ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรี
       
   สมัครสมาชิก   เข้าสู่ระบบ
ไทยแวร์รีวิว
 

5G คืออะไร?

5G คืออะไร?

เมื่อ :
|  ผู้เข้าชม : 9,393
เขียนโดย :
0 5G+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%3F
A- A+
แชร์หน้าเว็บนี้ :

5G คือ อะไร?

เทคโนโลยี 5G ไม่ใช่เรื่องไกลตัว มันเป็นระบบสื่อสารแบบใหม่ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งปัจจุบันทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ ไปจนถึงเหล่าผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างก็เร่งกันพัฒนาโครงข่าย และอุปกรณ์ขึ้นมารองรับกับเทคโนโลยี 5G ที่กำลังมา 

บทความเกี่ยวกับ 5G อื่นๆ

ค่ายใหญ่ 3 ค่ายในประเทศไทยก็มีท่าทีที่ชัดเจนว่าจะนำเข้ามาให้ใช้งานกันแน่ๆ แล้ว 5G มันมีอะไรดีล่ะ เพื่อไขคำตอบนี้ เราจึงจะมาเหลาให้ฟังกันในแบบฉบับเข้าใจง่าย

5G คืออะไร?


ก่อนจะมาเป็น 5G

ก่อนจะไปพูดถึง 5G ขอย้อนอดีตสักเล็กน้อย ว่ากว่าจะมาถึง 5G มันผ่านอะไรมาบ้าง ยุค 1G นี่โทรศัพท์มีไว้โทรอย่างเดียวเลย ถัดมายุค 2G ความเร็วในการรับส่งข้อมูลเริ่มดีขึ้น MMS ก็ส่งได้ในยุคนี้นี่แหละ อินเทอร์เน็ตเล่นได้แต่ช้า (ผ่าน GPRS/EDGE) จนการมาของ 3G ตอนนี้โทรศัพท์ส่วนใหญ่จะเริ่มเป็นสมาร์ทโฟนละ เล่นอินเทอร์เน็ตได้เร็วกว่าเดิมมาก ทำให้การทำพวกวิดีโอคอล, ดูสตรีมมิ่ง, เล่นเว็บไซต์ผ่านโทรศัพท์เกิดขึ้นได้ แล้วก็ 3G นี่สามารถเล่นเน็ตไปโทรได้แล้วด้วยนะ ส่วนปัจจุบันนี้เราก็อยู่ในยุค 4G มันมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่เร็วกว่า 3G หลายเท่า ที่เราทำ Facebook Live หรือวิดีโอคอลกันแบบภาพคมชัดลื่นไหลไม่มีสะดุดก็เพราะเจ้า 4G นี่แหละ

เกร็ดรู้ก็ดี ไม่รู้ก็ได้

ยุค 1G

1G เป็นระบบสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless cellular) ในยุคเริ่มต้น มาตรฐานนี้ใช้การส่งสัญญาณในรูปแบบอนาล็อก ถูกใช้งานในเชิง  พาณิชย์ครั้งแรกโดย Nippon Telegraph and Telephone (NTT)     ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี ค.ศ. 1979 ก่อนจะได้รับความนิยม และขยายบริการไปทั่วประเทศญี่ปุ่น

ความเร็ว : 2.4Kbps    

ยุค 2G

2G เป็นมาตรฐานที่สร้างขึ้นมาจากพื้นฐานของระบบ GSM (Global System for Mobile Communications) เปิดตัวครั้งแรกที่ประเทศฟินแลนด์ในปี 1991 รูปแบบสัญญาณถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นดิจิทัลแล้ว มันมาพร้อมกับคุณสมบัติในการรับส่ง SMS, MMS ที่มีคุณภาพดีกว่าเดิม

ความเร็ว : 64Kbps

ยุค 2.5G/2.75G

ยุคนี้ยังคงทำงานบนพื้นฐานของระบบ GSM หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า GPRS (General Packet Radio Service) กันมาบ้าง ทำความเร็วได้มากกว่าเดิมทำให้สามารถใช้ในการส่งสัญญาณโทรศัพท์, รับส่งอีเมล และเล่นเว็บได้

ความเร็ว 2.5G : 64-114Kbps

ช่วงปลายยุคได้มีการพัฒนา GPRS เรียกว่าเทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data Rate  For GSM Evolution) 

ความเร็ว 2.75G : 384Kbps

อย่างไรก็ตามแม้ว่าความเร็วจะเพิ่มขึ้นมาก แต่ว่าข้อเสียของ 2G ก็คือ เราไม่สามารถใช้งาน Data ได้ในระหว่างที่โทรศัพท์อยู่

ยุค 3G

3G เริ่มขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2000 ความเร็วในการรับส่งข้อมูลก้าวกระโดดไปแตะระดับ 2Mbps ให้บริการครั้งแรกโดย NTT เจ้าเดียวกับที่เริ่มให้บริการ 1G ยุคนี้สมาร์ทโฟนรองรับการใช้งานมัลติมีเดียหลายอย่าง เช่น เกมส์ออนไลน์, วิดีโอสตรีมมิ่ง, วิดีโอคอล และการเล่นเว็บที่สมบูรณ์แบบกว่ายุคก่อน

ภายหลังมีการพัฒนาเพิ่มเรียกกันว่า 3.5G (บางทีก็เรียกว่า 3G+)  โดยเรียกว่าเทคโนโลยี High speed Downlink Packet Access (HSDPA) และสุดปลายยุคที่ HSPA+

ความเร็วของ 3G ในทางทฤษฏีอยู่ที่ประมาณ 2Mbps หากอุปกรณ์อยู่กับที่ และเหลือ 384Kbps หากใช้งานในขณะเคลื่อนที่ ส่วน HSPA+ จะทำได้ถึง 21.6Mbps

ยุค 4G (ปัจจุบัน)

แนวคิดของ 4G เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 แต่กว่าจะเริ่มใช้งานได้จริงก็ปี ค.ศ. 2010 เลยล่ะ ส่วนสำคัญของ 4G คือ โครงสร้างการทำงานที่เหมือนกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และยังมีการผนวกสถาปัตยกรรมของ LAN และ WAN เอาไว้ด้วย ด้วยความเร็วในการรับส่งของเทคโนโลยี 4G ทำให้การ Live Streaming และ Video calls ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ความเร็วตามข้อกำหนดของ 4G คือ อย่างน้อย 100Mbps เมื่อมีการเคลื่อนที่ และ 1Gbps เมื่ออยู่กับที่


ยุค 5G อนาคตที่กำลังใกล้เข้ามา

ถ้าจะพูดบอกแบบกำปั้นทุบดินเลยว่า 5G คือ อะไร? ก็ตอบง่ายๆ ว่า ระบบสื่อสารแบบใหม่ อย่าง 4G ก็เป็นชื่อเรียกรวมของมาตรฐานหลายอย่าง เช่น CDMA, GSM, HSPA, UMTS, LTE ฯลฯ เพียงแต่ว่า 5G จะรองรับความเร็วที่สูงกว่าเดิม, มีค่า Latency (ความเร็วในการตอบสนองระหว่างอุปกรณ์กับเซิร์ฟเวอร์) ที่ลดลง

ซึ่งเอาแค่เรื่องความเร็วของ 5G มันก็มากพอที่จะทำให้เราอยากใช้งานมันแล้วล่ะ ตามทฤษฏีแล้ว 5G จะทำความเร็วได้ถึง 20Gbps หากเทียบกับ 4G ที่ทำได้เร็วสุดที่ 2Gbs (ด้วยโมเด็ม Qualcomm Snapdragon X24 LTE) ต่อให้ 5G เมื่อใช้งานจริงทำความเร็วได้เพียงครึ่งเดียว คือ 10Gbps มันก็ยังเร็วกว่า 4G หลายเท่า และเทียบเท่ากับ Wi-Fi มาตรฐานใหม่อย่าง Wi-Fi 6 (802.11ax) เลยทีเดียว

5G คืออะไร?

แต่ความเร็วไม่ใช่แค่จุดเด่นของ 5G เท่านั้น ค่า Low-latency ที่ต่ำมากก็เป็นสิ่งสำคัญของ 5G เช่นกัน โดยมันทำได้ถึง 1 ms เลยล่ะ มันไม่ได้ผลต่อแค่การเล่นเกมส์เท่านั้น แต่มันยังให้ประโยชน์แก่ IoT และ Smart cars (รถอัจฉริยะ) อีกด้วย

นอกจากนี้ 5G ยังรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หลายๆ ชิ้นในทีเดียว ด้วยการ "แบ่ง" เครือข่าย แจกไปยังอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ โดยแต่ละเครือข่ายที่แจกจ่ายออกไปจะสามารถกำหนดความเร็วแยกกันอย่างอิสระ

5G คืออะไร?

ข้อเสียของ 5G

แม้ว่า 5G จะดีขนาดไหน แต่มันก็มีสิ่งที่ต้องแลกเพื่อให้ได้มาเช่นกัน มันต้องการคลื่นความถี่สูงตั้งแต่ 3-30-300GHz ในการทำงาน และมีระยะการส่งที่สั้นกว่าปกติ รวมถึงถูกรบกวนได้ง่ายจากสภาพอากาศ และกำแพง ดังนั้นหากผู้ให้บริการเครือข่ายต้องการจะให้บริการ 5G ล่ะก็ จำเป็นจะต้องติตดั้งเสาถี่มากกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม เสาของ 5G ไม่จำเป็นต้องใหญ่โตเหมือนกับเสา 4G เนื่องจากตัวธรรมชาติของสัญญาณที่ค่อนข้างอ่อน ทางผู้ให้บริการเครือข่ายจึงสามารถติดตั้งตัวส่งสัญญาณเข้ากับเสาเดิมที่มีอยู่ได้ ด้วยการใช้คลื่น Sub-6GHz ก่อนในระยะเริ่มต้น ซึ่งแม้ว่าความเร็วจะไม่สมบูรณ์แบบ แต่มันก็ช่วยปูทางไปยัง 5G ที่สมบูรณ์แบบในอนาคตได้

คำถามทิ้งท้าย 5G จะมาแทนที่ Wi-Fi หรือไม่?

ด้วยความเร็วสูง และค่า Latency ค่อนข้างต่ำ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีคำถามตามมาว่าแล้วมันจะมาแทนที่เทคโนโลยี Wi-Fi ด้วยหรือไม่ คำตอบ คือ ใช่ และไม่ใช่ครับ

Wi-Fi เป็นมาตฐานที่ยังใช้งานได้ดีอยู่ และมีวัตถุประสงค์ด้านการใช้งานที่แตกต่างกัน ปัจจุบันนี้ Wi-Fi ที่เร็วที่สุด คือ 802.11ax ที่ทำความเร็วได้พอๆ กับ 5G คือ ประมาณ 10Gbps แต่เมื่อคิดถึงระยะการทำงาน และความเสถียรแล้ว ความสามารถของ 5G ยังห่างไกลที่จะมาแทนที่ Wi-Fi ได้ อย่างน้อยคุณก็จะใช้งานได้ตามปกติแม้ว่าสภาพอากาศจะไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่


ที่มา : www.slashgear.com , www.quora.com , en.wikipedia.org , www.zseries.in , www.global5g.eu , uk5g.org

 

0 5G+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3%3F
แชร์หน้าเว็บนี้ :
Keyword คำสำคัญ »
เขียนโดย
ระดับผู้ใช้ : Admin    Thaiware
แอดมินสายเปื่อย ชอบลองอะไรใหม่ไปเรื่อยๆ รักแมว และเสียงเพลงเป็นพิเศษ
 
 
 

รีวิวที่เกี่ยวข้อง

 


 

แสดงความคิดเห็น



 

รีวิวแนะนำ