เครื่องฟอกอากาศ (Air Purifier) กลายเป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นไปแล้ว ในสภาพอากาศปัจจุบัน ที่มีทั้งมลพิษทางอากาศ และเชื้อโรคต่าง ๆ (เครื่องฟอกมีส่วนช่วยในการลดเชื้อโรคในอากาศ) แต่มีอยู่ 2 ปัญหาน่ารำคาญในการใช้งานเครื่องฟอกอากาศ ก็คือ หากต้องใช้ชีวิตในหลายสถานที่ อย่างเช่น บ้านมีหลายห้อง หรือ ต้องการอากาศบริสุทธิ์ในที่ทำงาน การจะยกเครื่องฟอกอากาศไป ๆ มา ๆ ก็ไม่สะดวกเอาเสียเลย อีกเรื่องก็คือปัญหาที่ต้องมาคอยเปลี่ยนฟิลเตอร์ หรือต้องคอยซื้อมาสำรองเอาไว้ ซึ่ง เครื่องฟอกอากาศ Bionic Cube ที่จะรีวิวในบทความนี้ ช่วยตัดปัญหาทั้ง 2 เรื่องออกไป
Bionic Cube เป็นเครื่องฟอกอากาศประเภทปล่อยไอออน (Ionizer) ออกมาในอากาศ ที่มีคุณสมบัติเด่นคือ ไม่ใช้ฟิลเตอร์ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ มัน "ไม่ต้องใช้แผ่นกรองอากาศ" นั่นเอง
ข้อมูลเพิ่มเติม : เครื่องฟอกอากาศคืออะไร ? รู้จักเครื่องฟอกอากาศ อย่างละเอียดยิบ ในยุคฝุ่นละออง PM 2.5 ปกคลุมเต็มเมือง
และนอกจากนี้แล้ว มันยังไม่ก่อให้เกิด OZONE เหมือนอย่าง Ionizer และมีขนาดเล็กพกพาง่าย ถูกเริ่มต้นจากการเป็นโปรเจคระดมทุนในเว็บไซต์ Kickstarter.com วันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2021 (พ.ศ. 2564) ใช้เวลา 1 เดือนในการระดมทุนไปได้ 72,977 เหรียญสหรัฐ (USD) ซึ่งก็แน่นอนว่า ปัจจุบันนี้ สินค้าก็มีออกมาจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยปกติแล้ว เราจะคุ้นเคยกับการทำงานของเครื่องฟอกอากาศแบบที่มีฟิลเตอร์ หรือ แผ่นกรองอากาศ (Air Filter) มาช่วยกรองฝุ่นละออง หรือสิ่งปนเปื้อนที่ลอยอยู่ในอากาศ ที่มันจะช่วยดักจับสิ่งสกปรกต่าง ๆ ด้วยฟิลเตอร์ (และอาจจะมีระบบฆ่าเชื้อด้วยแสง UV-C ต่าง ๆ อะไรก็ว่าไป) ภายในตัวเครื่อง และหลังจากนั้น จึงปล่อยอากาศที่บริสุทธิ์ กลับออกมาสู่ภายนอก
แต่สำหรับ เครื่องฟอกอากาศ Bionic Cube มีการทำงานที่ต่างออกไป โดยเป็นเครื่องฟอกอากาศแบบ Ionizer ตามที่เราบอกไว้ข้างต้น ที่ใช้การฟอกอากาศอีกประเภทหนึ่ง โดยการทำให้ออกซิเจนในอากาศ (O2) แตกตัวออกเป็น ออกซิเจนไอออนบวก (O+) และ ออกซิเจนไอออนลบ (O-) และพัดให้ลอยสู่อากาศเพื่อฟอกอากาศในพื้นที่นั้น ๆ
ภาพจาก https://www.kickstarter.com/projects/rbh-bionic/bionic-cube-a-portable-whole-room-filterless-air-purifier
ไอออนที่ถูกปล่อยออกมาจาก Bionic Cube ทั้ง ออกซิเจนไอออนบวก (O+) และ ออกซิเจนไอออนลบ (O-) ไปจับกับน้ำ (H2O) และไฮโดรเจน (H) ในอากาศ ก่อให้เกิด ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) และ ไฮดรอกซิล (-OH) ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคในอากาศ ไม่ว่าจะเป็นสารก่อภูมิแพ้ เชื้อรา แบคทีเรีย หรือไวรัสได้
ภาพจาก https://www.bioniccube.com/en/
ภาพข้างต้นเป็นผลการทดสอบในแล็ปจากทางผู้ผลิต จะเห็นว่ามีอ้างอิงถึงการกำจัดไวรัสในอากาศอย่างโควิด-19 ด้วย (SARS-CoV-2/COVID-19) นอกจากไวรัส ก็สามารถกำจัดกลิ่นต่าง ๆ แบคทีเรีย เชื้อรา และฝุ่นได้
กระบวนการกำจัดฝุ่นด้วยการปล่อยไอออนลบนั้น ตัวไอออนลบจะไปจับตัวกับฝุ่นขนาดเล็ก (หรือที่เรียกว่า PM 2.5) ในอากาศซึ่งเป็นประจุบวก พอประจุบวกหายไป ฝุ่นทั้งหลายก็จะจับตัวกันเป็นก้อนใหญ่และตกลงจากอากาศมาสู่พื้น รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ภายในห้อง จึงสรุปได้ว่า ฝุ่นไม่ได้หายไปไหน แต่ไม่ลอยอยู่กลางอากาศ ลดความเสี่ยงที่เราจะหายใจเข้าไปนั่นเอง ซึ่งเราก็ต้องทำความสะอาดเช็คถู หรือดูดฝุ่น เพื่อกำจัดฝุ่นเหล่านี้ออกไปด้วย ไม่งั้นก้จะฟุ้งกลับมาสู่อากาศเช่นเดิม
ก๊าซโอโซน (Ozone หรือ O3) ช่วยปกป้องโลกจากแสง UV ของดวงอาทิตย์เมื่ออยู่ในชั้นบรรยากาศ และในชีวิตประจำวันเราจะเห็นบริการอบโอโซนฆ่าเชื้ออยู่บ้าง แต่ก๊าซโอโซนนั้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพปอดของเรานะ (ในบริการอบโอโซน ถึงมีขั้นตอนการสลายโอโซนหลังจากการอบด้วย)
ซึ่งในเครื่องฟอกอากาศประเภท Ionizer มักมีข้อมูลสรุปออกมาว่า จะก่อให้เกิดโอโซน เนื่องจากการปล่อยไอออนลบสู่อากาศมากจนเกินไป ทำให้เกิดความไม่สมดุลของไอออนบวกและลบ และเกิดโอโซนขึ้นหลังจากที่ฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ แต่ใน Bionic Cube เป็นเทคโนโลยี Bipolar ที่มีการปล่อยไอออนทั้งบวกและลบขึ้นมาอย่างสมดุล จึงไม่ก่อให้เกิดโอโซนขึ้นมา
จริง ๆ แล้วประจุไอออนนี้ มักจะมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ตามป่าเขาลําเนาไพร โดยในอากาศ 1 ลูกบาศก์เมตร จะมีออกซิเจนไอออนลบ 500 - 1,100 ไอออน และไอออนบวก 600 - 1,200 ไอออน แต่ภายในเมืองรวมทั้งในห้องขนาดเล็กที่มีสภาพอากาศแบบปิดนั้นมีจำนวนไอออนลดลง 80 - 95% เลยทีเดียว จึงทำให้การฟอกอากาศมีความจำเป็นต่อคนเมืองมากขึ้นนั่นเอง
ภาพจาก https://www.bioniccube.com/en/
สิ่งที่น่าสนใจในสเปก และฟีเจอร์ของ เครื่องฟอกอากาศ Bionic Cube ก็ได้แก่ การฟอกอากาศที่สามารถกำจัดฝุ่น เชื้อโรคต่าง ๆ รวมไปถึงไวรัสและแบคทีเรียได้ ระบบ Ionizer ที่ไม่สร้างโอโซนที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย (ตามที่อธิบายไว้ในหัวข้อก่อนหน้า) การใช้งานที่ครอบคลุมพื้นที่ถึง 28 ตารางเมตร เท่ากับห้อง 1 ห้องโดยทั่ว ๆ ไป หรือห้องคอนโดแบบสตูดิโอที่ขนาดเล็กหน่อยได้ และการใช้พลังงานไฟฟ้าเพียง 10 วัตต์ (Watts) หากลอง คิดค่าไฟ เมื่อเราเปิดตลอด 24 ชั่วโมง ก็จะตกวันละ 0.96 บาทเท่านั้นเอง (ไม่ถึง 1 บาทด้วยซ้ำ)
เครื่องฟอกอากาศ Bionic Cube มาพร้อมกล่องทรงสี่เหลี่ยมสีขาว ด้านในกล่องก็จะประกอบไปด้วย
ทีนี้ตัวสินค้าที่เราได้มาเป็นตัวทดลอง เลยไม่แน่ใจว่าในสินค้าจริงจะมีพวกคู่มือหรือใบรับประกันมาให้ได้รึเปล่านะ นอกจากนี้ก็ตัว Bionic Cube ที่จำหน่ายจะมีด้วยกัน 4 สี ได้แก่ สีขาว สีฟ้า สีเทา และสีดำครับ
ขอรวมเป็นหัวข้อเดียวไปเลยสำหรับการออกแบบและการใช้งานของ เครื่องฟอกอากาศ Bionic Cube เพราะการใช้งานไม่ได้ยุ่งยากอยู่แล้ว ที่ซับซ้อนเป็นเรื่องกระบวนการทำงานที่อธิบายไปก่อนหน้ามากกว่า
Bionic Cube มาในรูปทรงลูกบาศก์ตามชื่อของมัน ขนาด 9 x 9 x 9 เซนติเมตร เป็นขนาดเล็กที่พกพาได้ แต่ก็ไม่ใช่ขนาดที่จะใส่กระเป๋าใบเล็กๆ พกไปด้วย มีช่องลมทรงหกเหลี่ยมอยู่รอบ ๆ ใต้ฐานมีขาตั้ง 2 ขาที่กางออกมาให้ตัวเครื่องฟอกทำมุมเงยได้ ส่วนด้านหลังเป็น "พอร์ต USB-C" สำหรับจ่ายไฟ และ "ปุ่ม Power" สำหรับเปิดปิดเครื่อง รวมไปถึง "ไฟ LED" แสดงความแรงลม แล้วก็ข้อมูลต่าง ๆ
วัสดุโดยรอบเป็นพลาสติก ABS ผิวมัน ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เช็ดทำความสะอาดได้ง่าย ตามมุมต่าง ๆ และขาตั้งมีแผ่นยางปิดกันกระแทก รวมทั้งปิดช่องนอตต่าง ๆ ด้วย ด้วยวัสดุที่เป็นเป็นพลาสติกเกรดดี จึงทำให้ตัวเครื่องฟอกอากาศมีน้ำหนักเบา ใช้งานได้ยาวนาน แต่อาจเป็นเรื่องความรู้สึกที่ทำให้ดูไม่สมราคาอยู่หน่อย ๆ
มีแผ่นยางกันกระแทกตามมุมและปิดช่องนอต
อย่างที่บอกไว้ว่า Bionic Cube เป็นเครื่องฟอกอากาศแบบ Ionizer ที่ทำการส่งไอออนทั้งบวกและลบไปฟอกอากาศแทนที่จะทำการกรองอากาศผ่านตัวเครื่อง จึงไม่จำเป็นต้องมีฟิลเตอร์ โดยภายในตัวเครื่องก็จะประกอบไปด้วยพัดลมสำหรับส่งไอออน และเข็มที่มีลักษณะเหมือนแปรง ทำหน้าที่แตกตัวออกซิเจนในอากาศให้กลายเป็นไอออนนั่นเอง และด้วยกระบวนการนี้ ทำให้เราไม่ต้องคอยมาทำความสะอาดหรือเปลี่ยนฟิลเตอร์นั่นเอง
|
นอกจากตัวเครื่องที่เป็นทรงลูกบาศก์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นช่องลม เพลทวางโลโก้ด้านหน้า ปุ่มกด ไฟ LED ก็เป็นดีไซน์หกเหลี่ยมทั้งหมด โดยเขาบอกว่าช่องลมที่เป็น Hexagon จะทำให้ส่งผ่านลมได้แรงที่สุด รวมทั้งมีน้ำหนักเบา ตรงนี้ผู้เขียนคาดว่าเมื่อดีไซน์เป็นทรงหกเหลี่ยมที่มีทรงใกล้เคียงกับวงกลมจะทำให้ลดแรงปะทะกับลมได้มากกว่า แต่ถ้าเป็นทรงกลมเรียงต่อ ๆ กันก็จะมีเนื้อวัสดุระหว่างแต่ละช่องมากเกินไป รวมทั้งดีไซน์ช่องลมแบบหกเหลี่ยมมักจะถูกใช้กับกระจังหน้ารถหลาย ๆ รุ่นด้วย ในส่วนนี้ก็คงมีผลในระดับหนึ่งเลย
ตรงนี้ชวนฉงนเล็กน้อยกับการแสดงระดับความแรงของลมผ่านไฟ LED 4 ช่อง โดยการแสดงผล ตัวไฟ LED จะมีด้วยกัน 2 สี คือ สีเขียวและสีฟ้า การเรียงลำดับจะเป็นดังนี้
สีที่แตกต่างกันคาดว่าเป็นการแบ่งตามความดังของพัดลมด้วย โดยสีเขียวทั้ง 3 ระดับจะมีเสียงพัดลมที่เบามาก เหมาะกับการเปิดในช่วงเวลานอน หรือการเปิดยาว ๆ ระหว่างการทำงานที่ต้องการสมาธิ ส่วนสีน้ำเงินตั้งแต่ระดับ 4 ขึ้นไปก็เริ่มมีเสียงรบกวนแล้ว เหมาะสำหรับการเปิดฟอกอากาศในช่วงแรก
คำถามคือ แล้วไฟช่องสุดท้าย (ซ้ายสุด) เอาไว้ทำอะไร ? ยังหาคำตอบไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อการใช้งานหรอก
ภาพจาก https://www.bioniccube.com/en/owners-manual-bionic-cube/
อีกหนึ่งจุดขายนอกจากการไม่ต้องใช้ฟิลเตอร์แล้ว คือความพกพาได้ของตัวเครื่องฟอกอากาศ แต่ความ Portable ของสินค้าตัวนี้ ไม่ใช่ว่าสามารถเปิดใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลานะ เพราะว่าตัวเครื่องไม่ได้มีแบตเตอรี่ไว้ชาร์จในตัว แต่เราสามารถหาสาย USB-C มาเสียบเพื่อใช้งานได้ จะพกอะแดปเตอร์ ต่อกับคอม จ่ายไฟจากในรถ หรือพาวเวอร์แบงค์ก็แล้วแต่สะดวกเลย
ซึ่งเราคิดว่าการที่เขาไม่ใส่แบตเตอรี่เข้ามา ก็เพื่อตัดปัญหาแบตเตอรี่เสื่อมหรือมีปัญหา ทำให้อายุการใช้งานน้อยลงนั่นแหละ
สำหรับประสิทธิภาพการใช้งานเราคงจะทดสอบได้แค่การวัดคุณภาพอากาศในห้องนะ ส่วนเรื่องการฆ่าเชื้อโรคทางแบรนด์เขามีผลวิจัยในแล็ปมาแล้ว จะให้มาทดสอบตรงนี้ก็คงทำไม่ได้ ลองมาดูกันว่า เครื่องฟอกอากาศที่หน้าตาเหมือนพัดลมพกพา จะมีประสิทธิภาพในการฟอกอากาศระดับไหน ?
เราลองทดสอบการใช้งานภายในรถยนต์ดู โดยทำการวัดค่าต่าง ๆ ในตัวรถไว้ก่อน เครื่องที่ใช้วัดก็ประกอบไปด้วยค่า ฟอร์มาดีไฮด์ (HCHO), PM 2.5 และ สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (TVOC) ซึ่งเอาจริง ๆ แล้ว ทั้ง 3 ค่าภายในรถที่วัดได้ ก็ยังไม่ได้เป็นอันตรายใด ๆ โดย HCHO ที่วัดได้คือ 0.020 mg/m3 (ที่อันตรายต้องเกิน 0.1 mg/m3 ขึ้นไป) PM 2.5 อยู่ที่ 4.5 (ค่าเฉลี่ยขององค์การอนามัยโลกอยู่ที่ 25 mg/m3) และค่า TVOC อยู่ที่ 0.365 (ค่าที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพคือ 0.6 mg/m3 ขึ้นไป)
หลังจากเปิด Bionic Cube ใช้งานไปได้ 5 นาที จะเห็นได้ว่าสำหรับค่า HCHO กับ PM 2.5 ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงมาก อาจเพราะด้วยปริมาณที่น้อยด้วย แต่ที่เห็นได้ชัดก็คือค่า TVOC ที่เป็นผลจากกระบวนการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ Ionizer โดยการยิงไอออนทั้งบวกและลบไปจับสารอินทรีย์ในอากาศ มีค่าลดลงอย่างเห็นได้ชัดจาก 0.365 mg/m3 เหลือเพียง 0.248 mg/m3 เท่านั้น
จากที่ลองเปิดใช้ในรถตลอดการเดินทาง ก็เห็นความต่างจากปกติอยู่เหมือนกัน โดยบรรยากาศในรถจะเหมือนกับเราเพิ่งเอาไปอบโอโซนฆ่าเชื้อมาอยู่เบา ๆ เหมือนกันนะ
ทีนี้ลองเปลี่ยนมาทดสอบในห้องปิดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา ขนาดห้องประมาณ 12 ตารางเมตร (3 x 4 เมตร) ซึ่งเป็นห้องเก็บของในช่วงนี้ที่มีกล่องลังวางตั้งอยู่มากมาย ที่เราคาดว่าอากาศน่าจะมีคุณภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ซึ่งค่าที่ได้ก็จะเห็นได้ว่า มีค่า PM 2.5 และ TVOC ที่สูงกว่าในรถอยู่พอสมควร (TVOC อยู่ในระดับที่เป็นอันตราย)
หลังจากที่เปิดเครื่องฟอกอากาศไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง (ห้องนี้นานหน่อย) จะเห็นว่าค่า TVOC ลดลงไปได้มากทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ค่า PM 2.5 ไม่ได้ลดลงเลยแม้แต่น้อย (อาจเป็นเพราะว่า สู้กับกองกระดาษลังไม่ได้จริง ๆ 555) ถ้าเป็นห้องที่เราต้องเข้าไปอยู่นาน ๆ ก็ควรจะจัดการพวกกล่องลังที่เป็นที่มาของฝุ่นละอองต่าง ๆ ให้ดีนั่นแหละ
ทีนี้ ลองขยับมาที่ห้องประชุมข้าง ๆ กับห้องก่อนหน้า ที่มีขนาดเท่ากัน ต่างกันที่ไม่มีกล่องลังรก ๆ แต่ก็มีคนเข้า-ออก ใช้งานกันอย่างสม่ำเสมอ
จะเห็นได้ว่าค่าเริ่มต้นของห้องประชุม จะมีค่า PM 2.5 ไม่หนาแน่นเท่า แต่กลับกันด้วยค่า TVOC (สารประกอบอินทรีย์) ค่อนข้างสูง เพราะมีคนเข้า-ออกบ่อย ซึ่งประสิทธิภาพของ Bionic Cube เป็นที่น่าพอใจเลย เปิดทิ้งไว้ 25 นาที ค่า PM 2.5 ลดลงไปได้พอสมควร รวมทั้งค่า TVOC ก็เช่นกัน (ผู้เขียนแอบเปิดต่อไปอีก 1 ชั่วโมง ค่า TVOC ก็ลงไปอีกเหลือ 1.1xx mg/m3 เลย)
ทีนี้ลองมาทดสอบในห้องที่มีขนาดใหญกันบ้าง เราลองเอามาตั้งที่โต๊ะออฟฟิสในแผนก ซึ่งขนาดของแผนกอยู่ที่ประมาณ 30 ตารางเมตร (5 x 6 เมตร) แต่ว่าไม่ได้เป็นพื้นที่ปิด มีทางเปิดโล่งไปยังแผนกอื่น ๆ ด้วย ซึ่งก็ค่อนข้างกว้างอยู่ (แผนกที่เราทดสอบ ขนาดเป็น 1 ใน 4 ของพื้นที่ทั้งหมด) โดยเราลองเปิดที่ความแรงสูงสุดเช่นกัน เป็นเวลา 45 นาที
ผลการทดสอบ จะเห็นได้ว่าทั้งค่า TVOC และ PM 2.5 ลดลงทั้งคู่ โดย PM 2.5 จะค่อนข้างนิ่ง จาก 6.8 µg/m3 เหลือ 5.4 µg/m3 ส่วนค่า TVOC จาก 1.6 mg/m3 ลดเหลือ 1.448 mg/m3 ซึ่งระหว่างทาง ก็มีลงไปถึง 1.3xx mg/m3 อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ลดมากอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุก็น่าจะเป็นเพราะพื้นที่ที่กว้างเกินไป แต่ระหว่างการเปิดเครื่องฟอกอากาศไว้บนโต๊ะ ก็ทำให้อากาศค่อนข้างดีนะ เหมือนกับตอนเปิดไว้ในรถเลย
การวัดค่าทดสอบของผู้เขียน ถึงแม้จะเห็นค่าต่าง ๆ ลดได้จริง แต่ก็ไม่ใช่การทดสอบในแล็ปที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจริง ๆ แล้วตัว Bionic Cube เอง มีใบรับรองมาตรฐานระดับสากลทั้ง CE, FCC และ UL (UL 867/2998) ที่ทดสอบทั้งประสิทธิภาพการฟอกอากาศ การไม่ก่อโอโซน และการลดฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเป็นสิ่งที่การันตีว่า Bionic Cube มีประสิทธิภาพในการฟอกอากาศได้จริง
ที่มา https://www.bioniccube.com/en/about/
ด้านความสะดวกสบายในการใช้งานของ เครื่องฟอกอากาศ Bionic Cube ก็คงไม่มีข้อกังขาใด ๆ ไม่ต้องคอยพะวงเรื่องฟิลเตอร์ พกพาไปใช้งานไหนต่อไหนได้มากกว่าเครื่องฟอกอากาศตัวใหญ่ ๆ แน่นอน แค่หาที่เสียบไฟซักหน่อย จะเป็นปลั๊กก็ได้ จะต่อ USB กับแล็ปท็อป คอมพิวเตอร์ หรือใช้งานในรถก็ได้ จะเสียบใช้งานกับพาวเวอร์แบงค์ระหว่างเดินทางก็ยังโอเค ซึ่งพอลอง ๆ ใช้ไปก็ไม่ติดเรื่องไม่มีแบตเตอรี่ในตัวนะ เพราะว่าเครื่องฟอกอากาศต้องเปิดใช้งานนิ่ง ๆ ยาว ๆ ในแวดล้อมปิดอยู่แล้ว จะไปใช้แทนพัดลมพกพากลางแจ้งก็จะเสียของไปหน่อย (ถึงแม้หน้าตาตัวอุปกรณ์จะดูคล้ายก็ตาม)
ส่วนด้านประสิทธิภาพ จากที่ลองวัดค่าด้วยเครื่องวัดคุณภาพอากาศทั้ง PM 2.5 หรือ TVOC ก็ถือว่าสามารถลดค่าพวกนี้ได้จริง ๆ นะ แต่ก็ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมด้วย โดยเป็นพื้นที่ปิดที่มีขนาดไม่เกิน 30 ตารางเมตรจะเห็นผลดีที่สุด แต่ถ้าพื้นที่กว้าง ๆ แล้วตั้ง Bionic Cube ไว้ใกล้ตัวก็ช่วยกรองอากาศให้เราได้หายใจดี ๆ ได้ในระดับหนึ่ง ที่สำคัญคือ ถ้าเป็นห้องของเราเองก็ต้องจัดเก็บของหรือทำความสะอาดให้ดีด้วย พึ่งเครื่องฟอกอากาศอย่างเดียวก็คงไม่ไหวนะครับ
|
... |