น เพราะไวรัสและแบคทีเรียชนิดที่ต่างกันก็มี สารประกอบภายในที่ต่างกัน ทำให้ขนาดของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียมีความหลากหลาย โดยเราได้รวบรวมขนาดของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่คาดว่าน่าจะคุ้นเคยกันดีมาบางส่วน
ไวรัสของโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจที่เกิดมาจาก เชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus) อย่างโรค SARS, MERS หรือ COVID-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้นั้น มีขนาดของอนุภาคเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.12 ไมครอน (สำหรับ 2019 n-CoV มีขนาดไวรัสอยู่ที่ 60 - 140 นาโนเมตร ที่คิดค่าเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 0.12 ไมครอนเท่ากับไวรัสโคโรนาชนิดอื่นๆ)
ภาพจาก : https://smartairfilters.com/en/blog/coronavirus-pollution-masks-n95-surgical-mask/
เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza) นั้นสามารถแบ่งออกได้หลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
ทั้งหมดนี้นั้นก็ มีอนุภาคของไวรัสอยู่ที่ 0.08 - 0.12 ไมครอน (ขนาดเฉลี่ยราว 0.1 ไมครอน) เท่านั้นเอง ซึ่งก็ไม่ได้ใหญ่มาก และก็ไม่ได้เล็กมากเช่นกัน
ภาพจาก : https://slideplayer.com/slide/6031599/20/images/3/Influenza+Virus+RNA%2C+enveloped+Viral+family%3A+Orthomyxoviridae+Size%3A.jpg
Rhinovirus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการคัดจมูก, น้ำมูกไหล หรือป่วยเป็น โรคหวัดที่ไม่ร้ายแรง ในมนุษย์นั้นมีชื่อเรียกว่า Rhinovirus ที่มีสายพันธุ์แยกย่อยออกไปกว่า 200 สายพันธุ์ โดยขนาดอนุภาคของ Rhinovirus ทุกสายพันธุ์นั้นมีค่าเฉลี่ยที่ 0.03 ไมครอน
เชื้อไวรัส HIV เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า โรคเอดส์ (AIDS - Acquired Immunodeficiency Syndrome) นั้นมีขนาดของไวรัสอยู่ที่ประมาณ 0.13 ไมครอน
จะเห็นได้ว่าไวรัสมีขนาดใหญ่กว่า 100 nm (Nanomatre) หรือ 0.1 ไมครอนอยู่เล็กน้อย
ภาพจาก : https://www.hiv.lanl.gov/content/sequence/HIV/REVIEWS/Gelderblom.html
เชื้อไวรัส Dengue ที่เป็นสาเหตุของ โรคไข้เลือดออก สายพันธุ์ Dengue ที่มียุงลายเป็นพาหะ จะมีขนาดอยู่ที่ 0.04 - 0.06 ไมครอน
เชื้อไวรัส Ebola Virus ที่ก่อให้เกิดโรค Ebola นั้นเป็นเชื้อไวรัสชนิดนี้จะมีลักษณะพิเศษกว่าไวรัชนิดอื่นๆ ตรงที่เป็นเชื้อไวรัสที่มี ขนาดค่อนข้างใหญ่ โดย Ebola Virus มีขนาดอยู่ที่ราว 0.8 - 1.1 ไมครอน
เทียบขนาดกับเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ทั้งไวรัสในมนุษย์และไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในพืช จะเห็นได้ว่า Ebolaviruses มีขนาดใหญ่กว่าไวรัสชนิดอื่นๆ อยู่มาก
ภาพจาก : https://web.augsburg.edu/~capman/bio152/diversity2-viruses-bacteria/
โรคปอดบวม (Pneumonia) นั้นเป็นโรคที่เกิดมาจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae แต่เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัสที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจเข้าไปแล้วนั้นจะทำให้ร่างกายติดเชื้อแบคที่เรีย Streptococcus Pneumoniae ได้ง่ายขึ้น ทำให้ บุคคลที่ติดเชื้อไวรัส โคโรนาอย่าง SARS, MERS, COVID-19 หรือเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza) สายพันธุ์ต่างๆ นั้น ป่วยเป็นโรคบอดบวมได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป ที่ร่างกายแข็งแรง ทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่าโรคปอดบวมนั้นเกิดมาจากเชื้อไวรัสได้นั่นเอง โดย Streptococcus Pneumoniae นั้นมีขนาดอยู่ที่ 0.5 - 1.25 ไมครอน
ภาพจาก : https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0003267017313284
โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียอีกโรคหนึ่งได้แก่ วัณโรค (Tuberculosis) โดยวัณโรคเกิดมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis จากสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือตัวเชื้อแบคทีเรียที่ลอยปะปนอยู่ในอากาศ ซึ่งขนาดของ Mycobacterium Tuberculosis อยู่ที่ประมาณ 2 - 4 ไมครอน
ภาพจาก : https://textbookofbacteriology.net/tuberculosis.html
เชื้อแบคทีเรีย Clostridium Tetani (C. Tetani) เป็นแบคทีเรียที่ก่อให้เกิด โรคบาดทะยัก บริเวณบาดแผลต่างๆ โดยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในดิน น้ำลาย ฝุ่น สนิม หรือมูลสัตว์ต่างๆ มีขนาดอยู่ที่ 2.0 - 2.5 ไมครอน
เชื้อแบคทีเรีย Escherichia Coli (E. Coli) หรือแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาการ อาหารเป็นพิษ นั้น มีขนาดอยู่ที่ 1 - 3 ไมครอน
ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Escherichia_coli_(SEM).jpg
ส่วน เชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เกาะติดอยู่กับสารคัดหลั่ง จำพวกน้ำมูกและน้ำลายที่มนุษย์ไอหรือจามออกมานั้นมีขนาดอนุภาค มากกว่า 5 ไมครอน และสามารถกระจายไปได้ไกลหลายเมตร ซึ่งจำนวนความเข้มข้นไวรัสและแบคทีเรียก็จะลดน้อยลงเรื่อยๆ ตามระยะห่างที่เราอยู่ไกลจากผู้ป่วยมากขึ้น
ภาพจาก : https://virologydownunder.com/flight-of-the-aerosol/
เชื้อไวรัส (Virus) | ขนาด (Micron - µ) |
COVID-19 (Coronavirus) (โคโรนาไวรัส) | 0.12 |
Influenza (ไข้หวัดใหญ่) | 0.1 |
Rhinovirus | 0.03 |
HIV (เอดส์) | 0.13 |
Dengue Virus (ไข้เลือดออก) | 0.04 - 0.06 |
Ebola Virus (อีโบลา) | 0.8 - 1.1 |
เชื้อแบคทีเรีย (Bacteria) | ขนาด (Micron - µ) |
Streptococcus Pneumonia | 0.5 - 1.25 |
Mycobacterium Tuberculosis | 2 - 4 |
Clostridium Tetani | 2 - 2.5 |
Escherichia Coli | 1 - 3 |
เชื่อว่าหลายๆ คนก็น่าจะสงสัยว่าอุปกรณ์เหล่านี้สามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงในการรับเชื้อไวรัสและแบคทีเรียต่างๆ เข้าสู่ร่างกายของเราได้จริงหรือไม่ เพราะคุณสมบัติหลักของอุปกรณ์เหล่านี้มักเป็นการ “ป้องกัน” เชื้อโรคหรือฝุ่นละอองต่างๆ ในอากาศ โดยจะมี ประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไปตามคุณสมบัติและวัสดุที่ใช้
อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ายอดนิยมที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันอย่าง เครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) นั้นจะมี แผ่นกรองอากาศ (Air Filter) ที่ทำหน้าที่ดักจับสสารและฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กเข้าไปในเครื่องก่อนจะทำการฟอกและปล่อยอากาศที่ผ่านการกรองแล้วออกมา
โดยเครื่องฟอกอากาศส่วนมากก็จะมี แผ่นกรองอากาศ HEPA (HEPA หรือ High Efficiency Particulate Air Filter) มาให้โดยพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งมันคือแผ่นกรองอากาศ ที่มีคุณสมบัติในการ ดักจับสสารและฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กตั้งแต่ 0.1 - 0.3 ไมครอนได้ (ตามคุณสมบัติของแผ่นฟิลเตอร์ HEPA ชนิดนั้น) เป็นแผ่นกรองที่ทำหน้าที่ฟอกอากาศภายในเครื่อง
เครื่องฟอกอากาศโดยส่วนมากนั้น จะผลิตขึ้นมาเพื่อมุ่งเน้นการกรองฝุ่นละอองเสียมากกว่า ทั้งฝุ่นละอองขนาดใหญ่ และ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก อย่างเช่น ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นต้น ส่วนประสิทธิภาพในด้านการป้องกันเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียนั้น จะมีเครื่องฟอกอากาศอยู่ไม่กี่ยี่ห้อ หรือไม่กี่รุ่น ที่มีคุณสมบัติเป็น เครื่องฟอกอากาศเกรดการแพทย์ สามารถใช้กรองเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียได้ ซึ่งราคาก็จะสูงกว่า เครื่องฟอกอากาศที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปอยู่พอสมควร เนื่องจากต้องใช้แผ่นกรองอากาศ HEPA ชนิดพิเศษ ที่มีการผลิตโดยใช้เส้นใย หรือวัสดุ ที่มีความละเอียดสูงมากกว่าปกติ ซึ่งก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงตามไปด้วยเช่นกัน
ภายในเครื่องฟอกอากาศจะมีไส้กรอง (Filter) ที่ทำหน้าที่ดักจับสิ่งต่างๆ ก่อนจะฟอกอากาศที่ผ่านการกรองแล้วออกมา
ภาพจาก : https://homeairguide.com/what-does-an-air-purifier-do/
หลายคนอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ของหน้ากากชนิดนี้กันมาบ้างว่ามันเป็นหน้ากากชนิด แนบสนิทไปกับใบหน้า ทำให้มีการไหลผ่านของสสารต่างๆ ได้น้อยจนสามารถ ป้องกันฝุ่นละอองและสสารที่มีอนุภาคเล็กกว่า 0.3 ไมครอนได้ถึง 95%
ถึงแม้ว่าหน้ากากชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัส, แบคทีเรีย และฝุ่นละอองที่มีอนุภาคมากกว่า 0.3 ไมครอนได้ดี แต่ทาง CDC ก็ไม่แนะนำให้บุคคลทั่วไปสวมใส่หน้ากากชนิด N95 ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากเมื่อสวมใส่ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการเวียนหัวหรือเหนื่อยหอบจากออกซิเจนไม่เพียงพอได้ และหากสวมใส่อย่างผิดวิธีก็อาจทำให้ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมากนัก
ภาพจาก : https://www.scmp.com/lifestyle/health-wellness/article/3077710/air-purifiers-wont-protect-against-coronavirus-experts
หน้ากากชนิดนี้หากสวมใส่เพื่อป้องกันไวรัส ควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง และสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความจำเป็นในการใกล้ชิดผู้ป่วยก็ ควรถอดเปลี่ยนหน้ากากทุกครั้งหลังการใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วย
หน้ากากอนามัยทางการแพทย์มักนิยมใช้เพื่อ ป้องกันเชื้อไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรีย ที่เกาะอยู่กับสารคัดหลั่งอย่างน้ำมูก, น้ำลาย หรือเลือดของผุ้ป่วยขณะทำการรักษา โดยตัวหน้ากากจะมีการเคลือบสาร Hydrophobic ที่มีคุณสมบัติในการกันน้ำทั้งด้านในและด้านนอกของหน้ากาก ส่วนมากแล้วจะสามารถใช้ป้องกันสสารที่มีอนุภาคใหญ่กว่า 2 ไมครอนได้ดี
แต่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์นี้ ก็มีข้อจำกัดตรงที่มันเป็นหน้ากากชนิดที่ ไม่ได้แนบสนิทไปกับใบหน้า ทำให้มีช่องว่างเล็กๆ ระหว่างใบหน้าและตัวหน้ากากอยู่บางส่วน โดยหน้ากากชนิดนี้สามารถ สวมใส่ติดต่อกันเป็นเวลานานได้ แต่ไม่ควรใส่ซ้ำ
ภาพจาก : https://www.scmp.com/lifestyle/health-wellness/article/3077710/air-purifiers-wont-protect-against-coronavirus-experts
เป็นหน้ากากที่มี คุณสมบัติใกล้เคียงกับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ คือสามารถป้องกันเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียที่เกาะอยู่กับสารคัดหลั่งของผู้ป่วยอย่างน้ำมูก หรือน้ำลายได้ และสามารถป้องกับฝุ่นละอองขนาดใหญ่ได้ แต่ตัววัสดุที่ใช้ในการผลิตหน้ากากทั้งสองชนิดนี้อาจมีความแตกต่างกับบางส่วน และหน้ากากอนามัยแบบทั่วไปส่วนมากมักเคลือบสาร Hydrophobic บริเวณด้านในตัวหน้ากาก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียจากผู้ป่วยสู่คนอื่นๆ
ภาพจาก : https://www.businessinsider.com/coronavirus-china-confiscated-over-31-million-counterfeit-face-masks-report-2020-2
หน้ากากชนิดนี้มี ข้อจำกัดเหมือนกับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ คือ เป็นหน้ากากชนิดไม่แนบใบหน้า สามารถใช้งานได้เพียงครั้งเดียว แต่สามารถสวมใส่ติดต่อกันเป็นเวลานานได้
หน้ากากที่ผลิตมาจาก ผ้าแต่ละชนิดก็มีประสิทธิภาพในการป้องกันที่ต่างกัน ไปตามลักษณะของเนื้อผ้า แต่เนื่องจากวัสดุที่นำมาผลิตเป็นหน้ากากคือผ้าที่มีความสามารถในการดูดซึมน้ำ ทำให้ละอองของสารคัดหลั่งที่มีไวรัสเกาะติดอยู่ เช่น น้ำลายของผู้ป่วยซึมติดกับเนื้อผ้าได้ จึงควรเลือกใช้หน้ากากที่ทำมาจากผ้าที่มีคุณสมบัติกันน้ำและทอดวยเส้นใยที่มีความถี่สูง หรือเลือกหน้ากากผ้าที่มีหลายชั้นเพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโรคที่ดี
ภาพจาก : https://www.aarp.org/health/healthy-living/info-2020/making-cloth-face-masks.html
หน้ากากผ้าส่วนมากมักเป็นหน้ากากที่ แนบสนิทไปกับใบหน้าที่สามารถใช้ซ้ำได้ แต่ควรซักทำความสะอาดทุกวันหลังใช้งาน
ซึ่งสำหรับในช่วงนี้ที่หน้ากากอนามัยรูปแบบแบบอื่นๆ หาซื้อได้ยาก เราก็อาจปรับมาใช้ หน้ากากแบบผ้าที่มีคุณสมบัติกันน้ำและซื้อฟิลเตอร์กรองมาใส่ด้านในเพื่อป้องกันละอองน้ำในอากาศที่อาจดูดซึมจากเนื้อผ้าเข้าสู่ร่างกายได้ แต่ก็ควรซักหน้ากากผ้าเป็นประจำทุกวันเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสที่อาจเกาะอยู่บริเวณหน้ากากขณะสวมใส่ด้วยเช่นกัน
ภาพจาก : https://hypertechx.com/ps/oxybreathpro/index.php?net=8265&cid=e7629f54-0d0c-4479-b055-98c4b17737e3
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการเอาตัวรอดจากเชื้อไวรัส และ แบคทีเรีย ที่ดีที่สุด ก็คือการ ดูแลเองเบื้องต้น ด้วยการ
|
ตัวเม่นผู้รักในการนอน หลงใหลในการกิน และมีความใฝ่ฝันจะเป็นนักดูคอนเสิร์ตแต่เหมือนศิลปินที่ชื่นชอบจะไม่รับรู้ว่าโลกนี้มียังประเทศไทยอยู่.. |